วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (GSSE) และ G-LAB ทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อให้นักศึกษาได้ทำโครงการเพื่อสังคมผ่านการลงมือทำจริง ได้ลงชุมชนเพื่อทำความเข้าใจปัญหา และมีโอกาสได้ประสบการณ์จากการร่วมงานกับผู้ประกอบการสังคมที่ทำงานสร้างนวัตกรรมสังคมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ช่วงบ่มเพาะไอเดีย จนถึงการขยายผลกระทบทางสังคม
ประเด็นที่น่าสนใจ (Insights)
ขั้นตอนการทำงาน
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการสร้าง partner
ตัวอย่างความร่วมมือระหว่าง GSSE/G-LAB และหน่วยงานภายนอก
partner |
ความต้องการของเรา |
ความต้องการของ Partner |
ความร่วมมือที่เกิดขึ้น |
SET |
GSSE เป็นคณะที่ค่อนข้างใหม่ คนยังไม่เข้าใจว่าเรียนจบไปทำอะไรและระบุตำแหน่งงาน (job placement) ที่ชัดเจนได้ยาก จึงอยากทำคอร์สที่สอนเรื่อง SE และมองหาสถานที่ที่เหมาะสม |
สนใจและอยากสนับสนุนเรื่อง SE อยู่แล้ว |
GSSE ไปทำคอร์สเรียนเรื่อง SE ฟรีที่ SET เพื่อให้คนเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และเดินทางสะดวก |
Grab, หน่วยงานรัฐ |
GSSE ลงไปทำงานกับหน่วยงานรัฐ และชุมชนริมคลองลาดพร้าว เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของคนในพื้นที่ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ด้วยการเปลี่ยนหลังบ้าน (ที่ติดน้ำ) ให้กลายเป็นหน้าบ้าน โดยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยความเชื่อว่าการเดินเรือจะทำให้ชุมชนรักคลองมากขึ้น |
|
Grab ลงทุนค่าเรือให้ แล้วให้ชุมชนดำเนินงานต่อ และมีการตั้งสหกรณ์เพื่อนำเงินมาพัฒนาพื้นที่ ทำเป็น airbnb ให้คนมาพัก (หากโมเดลนี้สำเร็จ จะมีคลองอีก 400 คลองที่รอให้เข้าไปแก้ไขปัญหาต่อ) |
เอราวัณกรุ๊ป, ชุมชนบางลำพู |
ต้องการสร้างนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆ |
เอราวัณ - หาเป้าหมายใหม่ๆ สำหรับการท่องเที่ยว ชุมชน- ต้องการพัฒนาชุมชน |
โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนบางลำพู โดยโรงแรมในเครือเอราวัณออกโปรโมชั่นให้ลูกค้าไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และช่วยพัฒนาชุมชนในช่วงเริ่มต้น โดยปีต่อๆ ไป ชุมชนจะเป็นคนทำเอง |