JOURNALSปันขวดใสให้ชุด [email protected] by MarWin

[Progress] การผลิตตัวต้นแบบอย่างง่าย (Prototype) ของถุงมาร์วิน (Marwin)

2 ธันวาคม 2021
, , , ,
, ,

สรุปความคืบหน้าของการดำเนินโครงการ ปันขวดใสให้ชุด [email protected] ในช่วงวันที่ 01 พฤศจิกายน – 30 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา

สิ่งที่วางแผนไว้

จากเดือนที่แล้วที่ดำเนินการสำรวจตลาด/ความสนใจ(market research) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย(target group) และออกแบบผลิตภัณฑ์(product design) ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เราเลือกแล้ว ยังรวมไปถึงการกำหนดสถานที่ทดสอบตัวต้นแบบอีกด้วย

ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน เราจึงเดินหน้าทำตามเป้าหมายหลักนั่นคือ การผลิตตัวต้นแบบ (prototype production) และติดต่อประสานงานขอสถานที่และความอนุเคราะห์ไปยังพื้นที่ที่เราต้องการใช้ในการทดลองกลุ่มเป้าหมายในเบื้องต้น

การผลิตตัวต้นแบบแรก (1st prototype) 

  • ตัวผลิตภัณฑ์ (product)
    • ถุงขยะ
    • ตัวบรรจุสินค้า (packaging)
    • เครื่องราง

ในส่วนของภาพรวมผลิตภัณฑ์ เราได้ทำการออกแบบใหม่(redesign) จากแบบเก่าที่จะเน้นไปที่โทนสีฟ้า โทนเย็น ปรับให้ดูเป็นสีมงคลและเนื้อหา(content) ที่เน้นไปทางสายมูมากขึ้นเพื่อให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของเรา รวมถึงมีเครื่องรางเป็นของแถม(giveaway) ที่จะแปะ QR code ในการทำแบบประเมินสินค้าไปกับตัวสินค้าอีกด้วย

 

         (ตัวอย่างถุงขยะ)                    (ตัวบรรจุสินค้า ด้านหน้า-หลัง)                       (เครื่องราง)
  • จุดรับถุงมาร์วิน
    • ถังใส่ถุงมาร์วิน
    • สติ๊กเกอร์แปะหน้าถัง

ไม่ใช่แค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น เราได้ทำการออกแบบป้ายบนจุดรับถุงมาร์วินใหม่เช่นเดียวกัน เพื่อให้ล้อไปกับธีมหลัก และเพื่อเพิ่มความโดดเด่นผู้ซื้อมาวาง(drop)ถุงมาร์วินได้อย่างถูกต้องถูกจุด

การติดต่อประสานงานขอสถานที่เบื้องต้น

  • พื้นที่วางจุดรับถุงมาร์วิน บริเวณหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สหกรณ์จุฬาฯ สาขาหอพักนิสิตฯ

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และผลลัพธ์

การผลิตตัวต้นแบบแรก (1st prototype) 

  • ตัวผลิตภัณฑ์ (product)
    • ถุงขยะ
    • ตัวบรรจุสินค้า (packaging)
    • เครื่องราง

ตอนแรกเราตั้งใจที่จะสั่งผลิตสกรีนลายลงบนถุงพลาสติก แต่เนื่องจากปัญหาเรื่องต้นทุน และยังรวมไปถึงการคำนึงว่า การสกรีนลายถุงพลาสติกอาจจะผลิตคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon footprint) มากกว่าทางเลือกอื่น

เราจึงทำตัวต้นแบบในออกมาเป็นตัวพื้นฐานที่สุด(minimum viable product) ที่เราสามารถทำเองได้ก่อน โดยใช้วิธีทำตรายางเพื่อพิมพ์ลายลงบนถุงพลาสติกด้วยตัวเอง และปั๊มด้วยหมึกกันน้ำที่สามารถใช้กับพลาสติกได้ และดำเนินการผลิตด้วยตนเองแทน

  • จุดรับถุง Marwin
    • ถังใส่ถุง Marwin
    • สติ๊กเกอร์แปะหน้าถัง

สำหรับจุดรับถุงขยะ เราได้พยายามลดการสร้างขยะจึงหันมาใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดต่อประสานงานไปยัง Chula Zero Waste และฝ่ายกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพิ่มเติมในการขอยืมใช้ถังขยะที่ไม่ใช้แล้วมาปรับปรุงเป็นจุดรับถุงมาร์วินของเราแทนการผลิตใหม่

การติดต่อประสานงานขอสถานที่เบื้องต้น

  • พื้นที่วางจุดรับถุงมาร์วินบริเวณหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับ)
  • สหกรณ์จุฬาฯ สาขาหอพักนิสิตฯ (ทำการนัดหมายเรียบร้อยแล้ว)
  • Chula Zero Waste/ ฝ่ายกายภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผ่านการพิจารณาแล้ว)

 

ปัจจัยที่ทำให้เป็นไปตามแผน

เช่นเดิมว่าสิ่งทำให้โครงการดำเนินไปตามแผนดำเนินการเกิดจาก การวางแผนงานตามกำหนดเวลา (timeline) ที่ชัดเจน และมีการนัดประชุมทีมถึงความคืบหน้าในหน้าที่ของแต่ละคนอาทิตย์ละครั้ง (weekly meeting)

แต่ยังรวมไปถึงการมีนัดสรุปความคืบหน้า(progress) กับโค้ชที่ให้ทำปรึกษาทีม 2 ครั้ง/เดือน ทำให้สามารถเห็นภาพรวมและคอยช่วยเหลือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ

ปัจจัยที่ทำให้ ’ไม่’ เป็นไปตามแผน และจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร

ส่วนปัจจัยที่อาจทำให้บางขั้นตอนล่าช้าไปบ้างเกิดจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้หลายสถานที่ติดต่อไม่ได้หรือติดต่อได้ยากขึ้น โดยเบื้องต้นทางทีมได้ทำการเผื่อเวลาไว้สำหรับสถานการณ์นี้บ้างแล้ว ทำให้ยังมีเวลาเหลือสำหรับการดำเนนการต่างๆพอสมควร

ซึ่งครั้งนี้ยังมีข้อควรระวังไปถึงระยะเวลาในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอีกด้วยว่าการดำเนินการต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงเวลาในการติดต่อรวมถึงมีแผนสำรองควบคู่ไปด้วย

สิ่งที่วางแผนจะทำในเดือนถัดไป

เป้าหมายหลัก : ทดลองตัวต้นแบบแรกกับกลุ่มเป้าหมาย (prototype testing)

ความคิดเห็น

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ