
ประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนแรงงานอพยพมากกว่า 2.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพจากพม่า
ซึ่งแรงงานเหล่านี้มักต้องเผชิญกับปัญหาด้านสิทธิและความรุนแรงที่มีผลมาจากการบังคับใช้กฏหมายที่ไม่เป็นธรรม
และการขาดกฏหมายที่รองรับสิทธิขั้นพื้นฐานหรือการเข้าไม่ถึงบริการทางสังคมต่างๆ จากรายงานด้านการอพยพย้ายถิ่นของกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่าประเทศไทยติดอันดับในกลุ่มประเทศที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อพยพ
แรงงานอพยพส่วนใหญ่เข้ามาทำงานเป็นชาวประมง เป็นแรงงานปลูกยางพารา
และเป็นแรงงานก่อสร้าง ซึ่งพวกเขามักถูกเอาเปรียบโดยการให้ทำงานหนักและอันตราย
ทั้งบางคนยังถูกคุกคามทางเพศหรือแม้แต่โดนล่อลวงโดยกลุ่มค้ามนุษย์
นายจ้างคนไทยส่วนมากมักจะยึดเอกสารต่างๆของแรงงานต่างด้าวเพื่อไม่ให้แรงงานเหล่านี้สามารถเปลี่ยนงานใหม่ได้
อีกทั้งเป็นการกดให้แรงงานต้องพึ่งพิงนายจ้างตลอดไป
อีกเหตุผลหนึ่งที่นายจ้างคนไทยมักว่าจ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานให้ คือแรงงานเหล่านี้มักไม่ค่อยตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานทำให้นายจ้างสามารถละเลยประเด็นเรื่องความปลอดภัยได้โดยง่าย
นอกจากนี้แรงงานต่างด้าวชาวพม่าและครอบครัวของพวกเขามักเข้าไม่ถึงบริการทางสังคมขั้นพื้นฐานต่างๆโดยเฉพาะด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล
ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาปี 2549 จะกำหนดให้เด็กทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยมีสิทธิในการเข้ารับการศึกษา
แต่ในความเป็นจริงแล้วเด็กพม่าส่วนใหญ่มักเจออุปสรรคทั้งด้านภาษา การปรับตัว
และการเหยียดเชื้อชาติทำให้ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้เทียบเท่ากับเด็กไทยเท่าไหร่
ส่วนประเด็นเรื่องสุขภาพ
แรงงานต่างด้าวและครอบครัวมักถูกปฏิเสธจากผู้ให้บริการในระบบสุขภาพของประเทศ
ทำให้พวกเขาตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ
สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยิ่งย่ำแย่ลงไปอีกคือทัศนคติเชิงลบของคนไทยที่มีต่อกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวพม่า
ซึ่งการแบ่งแยกเชื้อชาติและความรุนแรงต่างๆที่มีต่อกลุ่มแรงงานรวมทั้งการไม่ได้รับสิทธิพื้นฐานต่างๆ
ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนและลำบากยากแค้น
ประเด็นที่น่าสนใจ
ประเด็นที่น่าสนใจ
- การเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าว
- การให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆแก่แรงงานต่างด้าวรวมทั้งความรู้ในการป้องกันตนเองจากความรุนแรงหรือการละเมิดสิทธิต่างๆ
- การคอยจับตาดูการละเมิดสิทธิต่างๆของแรงงานต่างด้าวเพื่อเตรียมสร้างระบบกฏหมายขึ้นมารองรับปัญหา
- การจัดระบบบริการด้านการศึกษาและสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวและครอบครัว
- การจัดหางานที่มีความปลอดภัยให้กับแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
- การพัฒนาความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมในการทำงานของแรงงานให้ดีขึ้น
Links
http://www.irrawaddy.org/archives/30770
http://www.ipsnews.net/2013/05/migrant-workers-face-tough-times-in-thailand/
http://www.hrw.org/world-report/2013/country-chapters/thailand?page=3