‘Idea Generation’ ตัวช่วยค้นหาความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ด้วยการตั้งโจทย์ปัญหาผ่านการตั้งคําถาม How might we และค้นหาไอเดียจากวิธีการสนุกๆ อย่าง Crazy 8’s!
- Idea Generation คือการค้นหาความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ เพื่อพัฒนาให้ตรงกับโจทย์ปัญหาสังคมที่เราสนใจ โดยทั่วไปสามารถทำได้หลายรูปแบบ
- การตั้งคำถาม How might we หรือ ‘เราจะทำอย่างไรให้ ….’ คือการตั้งคำถามเพื่อใช้เป็นโจทย์ตั้งต้นในการระดมไอเดีย ประกอบไปด้วยกลุ่มเป้าหมายและช่องว่างหรือโอกาสในการแก้ไขปัญหา
- การค้นหาไอเดียผ่าน Crazy 8’s คือหนึ่งในวิธีการระดมไอเดียจากกระบวนการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา Design Sprint ซึ่งถูกคิดค้นในองค์กร Google โดย Crazy’8 เป็นการดึงไอเดียด้วยเวลาที่จำกัดและเน้นที่ปริมาณไอเดีย
เรียนรู้วิธีการทำ Idea Generation ได้ที่วิดีโอนี้!
เรียนรู้วิธีการทำ Idea Generation ผ่านเนื้อหาเพิ่มเติม
1. เตรียมพร้อมก่อนลงมือทำ
– หาช่วงเวลาประมาณ เวลา 30 นาที แล้วจัดประชุมทีมเพื่อทำกิจกรรมนี้ร่วมกันโดยเฉพาะ
– ดาวน์โหลดและพิมพ์แบบฟอร์มได้ที่ Idea Generation Worksheet หรือ เตรียมกระดาษ A4 1 แผ่น ต่อสมาชิก 1 คน ตีเส้นแบ่งออกเป็น 8 ช่องตามตัวอย่าง Worksheet
– เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียน ปากกา ดินสอ สีไม้หรือปากกาเมจิกสี

2. เริ่มกันเลย!
ขั้นตอนที่ 1: How Might We
เขียนโจทย์ How might we หรือ เราจะทำอย่างไรให้ ……… ไว้ด้านบน (ตัวอักษรขนาดใหญ่) ผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเพื่อตกลงเลือกกลุ่มเป้าหมายและช่องว่างหรือโอกาสในการแก้ไขปัญหาที่ทีมสนใจนำไปค้นหาไอเดียในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2: Crazy 8’s
1. เขียนตัวเลข 1-8 ไว้ที่หัวมุมของแต่ละช่อง หากใช้กระดาษ A4 เปล่าให้ พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 ช่องและเขียนตัวเลขไว้เช่นกัน
2. คิดและวาดรูปไอเดียพร้อมคำกำกับเล็กน้อย ในช่อง 1-4 โดยช่อง 1-2 เป็นไอเดียที่มาจากความชอบหรือความถนัดของตนเอง และช่อง 3-4 เป็นไอเดียที่สนุก น่าตื่นเต้น น่าลงมือทำ จับเวลา 4 นาที สำหรับ 4 ไอเดีย
3. แต่ละคนแชร์ไอเดียของตนเองให้กับเพื่อนร่วมทีมทั้งหมดได้ฟัง
4. คิดและวาดรูปไอเดียพร้อมคำกำกับเล็กน้อย ในช่อง 5-8 โดยเป็นไอเดียใหม่ที่ปรับแต่งเพิ่มจากการรวมไอเดียของเราและเพื่อนในทีม จับเวลา 4 นาที สำหรับ 4 ไอเดีย หลังจากนั้นแชร์ไอเดียให้เพื่อนร่วมทีมเช่นเดิม
ขั้นตอนที่ 3: Vote & Pick up idea
โหวตและเลือกไอเดียเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยอาจใช้เงื่อนไขดังนี้
1. เป็นไอเดียที่สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสังคมได้จริง มีหลักฐานสามารถวัดผลได้ว่าปัญหาที่ถูกแก้ไขให้ดีขึ้นจริง ไปได้ถึงภาพความสำเร็จที่ตั้งไว้
2. เป็นไอเดียที่ทีมสามารถทำได้ มีแหล่งทรัพยากรหรือตัวช่วยในการทำจริงที่เข้าถึงได้
ตัวอย่าง Idea Generation
– How Might We
เราจะทำอย่างไรให้ วัยรุ่นสามารถตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร หลังรู้ว่าท้อง
– Crazy 8’s


หากคุณเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะกังวลกับสถานการณ์ หรืออยากหาอะไรทําสนุกๆ School of Changemakers และ สสส. อยากชวนคุณกับเพื่อนๆ ตั้งคําถามและลงมือทําเพื่อหาคําตอบ เพื่อการปรับตัวในยุคโควิด สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่ StartYoung.club