Penguin Incubation และ Scaling Impact เป็นโปรแกรมบ่มเพาะโครงการหรือนวัตกรรมสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาการศึกษา ในปี 2021 จากความร่วมมือของ School of Changemakers และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
Penguin Incubation
โปรแกรมบ่มเพาะฯ ระยะเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจเริ่มโครงการเพื่อสังคม พร้อมกับมีโจทย์ความท้าทายในประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ที่อยากได้ไอเดียแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ และนำไอเดียไปขึ้น Prototype เพื่อทดสอบในสนามจริงเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยโปรแกรมนี้มีทีมเข้าร่วม 5 ทีม และทั้งหมดผ่านการทดสอบ Prototype กันดังนี้
ทีมที่ 1: ใครๆ ก็เรียนได้
สมาชิกทีม: เปิ้ล และจ๋อม
About the project: โปรเจกต์ใครๆ ก็เรียนได้ เป็นพื้นที่เพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนกลุ่มเปราะบาง อายุ 15-25 ปี (กลุ่มไร้บ้าน/อยู่ในวังวนยาเสพติด/เป็นพ่อแม่วัยรุ่น/เคยต้องคดี-ยาเสพติด) ให้เริ่มเห็นคุณค่าชีวิตของตัวเอง กลับมีความรู้สึกภูมิใจและมีคุณค่า เริ่มลงมือพัฒนาตัวเองให้ไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านกิจกรรมศิลปะบำบัดและมวยไทย โดยทำงานร่วมกับมูลนิธิเดอะฮับ องค์กรด่านหน้า รวบรวมกลุ่มเด็กและดูแลความต้องการเบื้องต้น
What’s Happened: ในระยะเวลา 4 เดือนที่ทดลองทำโปรเจกต์ ได้จัดกิจกรรมศิลปะบำบัดและมวยไทย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง (2-3 ชม.) ผ่านช่องทางออนไลน์ กับเด็กกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน ประกอบกับกิจกรรมเสริมอื่นๆ เช่น เป็นพื้นที่รับฟังเรื่องราวชีวิตระหว่างสัปดาห์ก่อนถึงวันเรียน ดึงรุ่นพี่ที่เรียนจบและปัจจุบันมีอาชีพที่ดีกลับช่วยประสานให้น้องๆ มีแรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และทำสมุดพกเป็นรายคน เปรียบกับ ‘ร่องรอยการเรียนรู้’ (Learning Evidance) สะท้อนให้เห็นพัฒนาการของตัวเองและเพื่อน ผลลัพธ์กลุ่มเป้าหมาย 70% เรียนซ้ำต่อเนื่อง เริ่มเปิดใจพูดถึงชีวิตส่วนตัว ใส่ใจรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น และคิดต่อยอดสิ่งที่เรียนไปหารายได้ เด็กๆ ดึงเพื่อนกันเองกลับมาเรียน (ทั้งกศน. และเรียนในโครงการ)
ทีมที่ 2: Young ออนไลน์
สมาชิกทีม: ปู เต๋อ และเบ๊
About the project: โปรเจกต์ Young ออนไลน์ เสริมทักษะอาชีพ Digital marketing ให้กับกลุ่มเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบเนื่องจากปัญหาทางการเงิน เพื่อให้มีทักษะที่นำไปหารายได้และได้เริ่มทดลองทำงานกับผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ต้องการเพิ่มช่องทางการขาย ใน Online market place โดยทีมเป็นตัวกลางระหว่างกลุ่มเด็กและผู้ประกอบการ
What’s Happened: ในระยะเวลา 4 เดือนที่ทดลองทำโปรเจกต์ ได้จัดกิจกรรมเสริมทักษะ Speaking & Communication, Digital Marketing, Content Creation กับกลุ่มเยาวชน 20 คน เป็นระยะเวลา 1 เดือน และมีผู้ประกอบการที่มาร่วมกับทางโครงการ 5 ที่ โดยอยู่ในจังหวัดนครปฐม 3 ที่ จังหวัดสมุทรปราการ 1 ที่ และอำเภอหาดใหญ่ 1 ที่ น้องๆ ได้ทดลองสร้างโพสต์เพื่อโปรโมทสินค้า และ Live ขายของผ่านเพจ และมีช่องทางที่จะต่อยอดทักษะที่ได้เรียนไปหารายได้หรือสร้างอาชีพกับเขาได้อย่างไรบ้าง
ทีมที่ 3: Long Learn Young ลองเรียนดู
สมาชิกทีม: อนิก อ้อแอ้ และแชมพู
About the project: โปรเจกต์ Long Learn Young ลองเรียนดู สนับสนุนให้เด็กนอกระบบได้มีช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลสำคัญในการศึกษาด้วยระบบกศน. ผ่าน Online content บนเพจ Long Learn Young ลองเรียนดู
What’s Happened: เพจได้เผยแพร่ Online content 20 ชิ้น แบ่งเป็น 19 บทความ 1 วิดีโอ มียอดการเข้าถึงบทความบทเพจ (Reach) ทั้งหมด 212,608 นอกจากการสนับสนุนผ่านช่องทางเพจแล้ว ทางทีมได้มีลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มเป้าหมาย เพื่อมองหาโอกาสที่จะนำไปเป็นจุดตั้งต้นคิดไอเดียแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ช่วยให้ทีมขยับไปถึงเป้าหมายของโครงการ ที่ต้องการให้คนไทยมีวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มากขึ้นในอนาคต
ทีมที่ 4: นวัตกรรมการเงินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
สมาชิกทีม: เบน ฟาร์ม และเฟิร์น
About the project: โปรเจกต์นวัตกรรมการเงินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา พัฒนาบทเรียนการเงินที่ออกแบบให้กับน้องๆ ที่เสี่ยงออกจากระบบการศึกษาเนื่องจากปัญหาการเงิน ชั้น ม.3 และ ม.6 ได้มีเป้าหมายทางการเงินเพื่อศึกษาต่อในระบบ และมีแผนการเงินเพื่อไปถึงเป้าหมายทางการศึกษาที่ตั้งไว้
What’s Happened: หลังจากพัฒนาบทเรียนการเงินเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ 5 บทเรียน ทีม ด้วยการจัดค่ายการเรียนรู้ 5 วัน เพื่อทดสอบบทเรียนที่ได้ออกแบบไว้ และเก็บข้อมูลเพื่อนำกลับไปพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งงานนี้น้องๆ โรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ จ.ชลบุรี จากชั้น ม.3 จำนวน 9 คน และ ม. 6 จำนวน 3 คน รวม 12 คน ได้ตั้งเป้าหมายการเงินเพื่อศึกษาต่อในระบบ และลองวางแผนที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
ทีมที่ 5: Finterest
สมาชิกทีม: แชมเปญ ลูกปัด และสา
About the project: โปรเจกต์ Finterest สนใจประเด็นปัญหาเด็กนอกระบบในกทม. ที่ต้องออกจากระบบการศึกษาเพราะต้องทำงาน หารายได้เพื่อรับผิดชอบตนเองและช่วยเหลือปัญหาเรื่องการเงินในครอบครัว เช่น ปัญหาหนี้สิน ได้มีนวัตกรรมจัดการการเงิน
What’s Happened: Prototye แรกของ Finterest ที่จะนำมาทดสอบในระยะ 4 เดือนนี้คือ ชุดเครื่องมือความรู้เรื่องการจัดการเงิน ที่อยู่ในรูปแบบกล่องพัสดุพร้อมจัดส่งไปให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในตั้งต้นสมาชิกทีมตัดสินใจกลับไปทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาเพิ่ม เพื่อมองหาวัตถุดิบในการออกแบบ Prototype ใหม่ ที่มีสมมติฐานจากข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เมื่อจบโปรแกรมทำให้ทีมมีไอเดียแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่รอได้ทดสอบจริงหลังจากสถานการณ์การระบาดของโควิดดีขึ้น
Scaling Impact
โปรแกรมบ่มเพาะฯ ระยะยาว สำหรับองค์กร หน่วยงานที่ทำงานภาคสังคม แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ทดลองขึ้นแผนและทดสอบโมเดลเพื่อขยายงานได้โดยโปรแกรมนี้มีทีมเข้าร่วม 5 ทีม และทั้งหมดกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาโมเดลเพื่อขึ้นแผนการขยายงานดังนี้
ทีมที่ 1: Kids Hub
กำลังพัฒนาโมเดลแก้ปัญหาของเด็ก เยาวชนวัย 7-16 ปีในชุมชนแออัดขาดพื้นที่การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อให้เด็กค้นหาศักยภาพตัวเองได้และพัฒนาทักษะชีวิต ทีมมีเป้าหมายอยากเห็น เด็ก เยาวชนชุมชนแพรกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่/ สร้างประสบการณ์ใหม่ภายใต้พื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย มีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง (Kid’s Hub) ที่นำไปสู่การค้นพบตัวเองเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพจากการได้ลงมือทำ และปฎิบัติการจริง เกิดความสุขสนุกในการเรียนรู้ มีความภาคภูมิใจในตัวเองและชุมชนที่จะเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการเติบโต และพัฒนาตนเอง
ทีมที่ 2: Bangplay Learning HUB
โปรเจกต์ After that project กำลังพัฒนาโมเดลแก้ปัญหาเยาวชนในศูนย์ฝึกเด็กและอบรมเด็กและเยาวชนกระทำผิดซ้ำ และมีแรงต้านและรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่อใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่ใส่ใจในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งการไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง และค้นพบความต้องการของตนเองได้อย่างแท้จริง โดยทีม Bangplay Learning HUB กำลังพัฒนากิจกรรมออนไลน์ ที่สร้างความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงตัวตนภายในสำหรับเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกและพัฒนาหลักสูตรการเปลี่ยนแปลงตัวตนภายในสำหรับเยาวชนในศูนย์ฝึกในสถานการณ์โรคระบาดพร้อมกับพัฒนาระบบวัดและประเมินผลเจ้าหน้าที่และเยาวชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกมีเครื่องมือในการดูแลเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำไปขยายผลในศูนย์ฝึกอื่นๆ ได้
ทีมที่ 3: ไร่ส้มวิทยา
โปรเจกต์ Raisom shop โดยศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ กำลังพัฒนาโมเดลความยั่งยืนโดยใช้ไร่ส้มช้อปเป็นร้านค้าในการจำหน่ายสินค้าที่โรงเรียนผลิตเองและได้รับบริจาคมา และเป็นพื้นที่เรียนรู้ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของเด็กนักเรียน และออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตที่เหมาะสมกับเด็กในไร่ส้ม
โดยมีเป้าหมายว่า ศูนย์การเรียนดีที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยและให้เด็กมีความสุข : เด็กทุกสัญชาติ ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนของเราได้ เป็นที่พึ่งพิงและดูแลลูกหลานให้กับครอบครัวที่ไม่พร้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ให้เด็กมีทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพและเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กมีความสุขความปลอดภัย
ในขณะนี้ไร่ส้มช้อปนำวัตถุดิบในพื้นที่คือส้มและผลไม้ตามฤดูกาลอื่นๆ มาจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับศูนย์การเรียน สามารถสั่งซื้อได้ที่ Raisomwitdhaya
ทีมที่ 4: Gapfai
โปรเจกต์ ครูเจ๋ง โดยทีม Gapfai อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กำลังพัฒนาโมเดลสร้างความยั่งยืนในการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนทีมกั๊บไฟสำรวจพบว่าเด็กในโรงเรียนช่วงอายุ 7-18 ปี ยังพบการถูกกระทำความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เด็กจะถูกกระทำความรุนแรงเมื่อเกิดเหตุการณ์ ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง ไม่ส่งการบ้าน ไม่ปฏิบัติตามกฏของโรงเรียน พูดจาไม่เพราะ หรือไม่ไปโรงเรียนเพราะครูใช้ความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรงใน ที่พบในโรงเรียน 40% ถูกเปรียบเทียบประจาน 30% พูดจาดูถูก และ 30% ถูกตี ทำให้เด็ก 20% เลือกออกจากโรงเรียนเนื่องจากได้รับการกระทำความรุนแรง
โดยโปรเจกต์ครูเจ๋ง กำลังจัดทำหลักสูตรวินัยเชิงบวกให้กับครูในโรงเรียน พัฒนาระบบวัดประเมิน และมองหาโมเดลสร้างความยั่งยืนโดยการให้บริการจัดอบรมหลักสูตรวินัยเชิงบวกในโรงเรียน