
บทสัมภาษณ์ถอดบทเรียนกว่าจะมาเป็น SEDA สถานพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา (Student Entrepreneurship Development Academy) ก่อตั้งโดย ดร.มัลลิกา สังข์สนิท หัวหน้าโครงการ SEDA หรืออาจารย์ปอ นักสร้างการเปลี่ยนแปลงสุดสตรองเก็บตกจากงาน CMIN Big Share ค่ะ
ขอเล่า(ตัดตอนมาแบบย่อๆ) ย้อนไปตั้งแต่สมัย 10 กว่าปีที่แล้ว อาจารย์ปอเป็นคนแรกๆ ที่ร่างหลักสูตรผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย จนได้รับโอกาสให้เข้าไปบริหารงานทำงานสร้างระบบ innovaton ecosystem ดูแล 3 หน่วยงานตั้งแต่เริ่มต้น ได้แก่ สำนักงานจัดการทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ และหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (University Business Incubator – UBI) ณ วันนั้นประเทศไทยยังไม่ค่อยมีองค์ความรู้ด้านนี้เท่าไหร่ อาจารย์ปอต้องศึกษาหาข้อมูลดูงานจากที่ต่างๆ มากมาย เมื่อทำงานไปสักระยะพบว่าอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ทำอยู่นั้นแท้จริงแล้วเป็นปลายทาง ควรจะต้องมีต้นทางที่สร้างคนและเล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการสร้าง pipeline จึงชวนอาจารย์รัชฎาพร วิสุทธากร (อ.ตุ๊ก) ในฐานะหัวหน้าสาขาวิชา ณ ขณะนั้น ช่วยกันสร้างหลักสูตร Innopreneurship & Business Design ที่มทส. จากนั้นอาจารย์ปอลาออกจากการดูแล 3 หน่วยงานกลับมาสาขาวิชาเพื่อผลักดันงานด้านการพัฒนาคนต่อ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน โครงการของรัฐบาล Start Up Thailand กำลังมองหาพาร์ทเน่อและคนทำเช่นกัน อาจารย์ปอจึงผลักดันให้มหาวิทยาลัยเข้ามามีส่วนร่วม โดยพยายาม convince ให้ผู้บริหารเข้าใจ และเห็นภาพเดียวกันกับเรา ทำการบ้านหนักมากพาผู้บริหารไปดูงานที่ประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ พาไปให้เห็นว่ามทส. สามารถทำแบบเค้าได้เช่นกัน เมื่อเห็นภาพเดียวกันแล้ว จึงช่วยกันผลักดัน SEDA ให้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้เข้าถึงทุกคน ได้เงินสนับสนุนจากกระทรวงวิทย์ฯ มาในจังหวะที่เราอยากทำและรัฐอยากให้ทำพอดี
จากประสบการณ์ที่สะสมมา ทำให้ SEDA สามารถเร่งสปีดการทำงานกลายเป็น movement สร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นในองค์กรอย่างมากมาย มีการพัฒนาปรับหลักสูตรทั้งมหาวิทยาลัยโดยมี SEDA เสริมหลักสูตรให้กับทุกๆ หลักสูตร เป็นหน่วยงานกลางที่ทุกคนอ้างอิงได้
ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่
- การทำความเข้าใจ Stakeholder ทุกฝ่าย มีการดึง Key stakeholders เข้ามา เกิดจากทั้ง topdown และ bottom up ไปพร้อมๆ กัน
- ใฝ่ที่จะมองหาโอกาส ใช้โอกาสของ policy ชาติที่ลงมา รอจังหวะเวลาที่เหมาะสม
- สร้าง network
- วิธีคิดสำคัญมาก ไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหา ปัญหาเป็นโอกาสของการแก้ไข
- ทำแล้วได้ประโยชน์จริงๆ โดยเฉพาะนักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลง

SoC : ทำอย่างไร หากอาจารย์ท่านอื่นๆอยากทำแบบ SEDA ในมหาวิทยาลัยตัวเองได้บ้าง ?
อาจารย์ปอบอกว่า “จุดที่สำคัญคือต้องอินก่อน เมื่ออินแล้วเราจะมองเห็นจังหวะและโอกาสที่เข้ามา เริ่มต้นเราทำเล็กๆ ได้ จะทำใหญ่ทำเล็กขึ้นกับช่วงจังหวะเวลา เมื่อไหร่ทำใหญ่ได้ ก็ทำ” โอกาสตอนนี้ พรบ.การศึกษาชาติ เขียนไว้ชัดว่า จะต้องพัฒนาการเป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยการสร้างจิตสำนึกผู้ประกอบการ แถมมี indicator ด้านการวิจัยและ SE มาช่วยสนับสนุนอีกด้วย
เทคนิคในการ Convince ผู้บริหารจากอาจารย์ปอ
- เราต้องอยากรู้ว่าเค้าจะได้อะไร อยากได้อะไร แล้ว match สิ่งที่เราอยากทำ กับ expectation และ KPI ของผู้บริหาร (เหมือนว่าเวลาทำธุรกิจทั่วไป ที่ต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าอยากได้อะไร identify stakeholder ก่อน)
- พาไปดูงาน อันนี้เวิร์กสุดแต่ต้องเลือก เราต้องรู้ก่อนว่า strategy เราต้องเดินยังไง ไปต้องได้อะไร รู้จักแต่ละที่ที่ไปค่อนข้างดี มีเป้าว่าจะไปทำไม จะบอกผู้บริหาร ว่าอะไร สร้างแรงจูงใจให้เค้าเห็นได้ วิเคราะห์ที่ที่เราจะไปก่อนว่า มีอะไรที่เชื่อมโยงกับบริบทของเราได้ ถ้าเราไปอะไรที่ที่ profile ดีมากๆ พร้อมมากๆ ก็อาจจะต่างจากบริบทที่เราเริ่มต้นทำ
- ตอนเริ่มแรกทำเล็กๆ ก็จริงแต่มี strategy แต่ยังไม่บอกใคร เพราะเราอาจถูกต้าน ค่อยๆ ทำความเข้าใจคนแต่ละคน พยายามสื่อสารในวิธีของเค้าก่อน ต้องสื่อสารในมิติที่เค้าเข้าใจ involve ผู้บริหารเยอะมาก เพราะผู้สนับสนุนของเราคือ คือ ผู้บริหาร บุคลากร และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
บทเรียนสำคัญๆ จากประสบการณ์การทำงาน
- หากทุกคนมีใจพร้อม จากนั้นต้องมีความรู้ หาความรู้ให้เร็ว มองเห็นจิ๊กซอว์ส่วนต่างๆ ให้ได้
- หาเพื่อน งานเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องมีเพื่อน เดินคนเดียวยาก
- งานที่ทำตอนแรกๆ นั้น ไม่ว่าจะ UBI , Sci park หรืองาน IP เป็นช่วงที่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ต้องใช้เวลาไปค้นคว้า ศึกษาเรียนรู้ว่าควรทำอะไร ทำให้ใช้เวลาน้อยในการหาเพื่อน หาพรรคพวก convince คนให้เข้าใจ บทบาทเหมือนการสร้างโดยที่ยังไม่รู้ว่าต้องเป็นอะไร connect คนข้างในได้น้อย จึงมีปัญหาเยอะ พอตอนทำ SEDA ใช้เวลาน้อยลงในการเรียนรู้ ใช้เวลามากขึ้นในการ connect สิ่งที่ต้องเรียนรู้ไม่ต้องเดินทางไปไกลแล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่ทำตอนนี้ คือไม่ต้องไปค้นหาแล้วว่าทำอย่างไร สามารถใช้เวลาในการหาพรรคพวกและ connection ได้มากขึ้น
- ต้องหา supporter ข้างบน ถ้าไม่มีจะลำบาก การสร้างการเปลี่ยนแปลง initiate จากข้างล่างได้ แต่ถ้าจะเปลี่ยนในระดับโครงสร้างต้องหาคนสนับสนุนสูงจากเราขึ้นไปอีก เพราะมีทั้ง politic และอื่นๆ
- ให้แน่ใจว่าเราสร้างคุณค่าให้คนข้างในด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่สำเร็จ ไม่มีใครซัพพอร์ทเรา ค่อยๆ หา ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ถาม ค่อยๆ ปรับ
- หาทรัพยากร หน้าที่ของนักเปลี่ยนแปลงต้องหาทรัพยากรเก่ง ทั้งเงินและคน หลายๆ อย่าง ต้องเป็นนักหาทรัพยากร การสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้หมายความว่าเราพร้อมเรามีทุกอย่างในมือถึงลุกขึ้นมาทำ บางทีมีแค่ Passion ไอเดีย หาให้เก่ง รู้ว่าจะต้องใช้อะไรตรงไหน หลายคนจะถามว่า เอาเงินมาจากไหน!! ถ้าเรารู้ว่ามีคุณค่าตรงไหน หาเงินจริงๆ ไม่ได้ยากมากนะ
- เจอมาทุกรูปแบบ ท้อ ไม๊ ท้อ แต่รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำ มีประโยชน์ เมื่อไหร่ที่เราเลือก big step แล้วมันใหญ่ไป เราก็กลับมาที่ small step ถึงแม้เราจะ aim big แต่ก็หนีไม้พ้น start small อย่าเพิ่งแก้ปัญหาโลกโดยไม่ได้เริ่มจากทำอะไรเล็กๆ
ขอบคุณอาจารย์ปอ ที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ กับชาว CMIN ในครั้งนี้ค่ะ หากใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ SEDA และหากมหาวิทยาลัยสนใจเรื่อง changemaker education หรือ อยากตั้ง social incubator ในหน่วยงานของตนเอง school of changemakers ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ