
Stakeholder management
การบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมประสบผลสำเร็จคือ ความสามารถในการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการแก้ไขปัญหาสังคมนั้นๆ School of Changemakers จึงถือโอกาสในการจัดงาน After School ครั้งที่ 29 หยิบยกหัวข้อนี้เป็นโจทย์ ให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจและคนรุ่นใหม่ที่กำลังลงมือทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในโครงการบ่มเพาะ Penguin Incubation ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านผู้มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง ซึ่งงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณเมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ (จูน) ผู้ก่อตั้ง The Guidelight และ คุณวริศรุตา ไม้สังข์ (โปสเตอร์) ผู้ก่อตั้ง Heartist เมื่อวันพุธที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ สำนักงาน School of Changemakers
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ
บุคคลหรือองค์กรที่โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมจำเป็นจะต้องเข้าไปปฏิสัมพันธ์ด้วย มีผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาสังคมไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งนักสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมจะต้องรู้ตนเองว่าต้องทำงานกับบุคคลหรือภาคส่วนใดบ้างและจัดลำดับความสำคัญให้เป็น ยกตัวอย่าง ของ The Guidelight ทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักศึกษาผู้พิการทางสายตา ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ คณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย มูลนิธินวัตกรรมสังคมที่ทำหน้าที่เชื่อม The Guidelight กับบริษัทและภาครัฐ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด เป็นผู้จ้างเหมางานของนักศึกผู้พิการทางสายตาที่เป็นสมาชิกของ The Guidelight สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้ให้ทุน รวมถึง School of Changemakers เองที่เป็นตัวกลางช่วยพัฒนาโครงการ เป็นต้น ทั้งนี้หากเราไม่ระมัดระวัง งานที่ทำแล้วเสริมกันเรากลายเป็นผู้มีส่วนได้ อาจจะสามารถทำงานเสริมกัน บางครั้งกลายเป็นส่วนเสีย เพราะงานที่ทับซ้อนกัน อาจเกิดสถานการณ์ที่เราทำงานได้ดี ทำให้คนมองว่าพาร์เนอร์เราทำได้ไม่ได้หรือเปล่า
การเลือกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างแรกคือต้องเข้าใจตัวเราเองก่อนว่าโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมของเรานั้นต้องการอะไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เราต้องเข้าไปทำงานด้วยต้องการอะไร หากปฏิสัมพันธ์ร่วมงานกันแล้วจะต้องตอบโจทย์ทั้งสองฝ่าย ได้ประโยชน์กันทั้งคู่ นอกจากนี้ต้องมีวิธีการทำงานที่ไปด้วยกันได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานร่วมกันได้ในระยะยาว กลายเป็นพันธมิตรที่เข้าใจกัน เมื่อมีปัญหาไม่โทษ แต่ช่วยกันแก้ไข
วิธีทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อันดับแรกคือการวางเป้าหมายและคิดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเราต้องทำอะไรบ้าง และที่สำคัญคือต้องมีการพูดคุยติดตามงานกันเป็นระยะๆ เช่นเดือนเว้นเดือน ได้คุยกัน อัพเดทความคืบหน้า แก้ปัญหาร่วมกัน ได้แลกเปลี่ยน ได้เรียนรู้วิธีการทำงานไปด้วยกัน การทำงานร่วมกันทำให้เข้าใจกัน มีส่วนร่วม เข้าใจสถานการณ์ เห็นความก้าวหน้า เห็นปัญหา และปรับแผน ปรับกิจกรรม เช่น The Guidelight บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด ในปีแรกอาจยังไม่มีส่วนร่วมมากนัก แต่ในปีที่สองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น มาพบกับนักศึกษาผู้พิการทางสายตาในโครงการ ร่วมอยู่ในกรุ๊ป Line ที่เราคุยกับเด็ก ทำให้เห็นได้เองเลยว่าเด็กนักศึกษาฯ ที่จ้าง 20 คน มีพัฒนาการอย่างไร ทำงานดีไม่ดีอย่างไรบ้าง
ส่วนนักศึกษาผู้พิการทางสายตาเอง ทุกเดือนต้องมาทำเอกสารลงเวลาทำงาน พบว่าเด็กนักศึกษาฯไม่อยากทำ เพราะไม่สามารถทำ excel ได้ดี แต่กรมแรงงานต้องการตรวจ มูลนิธินวัตกรรมเองก็ต้องการ และสหพัฒน์ก็ต้องการมีไว้ เมื่อความสัมพันธ์กับมูลนิธินวัตกรรมดี จึงยอมให้เด็กนักศึกษาฯ ไม่ต้องทำทุกเดือนได้ The Guidelight เองเห็นเด็กนักศึกษาฯ ไม่ชอบทำ จึงกำลังพัฒนาระบบเอกสารให้ช่วยงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับทีมงาน โดยลักษณะงานจะต้องอยู่กับปัญหาตลอดเวลา เราเลยคัดคนมีใจ the Guildelight เลือกคนที่เป็นเพื่อนคนตาบอด
หัวใจสำคัญของการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
คือการฟัง ต้องเข้าใจว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร หากเราฟังและเข้าใจ เราจะไม่โกรธ ไม่ใช้อารมณ์ และมีโอกาสจะแก้ปัญหาด้วยกัน อีกอย่างนึงคือการสื่อสารกันตลอดเวลา ทำให้เห็นถึงความพยายาม รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ สุดท้ายเวลามีปัญหาก็ควรแก้ด้วยกัน
กรณีศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่าน Heartist
Heartist เร่ิมจากอาชีพทำวีดีโอวาดมือ เลยอยากเอาวีดีโอไปช่วยเด็กหูหนวกเพื่อการเรียนรู้ รู้จักกับมาดี อยากทำนิทรรศการให้คนรู้ว่าคนหูหนวก เห็นน่าจะอ่านออกเขียนได้ คือ 89% เรียนรู้จากการได้ยิน และจริงๆ ภาษามือไม่มีภาษากลาง และครูเปลี่ยนบ่อย ครูก็ชอบคิดท่าเอง ตอนแรกเราเลยสอน ABC ด้วย American Sign Language แต่อาจจะไปได้ไม่ไกล ติดขัดปัญหาหลายอย่าง และตอนนั้นได้มีโอกาสไปทำงานกับพี่ที่ทอผ้ากับเด็กพิเศษ ที่ช่วยพัฒนาการได้ เลยอยากเอาไปทำกับน้องหูหนวก เลยตัดสินใจทำ Silence Room ด้วยเงินทุนของเราเอง แต่วันจัดงาน ไม่มีคนมา เพราะเขามีค่าใช้จ่ายค่าเดินทาง และคนหูหนวกหากไปเข้าอบรมของรัฐ เค้าจ่ายเงินค่าเข้าร่วมได้วันละ 300 บาท ตอนแรกเราไม่อยากเลือก อยากช่วยทั้งหูหนวก และเด็กพิเศษ ตอนหลังไปเข้า G Lab ที่เขาก็ถามว่าเราทำไมมีผ้าแล้วไม่เร่ิมจากตรงนั้น เราใช้เวลาสร้างความเชื่อใจอยู่นาน ตั้งแต่แรกเคยถามว่าเราช่วยเอาไปขายไหม ให้เราช่วยอะไรได้ แต่ครั้งแรกผิดที่ผิดเวลา จนเราไปทำงานจนแม่ๆ ของเด็กพิเศษไว้ใจ พอเราพูดอีกครั้งว่าเราอยากเป็นตัวเชื่อมเด็กพิเศษกับโลกภายนอก เมื่อแม่ๆ ไว้ใจ เขาก็บอกเราเขารอเวลานี้มานานแล้ว
เราจะไม่ขายความน่าสงสาร เราอยากทำอีกเรื่องคือการรับรู้ของสังคม คนมองเราเอาเด็กพิเศษมาหากิน คนชอบคิดว่าของคนพิการต้องถูก เราทำงานขยายเป็นกี่พกพากับเด็กต่างจังหวัดในโมเดลทำงานกับรร. เวลาทำงานกับผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญเรื่องเวลาทอ และการใช้สีด้ายมีความสำคัญ แต่รร.ไม่ใช่ เด็กกลับไปครอบครัวถูกกระทำ และถูกหลอกไปขายยา เรารู้ว่าเราไม่มีความพร้อม แต่เราก็ยังติดสินใจทำเพราะไม่อยากเห็นใครถูกทิ้ง
โมเดลของเราให้ไหมเขา (หากเราไม่ให้เขาซื้อได้แค่ไหมพรม เขาทอตั้งนานควรใช้วัสดุดิบดี) และรับซื้อทุกผืน ความพิเศษของทอ งานเรามีเซอร์ไพรส์ทุกล็อต เพราะน้องจะทออะไร และ suppliers จะแถมไหมสีเขียวสะท้อนแสงไป และเราอยากให้ผลิตภัณฑ์ของเราดีที่สุด ช่างเย็นหายาก ต้องหาช่างที่เห็นคุณค่าของงาน Heartist
เสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วม
- วันนี้ฟังแล้วรู้สึกอยากละเมียดละไมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกๆ ส่วน
- วันนี้ได้มาเห็นภาพที่น้องเค้าฉาย สิ่งที่ได้ฟังเราไม่เคยเห็นปัญหา เราโลกสวย น้องสุดยอด
- ได้ฟังแล้วชอบมาก รู้สึกต้องฟัง ต้องจูน ต้องเคารพกันมากๆ
- เพิ่งได้มาฟังอะไรแบบนี้ ทำให้เรารู้อะไรมากขึ้นเรื่อยๆ จะเอาไปต่อยอดกับที่อยากทำ
- เราทำกิจกรรมก็ไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าสุดได้อีก อยากทำอะไรให้สุด เราเจอความล้มเหลว ปรับตัว ปรับความคิดให้เข้าใจคนอื่น จะทำให้เราทำงานสังคมไปได้มากขึ้น
- น้องสองคนเก่ง ผมเป็นแฟนคลับน้องจูน น้องโปสเตอร์ก็เป็นผู้หญิงเก่ง รู้สึกเหมือนกันต้องปั้มมือ ต้องทำโรดแมปไปเรื่อยๆ
- ฟังแล้วทั้งสองเรื่อง คิดถึง trust แล้วเราไม่ต้อง please ทุกคน ไม่ต้อง overpromise เราก็ทำที่เราสนใจ
- เราเคยได้ฟังมาบ้างว่าเราต้องสนใจ stakeholders น่าประทับใจกับงานของจูนที่ประสานงานของทุกส่วน โปสเตอร์ประทับใจ passion ตอนนี้เหนื่อยเพราะกำลัง prototype ฟังโปสเตอร์แล้วบอกว่าทำแล้วสักคนได้ประโยชน์ รู้สึกคุ้มมาก
- ตอนที่ได้ฟัง รู้สึกว่าทั้งสองคนพูดตรงกัน ว่าไม่ควรมองข้ามที่ทำให้ความคาดหวังของทุกภาคส่วนตรงกันตั้งแต่ต้น ชอบที่ทั้งสองพูดถึงปัญหา แล้วก็ทะลุไปต่อไป ไม่มีอยากเลิก
- ชอบประโยคที่โปสเตอร์บอกว่าเพียงช่วยให้คนหนึ่งคนชีวิตดีขึ้น เห็นประโยชน์ว่าเราต้องเข้าใจตัวเอง ต้องฟัง ต้องเข้าใจ ต้องสื่อสารมากๆ
- มันส์มาก ชอบวิธีการแก้ปัญหา
- ได้ insight หลายๆ อย่าง เรากำลังจะ prototype มีหลายอย่างที่เรามองข้ามไป ทำให้เราอยากสื่อสารให้ครบถ้วนทุกด้าน
- ฟังแล้วสะท้อนใจ เพราะตอนอยู่ภาควิชาประวัติศาสตร์ เราไม่เคยรู้เลยว่าเด็กตาบอดไม่น่าจะเหมาะ จะลงภาคสนามได้ไหม เราเลยไม่รับ คิดว่าก่อนเราจะตัดสิน เราควรรู้จักเด็ก รู้ความสามารถของเด็กก่อนตัดสินใจ ส่วนโปสเตอร์ทำกับแม่เปา เคยติดต่ออยากเรียนทอเป็นงานอดิเรก คุณแม่บอกว่ารับสอนแค่คนที่เรียนไปทำงานอาสา เข้าใจเลยว่าความรู้สึกปิด ความรู้สึกถูกกระทำซ้ำ ความพยายามของหนู ความจริงใจ ทำให้เขารู้สึกดีจริงๆ
- รู้สึกเหนื่อย เทอมสองวิชาสัมมาธุรกิจ ฟังแล้วเรียนรู้ว่าปัญหาจะเป็นประโยชน์กับเรา
- ขอชื่นชมโปสเตอร์ในความบ้าเลือด พี่คงจะสามารถเป็นลูกค้าและกำลังใจให้ ของจูนฟังแล้วรู้ว่าทุกคนต้องการอะไรบางอย่างจากเรา เราไม่ควรเสียเวลา ปฏิเสธไปเลย เลือกคนที่ใช่ ไม่ต้องเกรงใจ ไม่ทำให้ใครเสียเวลา