knowledge

Penguin Incubation Review March 2018-2019

9 เมษายน 2019


, , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,

Penguin Incubation โครงการบ่มเพาะนักเปลี่ยนแปลงสังคมของ School of Changemakers สนับสนุนคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 25-35 ปี ให้ริเริ่มและลงมือทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในช่วงเริ่มต้น (Passion to Prototype) เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ในใช้แก้ไขปัญหาสังคมได้จริง ใช้ระบบสนับสนุนและกระบวนการที่มีให้สร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น เวิร์กช็อปพัฒนาโครงการและศักยภาพ เครื่องมือและความรู้ โค้ชและที่ปรึกษา เงินทุนตั้งต้น และเครือข่ายนักเปลี่ยนแปลงสังคม 

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.schoolofchangemakers.com/penguinincubation (คลิ๊กดูข้อมูลตรง About)

Penguin Incubation มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้รวมทีม ศึกษาปัญหาสังคมที่สนใจ พัฒนาไอเดีย ออกแบบและลงมือทดสอบวิธีการแก้ไขปัญหา ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ มีมุมมองความคิด ทักษะพื้นฐาน และประสบการณ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม โดยระบบสนับสนุนดังต่อไปนี้

Knowledge & Tools ความรู้และเครื่องมือสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในช่วงเริ่มต้น ช่วยค้นหาจุดตั้งต้นในการเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลง สำรวจและวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ค้นหาโอกาสในการแก้ไข พัฒนาไอเดีย ขึ้นต้นแบบและทดลองทำจริง รวมถึงวิธีการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาประเมินผลกระทบทางสังคม

Capacity building ระหว่างการพัฒนาและลงมือทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม Penguin incubation ได้จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพให้เดือนละ 1 ครั้ง โดยเชิญผู้มีประสบการณ์ตรงในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมมาแชร์ผ่านวงพูดคุย โดยเลือกหัวข้อและเตรียมเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงตามลำดับ พร้อมจัดการความรู้ที่ได้ลงในเว็บไซต์เพื่อใช้ทบทวนได้ ดังนี้

โครงการ Penguin Incubation และทีมงาน School of Changemakers ขอขอบคุณแขกรับเชิญที่ให้เกียรติกับโครงการและผู้เข้าร่วมทุกคน เนื้อหาและความรู้จากประสบการณ์ตรงที่แชร์มานั้นเป็นประโยชน์ต่อการทำงานอย่างยิ่ง เนื่องจากได้ทั้งมุมมองความคิด วิธีการและกำลังใจในการขับเคลื่อนการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Community ระบบสนับสนุนหนึ่งของโครงการบ่มเพาะฯ จัดประชุมให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมทุกทีมได้มาพบกันเดือนละครั้ง เพื่อทบทวนการทำงานและแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม อีกทั้งยังช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สนับสนุนทางจิตใจ รวมถึงการทำโครงการ 

ประกบ Coach ให้ทุกทีม และจัดให้มีการนัด Coaching กันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน ครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อกันตลอดระยะเวลาของโครงการบ่มเพาะฯ

โครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในระยะเริ่มต้น มักจะมีความต้องการเฉพาะ (Specific needs) คล้ายกัน สอดคล้องไปตามกระบวนการบ่มเพาะฯ (Process) ทีมงานจึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ คอยให้คำปรึกษา โดยจัดให้ session ให้คำปรึกษาเดือน 1-2 หัวข้อ โดยเริ่มต้นจาก Seesion: ค้นหาและทบทวนจุดตั้งต้น (Starting point), พัฒนาโมเดลการแก้ไขปัญหาสังคม (Social model), ค้นหาจุดยืนและสร้างภาพลักษณ์ (Branding) และ พัฒนาโมเดลการสร้างรายได้ (Business model)

เนื้อหาบางส่วนจาก Session ให้คำปรึกษา 

ทีมงานขอขอบพระคุณ คุณบี๋ ปรารถนา จริยวิลาศกุล (Branding), คุณป๊อบ ภัทรวุฒิ เตชะเทวัญ และ คุณภัฏ ภัฏ เตชะเทวัญ (Business model) ผู้เชี่ยวชาญที่อาสาสละเวลาและให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์ยิ่งแก่นักสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมรุ่นใหม่

 

เงินทุนตั้งต้นสำหรับพัฒนาไอเดียและทดสอบวิธีการแก้ไขปัญหา รวมถึงสถานที่และอุปกรณ์

กระบวนการในการริเริ่มและลงมือทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมในระยะเริ่มต้น กระบวนการเหล่านี้ชวนคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการทำความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่ผ่านการประชุมครั้งแรก และเน้นย้ำกระบวนการในแต่ละครั้งผ่านการ Coaching แนะนำเครื่องมือที่เกี่ยงข้อง (Tools) ให้ได้ทดลองใช้

เหล่านักสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เข้าร่วมโครงการ Penguin Incubation 

โครงการ: Oasis 

แก้ปัญหา: ความรุนแรงในครอบครัว

สร้างเครือข่ายของคนรุ่นใหม่ เสริมความรู้และเครื่องมือเกี่ยวกับการสร้างความสันพันธ์อันดี (Healthy relationship) ผ่านการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง และเป็นเพื่อนที่ดีแก้คนใกล้ตัวที่มาปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ได้ ช่วยป้องกันความรุนแรงครอบครัวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังเป็นโอกาสที่ได้พบผู้กำลังประสบกับปัญหาความรุนแรง ให้คำปรึกษาเบื้องต้น และส่งต่อความช่วยเหลือยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

ผู้ก่อตั้ง: คุณพิศชามญช์ เจียมวิจิตรกุล (ลี่) และ คุณจุฑาธัช คูเกษมรัตน์ (ป๊อป)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Oasis    

 

โครงการ: O-Waste 

แก้ปัญหา: การจัดการขยะอินทรีย์

O-Waste เป็นเครื่องย่อยเศษอาหารจากครัวเรือนที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาขยะอินทรีย์ โดยตัวเครื่องได้รับการออกแบบไว้สำหรับใส่เศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนแยกจากขยะอื่น ๆ โดยใน O-Waste จะมีสารตั้งต้นที่สามารถย่อยเศษอาหารได้เร็วสุดภายใน 24 ชั่วโมง และช้าสุดคือภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อเศษอาหารในเครื่องกลายเป็นสารปรับปรุงดินแล้ว ทางผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะนำสารปรับปรุงดินที่แปรสภาพไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น ใช้ผสมปุ๋ยหมักหรือดินเพื่อปลูกต้นไม้, ใช้ในการถมที่ เป็นต้น หรือสามารถเลือกที่จะส่งต่อให้กับโครงการสวนออร์แกนิคที่เป็น Partner กับทาง O-Waste เพื่อใช้ในการปลูกพืชผักอินทรีย์ต่อไป 

ผู้ก่อตั้ง: คุณเกศทิพย์ หาญณรงค์ (เกศ)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Zero Waste YOLO 

โครงการ: Happy Hub 

แก้ปัญหา: คุณภาพชีวิตของคนชุมชนริมคลอง

Happy Hub มองเห็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ชาวชุมชนริมคลอง จึงดำเนินโครงการนำร่อง การฝึกอบรมผู้ประกอบการย่านบางมด (Bangmod Entrepreneurship Training Program) เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน และนำข้อมูลมาวางหลักสูตรการอบรมที่สนุก ได้ความรู้ นำไปปรับใช้ได้จริง และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยเน้นไปที่จุดแข็งของชุมชนคือ การล่องเรือชมธรรมชาติที่สวยงาม เส้นทางจักรยานเลียบคลอง สวนส้มบางมด อาหารฮาลาลรสเลิศราคาย่อมเยา สวนมะพร้าว รวมถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่า

การฝึกอบรมนี้เริ่มตั้งแต่สำรวจความถนัดและความสนใจของผู้ประกอบการ จัดทำแผนที่ชุมชนเพื่อสำรวจทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่แล้ว เชื่อมต่ออาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาเป็นพี่เลี้ยงฝึกอบรมและลงมือทำไปด้วยกัน ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เรียนรู้การวางแผนธุรกิจ ทำบัญชีและงบประมาณ ส่งเสริมช่องทางทางการตลาด รวมถึงการออมและการลงทุน เพื่อให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน อันจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในด้านอื่นๆด้วย

ทั้งนี้ ได้มีโครงการย่อยภายใต้ชื่อว่า “ตลาดมดตะนอย” ซึ่งเป็นตลาดเปิดบ้าน อาหารฮาลาล ล่องเรือริมคลอง เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 และตอนนี้กำลังขยายไลน์ธุรกิจใหม่ ในรูปแบบบริการส่งอาหาร (food delivery) ชื่อว่า “Halal to You”

ผู้ก่อตั้ง​: คุณพรทิพย์ ลิมปิชัยโสภณ (อิม) และ คุณน้ำทิพย์ พรโชคชัย (ฮั้ว)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Happy Hub      

 

โครงการ: Hear & Found 

แก้ปัญหา: ความแตกต่างและการยอมรับของคนชาติพันธุ์

Hear & Found ใช้ดนตรีชนเผ่า และดนตรีท้องถิ่น เป็นเครื่องมือสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง 

หลายชนเผ่า ถูกเข้าใจผิด จากคนทั่วๆ ไป เนื่องจากภาพข่าวหรือสื่อที่นำเสนอมาเป็นระยะเวลานาน มักจะเป็นภาพของความน่าสงสาร เป็นเหยื่อของสังคม ซึ่งทำให้คนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยไม่ได้รับการยอมรับในสังคม ถูกดูถูก สูญเสียความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง บ้างก็ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้ากับสังคม บ้างก็ต้องย้ายถิ่นฐาน หรือบางคนได้รับผลกระทบถึงชีวิต

Hear & Found จึงใช้ดนตรี บทเพลงพื้นถิ่น บทเพลงที่มีเรื่องราวจากคนชนเผ่ามาสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด และเพื่อให้เห็นคุณค่าของมนุษย์ และยังถือเป็นการสร้างโอกาส รายได้ และรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นต่อๆ ไป

ผู้ก่อตั้ง: คุณศิรษา บญุมา (เม) และ คุณปานสิตา ศศิรวุฒิ (รักษ์)

ข้อมูลเพิ่มเติม: Hear & Found 

 

โครงการ: ผักDone

แก้ไขปัญหา: การจัดการขยะอินทรีย์

เป็นโครงการที่เกิดจากความตั้งใจจะจัดการกับปัญหาขยะ ด้วยการลดขยะอินทรีย์ที่มีปริมาณมากกว่าครึ่งของขยะมูลฝอยทั้งหมด โดยนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการหมัก แปลงร่างขยะเหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ยและดินที่มีคุณภาพสำหรับเพาะปลูก ด้วยการเป็นตัวกลางให้ความรู้และเครื่องมือในการหมักขยะอาหาร ในขณะเดียวกันก็รับจัดการกับผลผลิตที่เหลือใช้จากการหมักขยะอาหารให้เป็นปุ๋ยแล้วให้แก่สมาชิก 

โดยการส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนจัดการขยะอินทรีย์ของตัวเอง ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจต่อขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ว่าสามารถจัดการได้อย่างง่ายๆ ในครัวเรือน โดย

  1. จัดทำสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ ส่งต่อข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับขยะ การจัดการ และสิ่งแวดล้อม 
  2. จัดกิจกรรมสาธิตการจัดการขยะอินทรีย์ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับสมาชิกของผัก Done ที่ร่วมจัดการขยะอินทรีย์โดยใช้กล่องหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร 
  3. พัฒนาเครื่องมือหมักปุ๋ยจากเศษอาหารที่เหมาะกับคนเมือง สามารถใช้งานได้ง่าย ได้ผลผลิตเป็นปุ๋ยจากขยะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสวนหรือแปลงปลูกพืชผักในบ้าน
  4. จัดตั้ง Waste Hub ในชุมชน หมู่บ้าน หรือองค์กร เพื่อรวบรวมและจัดการเปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ที่สามารถส่งต่อไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่กลาง พื้นที่สาธารณะ หรือจำหน่ายเป็นรายได้เสริม 
  5. ในอนาคตอาจมีการจัดทำแอพพลิเคชั่นที่เป็นระบบการรวบรวม จัดการ และส่งต่อ วัตถุดิบ (ขยะเศษอาหาร) ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ (ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร) เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดระบบการจัดการขยะอินทรีย์ที่ง่าย ใคร ๆ ก็มีส่วนร่วมได้

ผู้ก่อตั้ง: Manita Vivatsethachaim (Nita) และ Orasuang Bootaranark (Be)

ข้อมูลเพิ่มเติม: ผักDone

 

 

เป้าหมายอื่นๆ (ระบุ):
โครงการหรือกิจการเพื่อสังคม

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ