
Striving Will Workshop
การเปลี่ยนแปลงสังคมคือการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น เพราะการแก้ปัญหาต้องใช้เวลา ผู้ที่เป็น Changemaker ต้องเรียนรู้วิธีการวิ่งระยะไกล มีเทคนิคการจัดการกับข้อจำกัดของตัวเองและการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม เรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางทั้งกับตัวเอง ทีมงาน และพาร์ทเนอร์ รวมถึงต้องเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นในเวลาที่เราล้ม
Workshop นี้จะชวนคุณมองอนาคตการเป็นนักเปลี่ยนแปลง ประเมินความเสี่ยง สร้าง Scenario และคิดแผนแก้ปัญหา
โดย ภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย และ ภนิธา โตปฐมวงศ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง a-chieve
ห้อง X11.3 เวลา 10.00-12.30
ขั้นตอนที่ 1 : Clear vision & passion
1.1 เขียนวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจ
เขียนวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจของการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของพวกเราออกมาให้ชัดเจน หากเขียนไม่ได้ ให้พูดคุย สอบถาม ปรึกษาหารือกันในทีมว่า วิสัยทัศน์หรือภาพที่เราอยากเห็นจากการทำโครงการคืออะไร พวกเรามีแรงบันดาลใจอะไรถึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น จะเขียนรวมออกมาเป็น 1 ประโยคสั้นๆ หรือ เขียนแยกระหว่างวิสัยทัศน์ และ แรงบันดาลใจ ออกจากกันก็ได้
1.2 ตรวจสอบวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจ
- Is it clear for me? : ตรวจสอบว่าวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจของการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของพวกเรากระจ่างชัดหรือยัง ทุกคนในทีมเข้าใจตรงกันหรือไม่ ตรวจสอบให้แน่ใจโดยให้แต่ละคนในทีมลองอธิบายว่าเข้าใจว่าอย่างไร เพราะความเข้าใจแต่ละคนอาจต่างกัน หากอธิบายแล้วไม่ตรงกัน ให้สอบถามหรือขยายความเพิ่มว่าทำไมถึงมองอย่างนั้น เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างหรือปรับวิสัยทัศน์ร่วมกันใหม่
- Does everyone see the same picture of what will be if our vision is achieved? : ตรวจสอบว่าทุกคนในทีม โดยเฉพาะผู้ร่วมก่อตั้งว่าเห็นภาพสุดท้าย หรือภาพความสำเร็จของโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรงกัน ควรพูดคุยปรึกษาหาหรือกันต่อว่าทำไมถึงมองอย่างนั้น ลองปรับวิสัยทัศน์ให้ตรงกันใหม่ หากไม่ตรงกันจริงๆ ก็จำเป็นต้องแยกกันทำโครงการ
- How was it see? Did it include everyone’s participation? : หากภาพความสำเร็จของโครงการตรงกัน แล้วภาพความสำเร็จนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร ยังตรงกับวิสัยทัศน์ที่เขียนไว้ในข้อ 1.1 อยู่หรือไม่ ปรับหรือเขียนใหม่ให้ชัดเจนและตรงกัน ตรวจสอบภาพสำเร็จนั้นว่าจะสร้างการมีส่วนร่วมของทุกๆ คนในทีมได้ ยังมีแรงบันดาลใจหรือที่มาที่ไปของการทำโครงการของแต่ละคนร่วมกันอยู่ด้วย
ขั้นตอนที่ 2 : Obstacle is the path mindset
2.1 Forecast risk
คาดการณ์ถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม ด้านหลักๆ ที่ควรคำนึงถึงได้แก่
- Team : คาดการณ์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับทีม เช่น สมาชิกคนในคนหนึ่งไหนทีมมีความจำเป็นจะต้องหยุดพักหรือเลิกทำโครงการ ความไม่เข้าใจไม่ลงลอยกันระหว่างสมาชิกในทีม ทีมหมดพลังไม่มีแรงทำโครงการต่อ ฯลฯ คุณและสมาชิกในทีมจะมีแผนฉุกเฉิน (Contigency Plan) รับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้อย่างไร
- Finance : คาดการณ์ถึงความเสี่ยงเกี่ยวกับการเงิน เช่น หางบประมาณไม่ทันทำโครงการส่งผลให้ขาดความต่อเนื่อง ใช้งบประมาณเกินหรือขาดทุนจากการดำเนินการ เงินสูญหาย เสียเวลามากในการจัดการบริหารการเงิน ฯลฯ คุณและสมาชิกในทีมจะมีแผนฉุกเฉิน (Contigency Plan) รับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้อย่างไร
- Other : คาดการณ์ถึงความเสี่ยงอื่นๆ ที่คุณและสมาชิกในทีมกังวลถึงปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วร่วมกันวางแผนหาทางรับมือร่วมกัน
2.1 Analyse problem
วิเคราะห์ปัญหาช่วยให้พบทางออก โดยเริ่มจากพิจารณาด้านหลักๆ ดังนี้
- What is the problem? : ระบุและอธิบายปัญหาหรืออุปสรรคออกมาให้ชัดเจน
- What do I/we already know from the problem? : พวกเรารู้อะไรเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านี้อีกบ้าง
- What step did I/we take that make it work? : พวกเรามีขั้นตอนจัดการหรือแก้ไขปัญหรืออุปสรรคเหล่านี้อย่างไร
- How could I/we do differently to make it better? : พวกเราจะทำอะไรต่างออกไปเพื่อแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านี้ได้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 : Team learning mindset
สมาชิกในทีมเรียนรู้ร่วมกันผ่านการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม โดยทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง ได้แก่
A: Passion/ Goal/ Objective : ทบทวนแรงบันดาลใจ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการทำโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ
B: How did i do it : ทบทวนสิ่งที่พวกเราได้ลงมือทำเพื่อให้บรรลุแรงบันดาลใจ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
C: Result/ What happened? : ทบทวนผลลัพธ์หรือผลกระทบที่เกิดขึ้น
D: Learning/ What do i learn from it : พวกเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงมือทำดังกล่าว ครั้งต่อไปจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 : Seek for help & Check with user
- Potential advisors : ปัญหาย่อมมีทางออก ถ้าแก้ไขเองไม่ได้ให้มองหาและเตรียมขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจจะแบ่งเป็นด้านๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาไอเดียและโครงการ โมเดลความยั่งยืน การตลาด การเงิน การบริหารจัดการโครงการ ฯลฯ โดยให้เริ่มเขียนรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักและอาจจะยังไม่รู้จักตามประเด็นหรือด้านต่างๆ ที่ระบุมา รวมถึงคนหรือองค์กรตัวกลางที่อาจเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้ โดยพิจารณาจากความรู้ความเชี่ยวชาญ และรูปแบบของการให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับรูปแบบการทำโครงการของพวกเรา
- User & customer : ปัญหาหนักอาจกลายเป็นเบา หากพวกเราคอยตรวจสอบการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย และ/หรือลูกค้าของเราอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก่อนตรวจสอบควรแบ่งกลุ่มคนที่พวกเราทำงานด้วยให้ชัดเจน ว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายหรือได้ประโยชน์จากการทำโครงการโดยตรง (User/ Target) ใครคือลูกค้า ผู้ซึ่งซื้อสินค้าหรือบริการจากเรา (Customer)