knowledge

What is changemaker mindset?

28 กุมภาพันธ์ 2019


, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,
หลายๆ ครั้งเวลาที่เราพยายามจะเริ่มต้นแก้ไขปัญหาสังคมมักพบว่าคนที่มีความตั้งใจดีจำนวนไม่น้อยติดกับดัก คือ 
  • คิดว่าปัญหาสามารถแก้ได้จากนโยบายการทำงานภาครัฐจะแก้ได้ดีที่สุด ถ้ารัฐแก้ดีกว่าคนธรรมดาอย่างเราๆ ลุกขึ้นไปทำแน่นอน ใครสักคนที่มีอำนาจน่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ดีกว่าเราแก้
  • ปัญหานั้นยากและซับซ้อนต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่เราเป็นคนไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์เท่าไหร่ คงช่วยได้เท่าที่ทำได้
  • ปัญหานี้แก้ได้แน่นอน หากเราสามารถ ‘ปรับทัศนคติ และสร้างการตระหนักรู้’ ให้คนที่เกี่ยวข้องได้ 
ซึ่งมีส่วนถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมด หากเราพิจารณาโมเดลภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือ Systems Thinking ช่วยให้เราทำความเข้าใจปัญหา จะพบว่าปัญหาที่เรามองเห็นทั่วไปนั้น คือ ระดับสถานการณ์ หรือ Situation (ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมาพ้นน้ำ) จากนั้นหากเราพยายามศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม เราจะเริ่มเจอรูปแบบของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ (Pattern) หากวิเคราะห์ไปจนถึงโครงสร้างของปัญหา (Structure) ว่ามีอะไรบ้างที่ส่งผล มีอิทธิพลต่อรูปแบบหรือ Pattern ของปัญหานั้นๆ บ้าง สุดท้ายแล้วส่วนที่อยู่ลึกที่สุด คือสมมติฐานเกี่ยวกับ วัฒนธรรม ความเชื่อ คุณค่า ทัศนคติ ของคน ที่ทำให้ ระบบ หรือปัญหานี้ ยังคงอยู่ (Mental Model & Culture)  การแก้ปัญหาโดยพุ่งตรงไปที่ระดับล่างสุดของปัญหา อาจจะเหมือนแก้ได้ก็จริง แต่ใช้เวลา และต้องทำอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย การเริ่มต้นแก้ไขปัญหา โดยพยายามปรับเปลี่ยนความคิดคนส่วนมาก หรือเปลี่ยนโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

 

จากการสังเกตของทีมงาน School of Changemakers พบว่า ผู้ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงมักมีวิธีคิด มักมีวิธีคิด ความเชื่อและยึดหลักการดังนี้ 
1. เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ สิ่งเดียวที่เราเปลี่ยนได้คือตัวเอง 
นักเปลี่ยนแปลง ไม่คิดว่าใครควรต้องทําอะไร แต่คิดในสิ่งที่เริ่มทําได้ ด้วยความเข้าใจในปัญหา ความมุ่งมั่นตั้งใจ ทําจริงของเรา (การเปลี่ยนตัวเอง) จะทําให้คนอื่นๆ อยากเข้ามามีส่วนร่วม หรือ เป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นอยากทําบ้าง 

 

2. การเปลี่ยนแปลงอาศัยการสร้างสรรค์ 
การสร้างสรรค์คือการดึงตัวเองออกมา (UNLEASH) เราทุกคนไม่มีใครเหมือนกัน การสร้างสรรค์ไม่ได้จํากัดสําหรับเป็นศิลปิน แต่หากเราทุกคนดึง ความเป็นตัวเองออกมาได้ จะคิดการแก้ปัญหาในแบบของเรา (สิ่งที่เราทําได้ ผสมกับความสามารถของทีม และโอกาสที่เห็นรอบตัว) ออก เราจะสามารถคิดทําลาย (DISRUPT) แบบแผนพฤติกรรมเดิมๆ (PATTERN) ที่เป็นปัญหาได้ 

 

3. การนําเสนอไอเดียใหม่ๆ ผ่านสินค้า บริการ หรือกิจกรรม ทั้งนี้ เพื่อคนที่ประสบปัญหาหรืออยากสนับสนุนการแก้ปัญหาได้เข้ามา มีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ใช่เราไปแก้ปัญหาให้คนอื่น หากมองจากมุมนี้ การแก้ปัญหาคือการหาและเพิ่มจํานวนสมาชิก ในรูปแบบต่างๆและกลยุทธ์การทํางานคือกลยุทธ์การสร้างความมีส่วนร่วม 

 

4. การเปลี่ยนแปลงอาศัยเวลา
ไม่ใช่โลกนี้ขาดไอเดียดีๆ (GOOD IDEAS) แต่เราขาดความ สร้างสรรค์ ความมุ่งมั่น และยืนระยะเพื่อเสนอและปรับแก้ไอเดียดีๆ ลงตัว เพื่อให้คนยอมรับ (CREATIVE CHANGE) เพราะธรรมชาติ คนทุกคนมักเลือกสิ่งที่ตัวเองรู้จัก ปฏิเสธความไม่ความแน่นอน และทุกปัญหามักมีอุปสรรค และแรงต้านจากวิธีคิดโครงสร้างเดิม หรือผู้เสียประโยชน์ที่ต้องการเวลาให้เราหาทางผ่านแต่ละด่าน ไปให้ได้ 

5. การเป็นนักเปลี่ยนแปลงต้องมีความเป็นนักบุกเบิก คิดแล้ว ให้โอกาสตัวเองลองทํา และต้องพร้อมเรียนรู้ พร้อมปรับตัว ตลอดเวลา 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง 


เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ