knowledge

[CMIN] การสร้างความมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภายนอก (How to engage external partners?)

26 กรกฎาคม 2017


โดย ดร. ศิญาณี หิรัญสาลี วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (GSSE) และ G-LAB ทำงานเพื่อสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เอื้อให้นักศึกษาได้ทำโครงการเพื่อสังคมผ่านการลงมือทำจริง ได้ลงชุมชนเพื่อทำความเข้าใจปัญหา และมีโอกาสได้ประสบการณ์จากการร่วมงานกับผู้ประกอบการสังคมที่ทำงานสร้างนวัตกรรมสังคมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ช่วงบ่มเพาะไอเดีย จนถึงการขยายผลกระทบทางสังคม 

ประเด็นที่น่าสนใจ (Insights)

  • อย่าสร้าง partner โดยการรอ ‘โชคชะตา’ ควรเริ่มต้นด้วยการหากรอบกลยุทธ์ที่เป็นระบบอย่างชัดเจน   
  • อย่าเข้าไป ‘ช่วย’ ชุมชน อย่าเข้าไป ‘เรียนรู้’ ชุมชน ควรลองเข้าไป ‘ทำงานกับ’ ชุมชน  
  • อย่าลืมนำความรู้จากการ ‘ทำงานกับชุมชน’ กลับคืนสู่ ‘ห้องเรียน’
  • อย่ากลัวการประเมินว่าหน่วยงานไหน ‘in’ และหน่วยงานไหน ‘out’

ขั้นตอนการทำงาน

  1. เข้าใจระบบประเมินของมหาวิทยาลัยและบุคลากรของเรา เราต้องรู้ว่ามีงานใดที่ต้องทำบ้าง งานไหนต้องทำก่อน-หลังเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และต้องเข้าใจว่าเราต้องการทักษะหรืองานประเภทใด
  2. วิเคราะห์ partner ให้ชัดเจน วาดเป็นแผนภาพ (diagram) ขึ้นมา ว่าใครสามารถช่วยเหลือเราได้ และเราช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง วัฒนธรรมองค์กรและเคมีของทีมงานเข้ากันได้หรือไม่ 
  3. สร้างกลยุทธ์ในการหา partner ที่ชัดเจน เช่น กำหนดหลักเกณฑ์ (criteria) แล้วออกไปหา ไม่นั่งรอ และควรกำหนดวิธีทำงานร่วมกันให้ชัดเจน โดยเขียนออกมาเป็นสัญญาหรือ TOR อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร 

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการสร้าง partner 

  1. เมื่อไป pitch งานควรวางแผนไปว่าเราจะทำงานกับ partner แต่ละองค์กรอย่างไรบ้าง และมีแผนสำรองว่าถ้าเขาไม่ร่วมงานกับเรา เราจะดำเนินงานต่ออย่างไร เพราะเราไม่ควรล้มเลิกโครงการง่ายๆ เพียงเพราะไม่ได้ partner ที่ต้องการ 
  2. หากทำงานกับชุมชนแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ ควรถามหาสาเหตุ ทำความเข้าใจ และลองใหม่อีกครั้ง โดยอาจปรับเปลี่ยนบทบาทกันใหม่เพื่อให้ทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
  3. ควรทำอัตลักษณ์ขององค์กร (Corperate Identity) ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถสร้างความตระหนักรู้ (awareness) ขององค์กรได้ ขยายงานได้มากขึ้น ดูมีความเป็นมืออาชีพ และในขณะเดียวกันก็เป็นการกันคนที่ไม่ใช่ออกไปด้วย 
  4. การสอนในยุคปัจจุบัน เด็กไม่ได้ต้องการแค่ข้อมูลความรู้จากเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เด็กต้องการฟังประสบการณ์จากการทำงานกับชุมชนจริงๆ รวมถึงข้อค้นพบใหม่ๆ จากงานวิจัยของเราด้วย
  5. เราควรประเมินอยู่เสมอว่าหน่วยงานไหน in – out คือหน่วยงานใดที่เหมาะสมจะส่งนักศึกษาไป หรือหน่วยงานใดที่ไม่ควรร่วมงานด้วยอีก

  


ตัวอย่างความร่วมมือระหว่าง GSSE/G-LAB และหน่วยงานภายนอก 

partner

ความต้องการของเรา

ความต้องการของ Partner

ความร่วมมือที่เกิดขึ้น

SET

GSSE เป็นคณะที่ค่อนข้างใหม่ คนยังไม่เข้าใจว่าเรียนจบไปทำอะไรและระบุตำแหน่งงาน (job placement) ที่ชัดเจนได้ยาก จึงอยากทำคอร์สที่สอนเรื่อง SE และมองหาสถานที่ที่เหมาะสม

สนใจและอยากสนับสนุนเรื่อง SE อยู่แล้ว 

GSSE ไปทำคอร์สเรียนเรื่อง SE ฟรีที่ SET เพื่อให้คนเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น และเดินทางสะดวก

Grab, หน่วยงานรัฐ

GSSE ลงไปทำงานกับหน่วยงานรัฐ และชุมชนริมคลองลาดพร้าว เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของคนในพื้นที่ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ด้วยการเปลี่ยนหลังบ้าน (ที่ติดน้ำ) ให้กลายเป็นหน้าบ้าน โดยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยความเชื่อว่าการเดินเรือจะทำให้ชุมชนรักคลองมากขึ้น 

 

  • รัฐ – ต้องการให้พื้นที่ริมคลองได้รับการพัฒนา โดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
  • Grab – ต้องการหาลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

Grab ลงทุนค่าเรือให้ แล้วให้ชุมชนดำเนินงานต่อ และมีการตั้งสหกรณ์เพื่อนำเงินมาพัฒนาพื้นที่ ทำเป็น airbnb ให้คนมาพัก (หากโมเดลนี้สำเร็จ จะมีคลองอีก 400 คลองที่รอให้เข้าไปแก้ไขปัญหาต่อ) 

เอราวัณกรุ๊ป, ชุมชนบางลำพู

ต้องการสร้างนวัตกรรมทางสังคมใหม่ๆ 

เอราวัณ – หาเป้าหมายใหม่ๆ สำหรับการท่องเที่ยว

ชุมชน- ต้องการพัฒนาชุมชน 

โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนบางลำพู โดยโรงแรมในเครือเอราวัณออกโปรโมชั่นให้ลูกค้าไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน และช่วยพัฒนาชุมชนในช่วงเริ่มต้น โดยปีต่อๆ ไป ชุมชนจะเป็นคนทำเอง


เนื้อหาสรุปจากการอภิปรายเครือข่ายอาจารย์มหาวิทยาลัย Changemakers Incubation Network ในงาน EAT-MEET-SHARE เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2560 


เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ