
6 สิ่งที่องค์กรภาคสังคมควรทำเพื่อให้ได้ผลกระทบทางสังคมสูงสุด
1. Advocate and serve
องค์กรที่สร้างผลกระทบทางสังคมสูง ไม่ได้แค่มุ่งมั่นทำงานแก้ไขปัญหาทางตรงอย่างเดียว ในตอนเริ่มต้นเราอาจจะเริ่มจากโครงการที่ดีแต่เมื่อทำไปแล้วอาจพบว่าไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างได้จากการทำกิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ อย่างเดียว ยังต้องมุ่งมั่น ทุ่มเททำสิ่งต่อไปนี้ด้วย
- กิจกรรมที่ทำอยู่ ควรเป็นกิจกรรมที่ทำแล้วเกิดผลกระทบทางสังคม หรือเกิดการแก้ปัญหาจริง
- งานที่เราทำมีส่วนขับเคลื่อน ผลักดันนโยบายรัฐ หรือทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ
2. Make markets work.
ไม่ได้พึ่งเงินบริจาคหรือเงินทำโครงการจากภาครัฐ หรือคนทั่วไปเท่านั้น แต่ใช้ประโยชน์จากกลไกตลาด หรือทำงานกับภาคธุรกิจ ในรูปแบบต่างๆ เช่น
- ช่วยบริษัททำธุรกิจแบบรับผิดชอบต่อสังคม ช่วยทำบริษัททำธุรกิจไปในทิศทางที่ดูแลสังคม ( เช่น จ้างงานคนพิการ ลดน้ำเสีย/ลดการใช้ไฟ แฟร์เทรด)
- ร่วมมือกับบริษัทให้มีส่วนช่วยสังคม (ช่วนบริษัทมาเป็นอาสาสมัคร ทำกิจกรรม CSR)
- องค์กรเราเองขายสินค้าหรือให้บริการ หรือมีกิจกรรมสร้างรายได้ (กิจการเพื่อสังคม)
3. Inspire evangelists.
มีกลยุทธ์การทำงานที่สร้างความมีส่วนร่วม สร้างความเข้าใจกับสังคม เช่น
- สื่อสารสร้างความเข้าใจกับคนทั่วไป เช่นมีเว็บไซต์ หรือออกสื่อ ที่ทำให้องค์กรเผยแพร่วิสัยทัศน์ พันธกิจ กิจกรรม รายงานประจำปี ทำให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจว่ามีองค์กรแบบเราอยู่ หากอยากมีส่วนร่วมจะหาเราเจอ ติดต่อเราได้ มีกิจกรรมหรือโอกาสให้เข้าร่วมได้
- เปิดรับอาสาสมัครเข้ามาช่วยงาน หรือมีกิจกรรมให้คนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมได้
- มีผู้สนับสนุนเพิ่มมากขึ้นทุกปี (เช่นผู้บริจาคเงิน หรือผู้ให้การสนับสนุนสิ่งของ หรือให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ
- มีบอร์ด หรือคณะที่ปรึกษา ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ช่วยให้คำปรึกษา ช่วยระดมทุน หรืออื่นๆ
4. Nurture nonprofit networks.
- ทำงานกันเป็นเครือข่าย แบบเพื่อน ไม่ใช่คู่แข่ง มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ที่ทำให้งานของแต่ละองค์กร ต่างเติบโต สร้างผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาชัดเจน ก้าวหน้า
- มีการทำงานที่เติบโตชัดเจนในแต่ละปี เช่นเราร่วมมือกับเพื่อน ระดมทุนในนามเครือข่ายและกระจายเงินทุนสนับสนุนไปแต่ละองค์กร ร่วมกันผลักดันขับเคลื่อนนโยบายจนสำเร็จร่วมกัน หรือเกิดความร่วมมือที่สร้างสิ่งใหม่
5. Master the art of adaptation.
- เข้าใจบริบทภายนอกองค์กร ว่าแนวโน้มความเป็นไปในสังคม โอกาสและความเสี่ยงจากปัจจัยใดมีผลต่องานเรา และ มีอะไรบ้าง (เช่น โครงสร้างประชากรเปลี่ยน คนแก่จะมากขึ้น ส่งผลต่อเราซึ่งเป็นโรงเรียนสอนเด็ก ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่น้อยลงทุกวัน หรือแหล่งทุนที่ให้เงินให้เปล่า มีน้อยลงทุกวัน แต่เงินลงทุนกับงานเพื่อสังคมที่มีกิจกรรมสร้างรายได้มีมากขึ้นเรื่อยๆ)
- เป็นองค์กรที่เรียนรู้และปรับตัวได้ เมื่อทำงานแล้วมีการประเมินผลจากกลุ่มเป้าหมาย และปรับงานหรือกิจกรรมให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้
- มีการยกเลิกกิจกรรมหรือโครงการเมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นในแต่ละปี เหลือเวลาและพื้นที่ให้ได้คิดหรือสร้างกิจกรรมที่จำเป็น
- มีความสมดุลย์ระหว่างความสามารถในการคิดไอเดียใหม่ๆ กับการมีโครงสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่คิดแล้วทำโครงการออกมาได้ดีจริงๆ เครือข่ายองค์กรภาคสังคมของเรามีการทำงานที่เติบโตชัดเจนในแต่ละปี เช่นเราร่วมมือกับเพื่อน ระดมทุนในนามเครือข่ายและกระจายเงินทุนสนับสนุน ร่วมกันผลักดันขับเคลื่อนนโยบายจนสำเร็จร่วมกัน หรือเกิดความร่วมมือ การสร้างสิ่งใหม่ หรือนวัตกรรมสังคมอย่างต่อเนื่อง
6. Share leadership.
- องค์กรดำเนินงานแบบการนำร่วม คือไม่ใช่ผู้นำหรือผู้ก่อตั้งมีอำนาจและตัดสินใจอยู่คนเดียว แต่ละอาจจะมีการพัฒนาศักยภาพคนในองค์กรขึ้นมานำร่วม มาเป็นมือขวาหรือมือรอง มีการการจ้างผู้บริหารมืออาชีพ หรือมีระบบการทำงานที่คนในองค์กรได้ร่วมหรือผลัดกันตัดสินใจทิศทาง นโยบายและการดำเนินการ
- ผู้นำองค์กรมีแผนการและการเตรียมการสืบทอด
- ผู้นำองค์กรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับบอร์ด หรือคณะที่ปรึกษา
สรุปจากหนังสือ Forces for Good The Six Practices of High-Impact Nonprofits โดย Leslie Crutchfield และ Heather McLeod Grant ซึ่งเป็นหนังสือที่ The Economist ยกให้เป็น 1 ใน 10 หนังสือที่ดีที่สุดของปี ผู้เขียนได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการสำรวจ เก็บข้อมูล nonprofit CEO กว่าพันแห่ง ในสหรัฐอเมริกา สัมภาษณ์หลายร้อยองค์กร และศึกษาองค์กรภาคสังคมที่สร้างผลกระทบได้สูง 12 แห่ง เช่น America’s Second Harvest , Exploratorium , Self-Help , Teach for Amarica , YouthBuild USA , Habitat for Humanity เป็นต้น ซึ่งกรอบแนวคิดของนิยาม High-Impact Nonprofits ที่ใช้พิจารณา ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ขนาดขององค์กร หรือ เงินที่องค์กรนั้นๆ ใช้ในการดำเนินการ แต่มองหาองค์กรที่สร้างนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา ขยายผลได้ในระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ เพื่อเรียนรู้ และถอดบทเรียน ว่า องค์กรเหล่านี้พวกเขาทำอย่างไรให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสร้างผลกระทบทางสังคมสูงได้ จากการเริ่มต้นตั้งคำถามว่า What makes great nonprofits great?
เพราะองค์กรนั้นๆ มีการบริหารจัดการที่ดี?
จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้องค์กรเหล่านี้จะให้ความสำคัญกับกระบวนการ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการต่างๆ ที่สำคัญ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายว่า ทำไมองค์กรเหล่านี้ ถึงสร้างผลกระทบทางสังคมที่สูงได้
เพราะมีการรับรู้ของแบรนด์ที่แข็งแกร่ง?
หลายๆ องค์กรใช้การทำการตลาดกับคนหมู่มาก ใช้ mass media เพื่อเข้าถึงผู้คนเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการสร้างผลกระทบทางสังคม แต่ขณะเดียวกัน ก็มีหลายองค์กร ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น
เพราะมีไอเดียใหม่ๆ ที่ดี ?
บางองค์กร มีนวัตกรรมใหม่ๆ แต่หลายองค์กร กลับใช้ไอเดียเดิมที่เคยทำมา นำไปต่อยอด ปรับปรุง จนกระทั่งประสบความสำเร็จ หัวใจสำคัญจึงน่าจะอยู่ที่การลงมือปฏิบัติมากกว่าแค่ไอเดีย หรือโมเดล ที่มีนวัตกรรมเท่านั้น
เพราะพันธกิจองค์กรที่ดูดี น่าเชื่อถือ?
ถึงแม้ทุกองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเเหล่านี้ มีพันธกิจ และวิสัยทัศน์และ shared value ที่น่าสนใจและดึงดูดผู้คน แต่ในความเป็นจริง สิ่งสำคัญก็คือ องค์กรเหล่านี้ต่างคลั่งไคล้(obsess) ที่จะสร้างผลกระทบทางสังคม ถึงแม้การบริหารจัดการภายในอาจจะไม่ได้ดีเลิศก็ตาม มีเพียงไม่กี่องค์กร ที่ใช้เวลามานั่งปรับพันธกิจให้สวยหรูและเขียนลงบนกระดาษ ทุกๆ องค์กร ต่างใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ “ใช้ชีวิต” อยู่กับพันธกิจ ของตนเอง
เพราะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง?
หลายองค์กรที่เราทำการศึกษา ไม่ได้ถูกจัดอันดับ ให้อยู่ในระดับที่ดีมากนัก บางองค์กรได้แค่เพียง 2-3 ดาว จาก 5 ดาว การจัดอันดับเหล่านี้ ไม่สามารถบอกได้ว่าองค์กรไหน สร้างผลกระทบสูงได้
เพราะใช้งบประมาณมหาศาล?ต้องบอกว่า ขนาดของงบประมาณ ไม่ได้สอดคล้องกับการสร้างผลกระทบทางสังคม บางองค์กรที่ศึกษา สร้างผลกระทบมหาศาลด้วยงบก้อนใหญ่ ในขณะเดียวกันบางองค์กร ใช้งบประมาณไม่มาก เพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน แต่ละองค์กร ต่างมีกลยุทธ์ในการระดมทุนที่แตกต่างกัน
หัวใจสำคัญขององค์กรเหล่านี้ คือ การสร้างองค์กรที่ “ดีพอ” ในการดำเนินกิจกรรมของตนเอง มุ่งมั่นสร้างผลกระทบทางสังคมโดยตรง และใช้เวลาไปกับการโฟกัสกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง(Systemic Change) สร้างความร่วมมือ ทำงานร่วมกันในแต่ละภาคส่วน ทั้งภายนอก เช่น คนทั่วไป รัฐบาล ภาคธุรกิจ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอื่นๆ
นอกจากนี้ ในหนังสือยังมีตัวอย่างกรณีศึกษา รวมถึงวิธีการที่องค์กรภาคสังคมขนาดเล็กสามารถนำไป 6 สิ่งต่อไปนี้ ไปใช้กับองค์กรของตนเองด้วย
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับใคร
- ผู้นำองค์กรภาคสังคม สามารถนำประยุกต์ใช้กับองค์กรตนเองได้
- ผู้บริจาคและผู้ให้ทุน ที่มองหาผลกระทบทางสังคมสูงสุด
- ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจ ที่ต้องการพัฒนาผลกระทบทางสังคม หรือต้องการทำงานร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
- นักศึกษาและองค์กรการศึกษา ที่ต้องการศึกษาด้านสังคม รวมถึงต้องการทำวิจัยเกี่ยวกับการขยายผลกระทบทางสังคม
- ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายซึ่งมีอำนาจทางการเมือง และงบประมาณ ในขณะที่องค์กรภาคสังคม มีความรู้ ความสามารถรวมถึงพละกำลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลง