JOURNALS

​นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง (Technology for Change)

18 มกราคม 2015
98605071756557b587efe132be663476

นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

การรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลทางสุขภาพและข้อมูลทางการแพทย์ หรือแม้แต่ข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคลเพื่อทราบผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆของตนเอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านการดูแลสุขภาพเนื่องจากประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งการพัฒนาของเทคโนโลยีและนวัตกรรมไม่เพียงช่วยพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพทางกายเท่านั้น ยังหมายรวมถึงสุขภาพทางจิตใจและจิตวิญญาณอีกด้วยเนื่องจากคนในสังคมมีช่องทางในการเข้าถึงเรื่องจิตวิญญาณที่หลากหลายมากขึ้น ไม่เป็นการกระจุกอยู่ที่กลุ่มผู้มีฐานะอย่างเช่นแต่ก่อน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังมีอีกหลายพื้นที่ตามชนบทที่ขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์เนื่องจากความห่างไกลและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ภาวะสงครามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากแต่งบประมาณทางการแพทย์ทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์กลับไม่เพียงพอต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในสามพื้นที่นี้ โดยเฉพาะด้านประสาทศัลยศาสตร์หรือการผ่าตัดสมอง

หากพิจารณาภาพรวมของคุณค่าที่เทคโนโลยีทางสุขภาพมีต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม พบว่าเทคโนโลยีช่วยให้

1บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย

2เพิ่มประสิทธิภาพของงานในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย

3การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว

4ประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว

​ประเด็นที่น่าสนใจ

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน) อาทิ เครื่องสำอาง ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือสุขภาพ
  • เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการสุขภาพ อาทิ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค ป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพ หรือเทคโนโลยีเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
  • เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันโรคหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพคนไทยให้ดีขึ้น
  • นวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนทั้งที่เป็นตัวเงินและเวลาในการรักษาสุขภาพ
  • เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมด้านสุขภาพในระดับชุมชน
  • การขาดแคลนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในพื้นที่ห่างไกลหรือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • การรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งข้อมูลทางสุขภาพและข้อมูลทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือที่อยู่ห่างไกล
  • การนำเทคโนโลยีมาเสริมการพัฒนาสุขภาพทางจิตใจหรือทางจิตวิญญาณของคนในสังคม
  • พัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่กลุ่มผู้พิการหรือกลุ่มวัยชรา
  • ​ข้อมูลเพิ่มเติม

    ข้อมูลเพิ่มเติม

  • http://www.most.go.th/main/index.php/summary-technology/health-technology-medicine-and-pharmacy.html
  • http://mhtech.dmh.moph.go.th/techno/warehouse.php
  • http://www.hsri.or.th/
  • ​กรณีศึกษา

    กรณีศึกษา

    บริษัทสุขสาธารณะและคลีนิคเป็นสุข

    นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัทสุขสาธารณะ จำกัด โดยพัฒนาระบบจัดการข้อมูลที่เน้นความต้องการของโรงพยาบาลขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทด้วยซอฟต์แวร์ของเขาชื่อ Hospital OS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเปิด (open source) ที่เสริมศักยภาพให้โรงพยาบาลใช้ทรัพยากรอันจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ และออกแบบบริการใหม่ๆ ที่ดีขื้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางสุขภาพของกลุ่มประชากรที่ด้อยโอกาส นอกจากนี้นพ.ก้องเกียรติยังเปิดคลีนิคเป็นสุขซึ่งเป็นคลีนิคดูแลสุขภาพ โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยี่สารสนเทศ เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูล personal health record เพื่อให้แต่ละบุคคลสามารถบันทึกพฤติกรรมของตนเองได้และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของความเจ็บป่วย และจัดรูปแบบการดูแลสุขภาพของตนเองได้ โดยนพ.ก้องเกียรติได้พัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพได้อย่างครอบคลุมโดยไม่จำเป็นต้องมาเข้ารับบริการที่สถานบริการต่างๆหรือแม้แต่คลีนิคเป็นสุขของคุณหมอเอง

    รายละเอียดเพิ่มเติม: http://thailand.ashoka.org/fellow/kongkiat-kespetchara

    My Mind

    Krystian Fikert ชาวไอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพทางจิตใจ โดยเขานำเสนอรูปแบบเฟรนไชส์เพื่อขยายการให้บริการสุขภาพได้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งยังนำโปรแกรมออนไลน์และโปรแกรมที่เห็นหน้าคู่สนทนาเช่น เวบไซต์ให้คำปรึกษาหรือสไกป์ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการโต้ตอบและการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพจิตของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยทีมผู้ให้บริการเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้หลากหลายทั้งจิตแพทย์ นักจิตบำบัด หรือแม้แต่ผู้ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต (life coach)

    รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ashoka.org/fellow/krystian-fikert

    VerbaVoice

    Michaela Nachtrab คิดค้นแพลตฟอร์มที่ให้บริการแปลเสียงเป็นตัวหนังสือเพื่อช่วยผู้พิการทางการได้ยินสามารถสื่อสารทางการแพทย์ได้ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งช่วยให้เข้าถึงบริการต่างๆด้านดูแล รักษาและป้องกันสุขภาพทุกๆด้านของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากขึ้น ผลพลอยได้จากเวบไซต์แปลเสียงคือเกิดการรวมตัวของกลุ่มผู้พิการทางการได้ยินเพื่อให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาในสิทธิพื้นฐานด้านต่างๆระหว่างกัน

    รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ashoka.org/fellow/michaela-nachtrab

    F123

    Fernando Botelho คิดค้นซอฟแวร์ต้นทุนต่ำเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเพิ่มพูนความรู้และการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้พิการทำให้พวกเขามีสุขภาวะที่ดีขึ้น

    รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ashoka.org/fellow/fernando-botelho

    DBS

    Jordi Martí คิดวิธีการตรวจเลือดที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำเพื่อตรวจหาภาวะเสี่ยงหรือปัจจัยที่ส่งผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือการเจ็บป่วยให้กับกลุ่มคนชายขอบ ชุมชนห่างไกลและยากจน โดยการตรวจเลือดช่วยป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงหรือช่วยยับยั้งความรุนแรงของโรคได้เนื่องจากรับรู้ภาวะเสี่ยงได้ก่อน

    รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ashoka.org/fellow/jordi-mart

    Medic mobile

    Josh Nesbit ใช้ระบบ SMS ในการเชื่อมโยงการทำงานของระบบบริการสุขภาพในชนบทหรือพื้นที่ห่างไกลกับส่วนกลางเนื่องจากพื้นที่เหล่านั้นมักเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆทำให้การทำงานบางอย่างล่าช้าและมีประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้การเชื่อมโยงผ่านระบบ SMS ยังช่วยเพิ่มบทบาทของคนในชุมชนในการทำหน้าที่เป็นผู้ดูและและให้บริการด้านสุขภาพอีกด้วย

    รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.ashoka.org/fellow/josh-nesbit

    เข้าสู่ระบบด้วย

    หรือ