ใน Changemaker Toolkits Module 2 นั้น หลังจากที่เราทบทวน Theory of Change ที่ได้จาก Module 1 แล้ว คราวนี้เราจะมาลงลึกวิเคราะห์ดูว่า มีใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจการเพื่อสังคมเรา เพื่อนำไปออกแบบการทำงานของโครงการหรือกิจการของเราว่าเราควรจะทำงานร่วมกับใคร เกี่ยวข้องหน่วยงานไหน องค์กรใดบ้าง และแต่ละคนหรือกลุ่มมีความสำคัญกับโครงการหรือกิจการเราอย่างไร
เพราะปัญหาสังคมมีหลายมิติ แต่ละคน องค์กร หน่วยงาน ต่างมีความถนัดในแบบของตนเอง แน่นอนว่าเราไม่ใช่คนแรก และคนเดียวที่พยายามแก้ไขปัญหานี้ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ปัญหาเปลี่ยน อาจจะต้องการวิธีการใหม่ๆ เข้ามาแก้ไขก็จริง แต่เราสามารถเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ หรือทำงานเกี่ยวข้องกับปัญหามาก่อนเรา
การทำ Stakeholder Analysis เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างความเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การทำงานมักมาจากขั้นตอนนี้ เพราะยิ่งเรามองว่ากิจกรรมเราจะสร้างความมีส่วนร่วมกับใคร ได้มากเท่าไหร่ นั่นคือโครงการหรือกิจการของเราจะยิ่งสร้างผลกระทบได้ในวงกว้างได้มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ การสร้างความร่วมมือนี้ส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรม ระดมทรัพยากร การทำการตลาด การสื่อสารและประชาสัมพันธ์และแนวทางการขยายผลกระทบในระยะยาวอีกด้วย
การเตรียมตัว
- download แบบฟอร์ม
- กระดาษ post-it ขนาดเล็ก 2 X 1.5 นิ้ว
- อุปกรณ์เครื่องเขียน
- Download Worksheet Stakeholder Analysis ได้ที่นี่
Let’s do it
Step 1: Identify ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการ/กิจารที่เรากำลังจะทำ โดยอาจเป็นบุคคล กลุ่ม หรือองค์กรก็ได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถนำข้อมูลที่ทำไว้ใน Problem situation (Module 1) มาดูประกอบกันได้ แล้วระดมสมอง (brainstorm) เพิ่มเติมว่ามีใครเกี่ยวข้องอีกบ้างใน 4 กลุ่ม ได้แก่
- ผู้ที่ประสบปัญหา หรือได้รับความเดือดร้อนจากปัญหานี้คือใครบ้าง ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม (Target)
- มีใครบ้างที่กำลังแก้ปัญหาเดียวกันนี้อยู่ (Players)
- มีคนกลุ่มใดที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้อีกบ้าง (องค์กร หน่วยงาน ชุมชน หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจจะเกี่ยวข้องกับกฏหมาย นโยบาบ หรืออื่นๆ )
- มีใครบ้างที่ทำงานแก้ปัญหาสังคมในพื้นที่เดียวกัน หรือแก้ปัญหากับกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน
- ผู้ที่น่าจะสนใจสนับสนุนโครงการของเราคือใคร
โดยเขียนใส่ POST-IT ขนาด 2 X 1.5 นิ้ว เพื่อความสะดวกในการย้ายไปใส่ตารางและใช้ในการวิเคราะห์ในขั้นตอไป
ตัวอย่าง : โครงการ The guidelight ระบบสนับสนุนการเรียนให้นักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็น
ผู้ที่ประสบปัญหา หรือได้รับความเดือดร้อน คือ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่บกพร่องทางการมองเห็น (ตอนเริ่มต้นทำโครงการ)
หน่วยงานกำลังแก้ปัญหาเดียวกันนี้อยู่ (Players) คือ มหาวิทยาลัย (คณะนิติศาสตร์ และ ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ)
องค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ คือ มูลนิธินวัตกรรมชาวบ้านที่ทำเกี่ยวกับเรื่องจ้างงานคนพิการ , สกอ. มีข้อมูลเกี่ยวกับระบบและอาจารย์ , NECTEC พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
Step 2: Prioritize คือการลำดับความสำคัญของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่ากลุ่มใดมีความสำคัญที่สุด เพื่อนำไปวางแผนคิดกิจกรรมและวางกลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับคนกลุ่มเหล่านั้นต่อไป โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการเรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่
- Contribution กลุ่มที่จำเป็นและจะเป็นประโยชน์ต่องานที่เราทำ เช่น อาจเป็นกลุ่มที่มีข้อมูล มีทรัพยากรที่เราต้องการ หรือทำงานคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิด
- Legitimacy กลุ่มที่มีหน้าที่ หรือความรับผิดชอบกับปัญหานี้อยู่แล้ว โดยมากมักเป็นหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่ และมีงบประมาณสำหรับดูแลแก้ไขประเด็นปัญหานั้นๆ
- Willing to engage กลุ่มที่น่าจะได้รับประโยชน์จากงานของเรา จึงอยากมีส่วนร่วมกับเรา
- Influence กลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานของเรา ซึ่งอาจสนับสนุนหรือขัดขวางก็ได้ แต่การตัดสินใจของคนกลุ่มนี้จะส่งผลกระทบกับงานของเราอย่างแน่นอน
- Neccessity of involvement กลุ่มที่จำเป็นจะต้องมีส่วนร่วม เช่น อาจเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนให้กับเรา
ทั้งนี้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆ เมื่อเลือก และเรียงลำดับความสำคัญแล้ว ควรมีประมาณ 3-5 กลุ่ม เพื่อความเหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการความสัมพันธ์ และการสร้างการมีส่วนร่วมในลำดับต่อไป
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับ The Guidelight มากที่สุดแน่นอนว่าต้องเป็นกลุ่มนักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็น
รองลงมาเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยซึ่งทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว(Legitimacy) และยังเป็นทำงานคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิดมาก่อนอีกด้วย
ส่วน NECTEC ยินดีเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ หากจะต้องใช้งาน (Willing to engage)
Step 3: Analyze วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ความสนใจและบทบาทหน้าที่ของแต่ละผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราเห็นบทบาทหน้าที่ของตัวเราเอง ที่สัมพันธ์กับกลุ่มคน องค์กร หน่วยงานต่างๆ เข้าใจความสนใจ ความคาดหวัง และบทบาทระหว่างกัน เพื่อที่เราจะสามารถวาง positioning ของตัวเองในระบบนิเวศของปัญหาได้ชัดเจน
วิธีการคือ หลังจากตั้งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก เป็นแกนตั้งต้นได้แล้ว ในช่องต่อไป
- Relation วิเคราะห์ว่าคนกลุ่มนั้นๆ มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับโครงการของเรา (ตามเกณฑ์ใน Step 2)
- Interest ประเมินว่าคนกลุ่มนั้นๆ น่าจะมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเกิดขึ้นของโครงการเรา เช่น สนใจ เฉยๆ หรือไม่สนับสนุนเลย
- Role ประเมินบทบาทว่าเราอยากให้แต่ละกลุ่มมีบทบาท หรือมีส่วนร่วมกับโครงการเราอย่างไร เช่น เป็นจุดรับเรื่องและติดต่อ (Touchpoint) เข้ามาร่วมในโครงการเรา (Participate) เป็นที่ปรึกษาให้เรา (consult)
ตัวอย่าง
Step 4: Engage การสร้างความร่วมมือและการกลยุทธการทำงานร่วมกัน
ขั้นตอนนี้ พิจารณาว่าเราส่งมอบคุณค่าอะไรกับกลุ่มเป้าหมาย และจะได้ความร่วมมือจากกลุ่มคน หรือหน่วยงานต่างๆ เหล่านี้มาได้อย่างไรบ้าง รวมถึง กลยุทธในการทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจต่างๆ กิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้ และ แนวทางการสื่อสารระหว่างกัน
4.1 คิดถึงแรงจูงใจและประโยชนที่ผู้มีส่วนได้สวนเสียแต่ละกลุ่มจะได้จากการร่วมงานกับเราเช่น เงิน งาน ทักษะด้านต่างๆ ความร่วมมือ ขยายงาน เป็นต้น
4.2 กลยุทธ์ในการสร้างการมีส่วนร่วม กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แบ่งคร่าวๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. Partnership มีส่วนร่วมในลักษณะพันธมิตร ที่ทำงานร่วมกัน แบ่งปันทรัพยากรบางอย่าง เช่น ความรู้ กำลังคน หรืออื่นๆ
2. Participation เป็นผู้เข้าร่วม
3) Consultation เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำในด้านต่างๆ ได้
4) Communication ช่วยเป็นช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือเป็นกระบอกเสียงให้เรา

ตัวอย่าง Stakeholder Analysis ของ The Guidelight
สุดท้ายเมื่อเราวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการทำ Impact Value Chain หรือ ห่วงโซ่ผลลัพธ์