
ในช่วง 2513 มีประชากรจำนวนแค่หลักร้อยเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเขตสลัม แต่ในปัจจุบันมีจำนวนสลัมและชุมชนยากจนกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ และมีครัวเรือนกว่า 5 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว มีการศึกษาหลายชิ้นระบุว่าในจำนวนประชากรไทยทุกๆ 6 คน จะมี 1 คนที่อาศัยอยู่ในเขตสลัม
หลายๆ เมืองประสบปัญหาการอพยพเข้ามาทำงานตามฤดูของชาวนายากจนในต่างจังหวัดที่นิยมเดินทางเข้ามาขายแรงงานในช่วงรอการเก็บเกี่ยวและพำนักอยู่ในสลัม นอกจากนี้ชาวสลัมส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพที่มีรายได้มั่นคงได้เนื่องจากมีการศึกษาต่ำหรือขาดทักษะที่ตลาดต้องการ
ชาวสลัมในประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิในที่อยู่อาศัยอีกด้วย เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาที่ดินทำให้พื้นที่สลัมเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกไล่ที่อย่างมาก นอกจากนี้ชาวสลัมยังขาดความตระหนักและไม่ได้รับความสนใจในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยต่างๆ รวมทั้งการป้องกันไฟไหม้และการมีน้ำดื่มที่สะอาดสำหรับบริโภค
ประเด็นที่น่าสนใจ
- การฝึกทักษะและการให้ความรู้กับชาวสลัมเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสลัมให้ดีขึ้น
- การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การป้องกันไฟไหม้ หรือ การมีน้ำดื่มที่สะอาดบริโภค
- การกระตุ้นให้ชาวสลัมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการชุมชนตนเอง
- การอบรมเกี่ยวกับสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนต่างๆ เพื่อให้สามารถจับตาดูได้ว่ามีการละเมิดหรือไม่?
Links
http://www.spu.ac.th/architecture/files/2012/10/Wo…