คุณภาพการศึกษา
รัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะปฎิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การทุ่มงบประมาณด้านการศึกษา 5.10 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2561 คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของงบประมาณทั้งหมด และ 4% ของ GDP ประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงเพิ่มชั่วโมงเรียนถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี มากกว่าเด็กฟินแลนด์ถึง 500 ชั่วโมง (แม้องค์กรยูเนสโกแนะนำชั่วโมงเรียนที่เหมาะสมอยู่ที่ 800 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น)1 อีกทั้งยังขึ้นเงินเดือนครู เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ และเพิ่มการคัดกรองครูอย่างเป็นระบบมากขึ้น
แต่จากผลการประเมินนักเรียนไทยในโครงการ PISA (โครงการการทดสอบความรู้นักเรียนอายุ 15 ปี จาก 70 ประเทศ) ในปี 25572 พบว่าเด็กไทยติดอันดับ 54 จาก 70 ประเทศ ทิ้งห่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม ซึ่งอยู่ลำดับ 8 โดยทำคะแนนความรู้ด้านคณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ในด้านการอ่าน มีเด็กไทยถึง 74% อ่านภาษาไทยไม่รู้เรื่อง ตั้งแต่การอ่านไม่ออก อ่านแล้วตีความไม่ได้ ไปจนถึงอ่านแล้ววิเคราะห์ความหมายไม่ถูก ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ มีนักเรียนไทยเพียง 1% เท่านั้นที่ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
ในด้านความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่จำเป็นในการสื่อสารในโลกยุคใหม่ จากการสุ่มทดสอบผู้ใหญ่จาก 80 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักทางระบบออนไลน์ ในปี 2017 ประเทศไทยได้คะแนนเฉลี่ยลำดับที่ 53 ซึ่งอยู่ในกลุ่มระดับทักษะต่ำ3
นอกจากความรู้ด้านวิชาการแล้ว ในปี 2556-2557 องค์กร World Economic Forum จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านความสามารถการคิดวิเคราะห์ และด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยนักเรียนไทยระดับประถมอยู่อันดับที่ 86 ระดับมัธยมอันดับ 101 ความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 704
นอกจากนี้ การจัดการศึกษายังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งระหว่างเมืองใหญ่และชนบทยังคงแตกต่างกันสูง โดยเฉพาะด้านการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เท่าเทียม และไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โรงเรียนเล็กๆ ในชนบทจะได้รับงบประมาณน้อยอยู่มาก จากผลการสอบ PISA เด็กที่เก่งที่สุดของไทยกับเด็กอ่อนที่สุดของไทยมีคะแนนห่างกันถึง 200 คะแนน เท่ากับห่างกันอยู่ 7 ปีการศึกษา (เด็กที่เก่งที่สุดมีความรู้เทียบเทียบเท่าม. 3 ส่วนเด็กที่อ่อนที่สุดเท่าเด็กป.2)5
เป้าหมายการศึกษา
‘ความเก่ง’ ของการศึกษาสากลมี 8 ด้าน ซึ่งความเป็นเลิศทางการศึกษาเป็นหนึ่งในนั้น แต่เป้าหมายการศึกษาไทยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ทำให้เด็กที่เก่งด้านอื่นๆ ไม่ได้รับการยอมรับ และไม่มีความสุขจากการเรียน อีกทั้ง การ ‘เก่ง’ ด้านวิชาการเพียงด้านเดียวทำให้ยากต่อการเชื่อมโยงกับโลกและสังคมที่มีความหลากหลาย จุดมุ่งหมายทางการศึกษากลายเป็นปริญญาบัตรมากกว่าการพัฒนาทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ทำให้เด็กจำนวนมากไม่รู้จักตัวเอง ก่อให้เกิดปัญหาการเลิกเรียน (drop out) และปัญหาการลาออกจากงานในภายหลัง จากสถิติพบว่าในปี 2545 มีคนที่เข้า ป.1 ประมาณ 1 ล้านคน ผ่านไป 10 ปี มีเพียง 600,000 ในปี 25556 โดยสาเหตุในการลาออกกลางคันได้แก่ การอพยพตามผู้ปกครอง ปัญหาการปรับตัว ปัญหาครอบครัว หาเลี้ยงครอบครัว และสมรสแล้ว ตามลำดับ7
ปัญหาเกี่ยวกับครู
คุณภาพของผู้เรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพของครูเป็นส่วนสำคัญ ในขณะที่ประเทศไทยขาดครูจำนวนถึง 40,000 คน เราผลิตครูมากถึงปีละประมาณ 12,000 คน แต่การบรรจุครูใหม่ในแต่ละปีก็มีเพียง 3-4 พันคนเท่านั้น8 เนื่องจากครูเป็นอาชีพที่เงินเดือนน้อย มีภาระงานนอกเหนือจากการสอนมาก โดยครูใช้เวลากับการเตรียมสอนและการอยู่ในชั้นเรียนน้อยลง เพราะต้องทำงานเอกสารและทำการประเมินผล ทำให้ในบางพื้นที่ครูหนึ่งคนต้องสอนมากกว่าหนึ่งชั้นเรียน และสอนไม่ตรงกับวุฒิ
บุคลากรมีอัตราการว่างงานสูง ในขณะที่บางสาขาอาชีพมีการขาดแคลนแรงงาน
ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม และทางด้านการแพทย์ ทั้งผู้ที่จบสายอาชีวะและสายอุดมศึกษา แต่ในจำนวนผู้ว่างงานกว่า 474,600 คนนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นกลุ่มที่ว่างงานมากที่สุด คิดเป็น 31.52% ของผู้ว่างงานทั้งหมด โดยสายที่ว่างงานที่สุด (77.67%) ของกลุ่มนี้เป็นผู้ที่จบจากสายการจัดการ ในขณะที่บางสาขาวิชาขาดแคลนบุคลากร อย่างสายอาชีวะนั้นต้องการผู้เข้าศึกษาสายสามัญต่อสายอาชีวะ ในสัดส่วน 50:50 หรือ 40:60 เพื่อให้จะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ในปี 2557 มนักเรียน ม.ปลาย ประเภทสามัญศึกษา:อาชีวศึกษา ในสัดส่วน 68 : 329
ประเด็นที่น่าสนใจ
ขอบคุณภาพจาก technic.supreme.co.th
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์
เป็นโรงเรียนการศึกษาทางเลือกที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง ด้วยจุดประสงค์ที่จะเป็นโรงเรียนตัวอย่างในพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภูมิภาคที่ยากจนที่สุดของประเทศ โรงเรียนจึงไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนและไม่มีการคัดเลือกเด็กเข้าศึกษาในโรงเรียน แต่จะใช้วิธีจับฉลาก เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม นวัตกรรมการจัดการศึกษาของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ประกอบด้วย
การศึกษาตามอัธยาศัยโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
ปัจจุบันภูมิปัญญาในท้องถิ่นถูกละเลยจากระบบการศึกษาหลัก เพราะมองว่าองค์ความรู้แบบนี้ไม่ใช่การเรียนรู้ แต่ในความเป็นจริง การเรียนรู้คือสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต และเด็กมีสิทธิเลือกสิ่งที่ตัวเองสนใจจะศึกษา โรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาจึงจัดการศึกษาโดยใช้ครูปัญญา รวบรวมครูภูมิปัญญาในหลากหลายสาขา เช่น พ่อครู แม่ครู ปราชญ์ท้องถิ่น ที่สอนการทำโคม ตัดตุง ทอผ้า เป็นต้น มาสอนให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นคนเลือกตามความถนัด เน้นการลงมือทำและการใช้ภูมิปัญญาเพื่อเลี้ยงตนเอง และเพื่อเป็นครูภูมิปัญญารุ่นต่อไป ไม่ใช่ป้อนสู่ตลาดแรงงาน การสอนแบบนี้ทำให้เกิดการบันทึกภูมิปัญญาเป็นเอกสาร เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าไม่ให้เลือนหายไปอีกด้วย
โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก
เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นด้วยแนวความคิดว่า “อนุบาล” ไม่ใช่ “โรงเรียน” เหมือนกับการศึกษาในระดับอนุบาล (early childhood) ตามหลักสูตรทั่วไปที่เน้นการศึกษาที่เตรียมเด็กเพื่อเข้าเรียนประถมหรือทักษะทางวิชาการ มากเกินกว่าที่จะเป็นการศึกษาในช่วงแรกเริ่มของชีวิตที่ควรจะอบอุ่นและเปิดกว้างให้เด็กได้เติบโตอย่างเสรี โรงเรียนอนุบาลบ้านรักได้นำการแนวคิดแบบ Neo-Humanism ที่เชื่อในการสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์มาเป็นการศึกษาในช่วงอนุบาลที่มุ่งเน้นให้เด็กเติบโตขึ้นท่ามกลางความรัก มีอิสระ โดยจัดการศึกษาเหมือนสถาบันครอบครัว เป็นบ้าน มีครูเป็นพ่อแม่ เด็ก อ. 1-3 เรียนรวมกัน ไม่มีการแบ่งชั้น โดยทำหน้าที่เป็นพี่คนโต พี่คนกลาง และน้องคนเล็ก เด็กจะเกิดการเรียนรู้หน้าที่จากการเห็นบทบาทที่หลากหลายของคนที่โตกว่าและเด็กกว่า รวมไปถึงเห็นบทบาทของครูที่เปรียบเหมือนพ่อหรือแม่ในการเป็นผู้นำของบ้าน
Learn Education
เป็นกิจการเพื่อสังคมที่มีจุดประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพการศึกษาผ่านเทคโนโลยี ซึ่งถูกนำมาผสมผสานกับเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาและทบทวนความรู้ได้ง่าย และเพื่อให้ครูมีเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอน โดยองค์ประกอบหลักของ Learn Education ได้แก่
a-chieve
a-chieve เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมองเห็นปัญหาเรื่องการศึกษาต่อของนักเรียนเมื่อจบมัธยม ซึ่งมีเด็ก ม.6 จำนวนมากที่สามารถเลือกเรียนไปตามกระแสหลักของตลาดแรงงานมากกว่าความสนใจของตนเอง เพราะไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบหรืออยากเรียนอะไรจริงๆ เนื่องจากระบบการศึกษาไม่มีการสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ได้ให้ข้อมูลเพียงพอ และไม่สร้างให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ
a-chieve มีความเชื่อว่าหากเด็กมัธยมได้พบกับสิ่งที่ตนเองรัก จะสามารถสร้างคุณค่าให้ตนเอง เรียนอย่างมีความสุข ได้ทำงานที่ตัวเองรัก และแบ่งปันคืนสู่สังคมได้ จึงสร้างแรงบันดาลใจด้วยการใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ด้วยตนเอง และรับประสบการณ์ตรงผ่านการทำ workshop และ job shadow เพื่อได้ทดลองฝึกงาน พูดคุย และติดตามพี่ๆ ในสายอาชีพนั้นๆ ว่าโลกความจริงในการทำงาน ใช่แบบที่เราสนใจและอยากทำในอนาคตหรือไม่
Link ที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจ
อ้างอิง