สรุปความคืบหน้าของการดำเนินโครงการ ปันขวดใสให้ชุด [email protected] ในช่วงวันที่ 01 – 31 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา
สิ่งที่วางแผนไว้
จากเดือนที่แล้วที่ดำเนินการผลิตตัวต้นแบบและติดต่อประสานงานขอสถานที่และความอนุเคราะห์ไปยังพื้นที่ที่เราต้องการใช้ในการทดลองกลุ่มเป้าหมาย
ดังนั้นในเดือนธันวาคม เราจึงเดินหน้าทำตามเป้าหมายหลักนั่นคือ การทดสอบตัวต้นแบบอย่างง่าย (Prototype Testing) เพื่อทดสอบการใช้งานและสมมติฐานที่ตั้งไว้
การติดตั้งจุดรับถุงมาร์วิน
ทางทีมงานวางแผนขอความอนุเคราะห์พื้นที่ในการติตตั้งจุดรับถุงมาร์วิน กับทางหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งหมด 2 พื้นที่ คือ จุดทิ้งขยะบริเวณข้างสนามบาสเกตบอล และ จุดทิ้งขยะบริเวณตึกพุดตาน เป็นเวลา 1 เดือน นับจากวันที่โครงการได้รับการอนุมัติ
(จุดพักขยะข้างสนามบาสเกตบอล)
(จุดพักขยะบริเวณตึกพุดตาน)
การวางจุดจำหน่ายถุงมาร์วิน
การจัดจำหน่ายถุงมาร์วิน ทีมงานวางแผนไว้ว่าจะจัดจำหน่าย ผ่านช่องทางหลักคือ สหกรณ์จุฬาฯ สาขาหอพักนิสิตฯ และหากไม่เป็นไปตามแผน ก็มีแผนสำรองคือ จำหน่ายผ่านร้านจำหน่ายอาหาร ณ โรงอาหารหอพักนิสิต และ แจกฟรีทางออนไลน์ ตามลำดับ
สิ่งที่เกิดขึ้นจริง และผลลัพธ์
การติดตั้งจุดรับถุงมาร์วิน
ทางหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อนุมัติพื้นที่ในการติตตั้งจุดรับถุงมาร์วิน 2 พื้นที่ คือ จุดทิ้งขยะบริเวณข้างสนามบาสเกตบอล และ จุดทิ้งขยะบริเวณตึกพุดตาน ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2564 – 23 มกราคม 2565
(ถังรับถุงมาร์วิน)


(ติดตั้งบริเวณถัง ณ จุดพักขยะข้างสนามบาสและตึกพุดตามตามลำดับ)
การวางจุดจำหน่ายถุงมาร์วิน
ท้ายที่สุด ทีมงานได้ตัดสินใจดำเนินการตามแผนสำรองแรก คือ จำหน่ายผ่านร้านจำหน่ายอาหาร ณ โรงอาหารหอพักนิสิต โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณตุ๊ก (เจ้าของร้านขายน้ำเบอร์ 1 บริเวณหอพักนิสิต)
ปัจจัยที่ทำให้เป็นไปตามแผน
เช่นเดิมว่าสิ่งทำให้โครงการดำเนินไปตามแผนดำเนินการเกิดจาก การวางแผนงานตามกำหนดเวลา (timeline) ที่ชัดเจน และมีการนัดประชุมทีมถึงความคืบหน้าในหน้าที่ของแต่ละคนอาทิตย์ละครั้ง (weekly meeting) ยังรวมไปถึงการมีนัดสรุปความคืบหน้า(progress) กับโค้ชที่ให้ทำปรึกษาทีม 2 ครั้ง/เดือน ทำให้สามารถเห็นภาพรวมและคอยช่วยเหลือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ
ซึ่งในครั้งนี้ส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการยังคงดำเนินการไปตามกำหนดก็คือ การมีแผนสำรองเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือถ้าหากเกิดเหตุที่ไม่เป็นไปตามแผน
ปัจจัยที่ทำให้ ’ไม่’ เป็นไปตามแผน และจะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร
ส่วนปัจจัยที่อาจทำให้บางขั้นตอนล่าช้าไปบ้างเกิดจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้หลายสถานที่ติดต่อไม่ได้หรือติดต่อได้ยากขึ้น โดยเบื้องต้นทางทีมได้ทำการเผื่อเวลาไว้สำหรับสถานการณ์นี้บ้างแล้ว ทำให้ยังมีเวลาเหลือสำหรับการดำเนนการต่างๆพอสมควร
ซึ่งครั้งนี้ยังมีข้อควรระวังไปถึงระยะเวลาในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการอีกด้วยว่าการดำเนินการต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงเวลาในการติดต่อรวมถึงมีแผนสำรองควบคู่ไปด้วย
สิ่งที่วางแผนจะทำในเดือนถัดไป
เป้าหมายหลัก : วิเคราะห์ผลการทดลอง (Evaluation) และหาแนวทางการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต (Scale up)