news

ทุนวิจัย WHO Kobe Centre เพื่อการประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับสังคมผู้สูงอายุ ประเทศ​ ASEAN

25 สิงหาคม 2017


, , , , ,
, , , , , , , , , , ,
Screen Shot 2017-08-25 at 9

ต่อเนื่องมากจากการประชุม ASEAN-Japan Ministerial ในหัวข้อการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) และประชากรสูงอายุ (Population Ageing) World Health Organization (WHO) Centre for Health Development (WHO Kobe Centre) ศูนย์พัฒนาสุขภาพองค์การอนามัยโลก จังหวัดโกเบ ประเทศญี่ปุ่น จึงเปิดรับหนังสือแสดงเจตจำนง หรือ (Letters-of-Intent) จากนักวิจัยประเทศ ASEAN เพื่อขอทุนวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) หรือการวิจัยเชิงสังเคราะห์ (implementation research) ที่แก้ไขปัญหาในการทำให้การประกันสุขภาพถ้วนหน้ามั่นคงและยั่งยืนในสังคมผู้สูงอายุ ในประเทศอาเซียน

คุณสมบัติผู้ขอทุน

  • ทำการวิจัยที่เป็นเชิงบรรยาย (descriptive research) หรือ การวิจัยเชิงสังเคราะห์ (implementation research)
  • มุ่งแก้ไขปัญหาการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในสังคมสูงอายุ ในประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดเนเชีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
  • งานวิจัยจะต้องแก้ไขอย่างน้อย 1 ปัญหา ตามประเด็นต่อไปนี้
    • หัวข้องานวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
      • การจัดตั้งระบบการให้บริการด้านสุขภาพให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการร่วมมือกันระหว่างภาคสุขภาพและสังคม
      • การจัดหาเงินทุนเพื่อการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และจัดทำโมเดลการจัดหาเงินทุนแบบเปิดสำหรับการให้บริการด้านสุขภาพเพื่อสังคมผู้สูงอายุ ที่หลากหลายมากขึ้น 
      • การวางแผนด้วยสถานการณ์ (Scenario planning) โดยเฉพาะการระบุความแตกต่างระหว่างนโยบายตัวเลือกต่างๆ ที่สามารถสร้างผลกระทบด้านสุขภาพในอนาคต
      • ขนาดและขอบข่ายของการให้บริการด้านสุขภาพให้ถึงกลุ่มผู้สูงอายุของภาคเอกชน และหน่วยงานภาคสังคม
      • การใช้จ่ายด้านสุขภาพของกลุ่มอายุ (Age-specific health spending) เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และระบบการกระจายการใช้จ่ายในระบบการให้บริการด้านสุขภาพ เพื่อหาวิธีที่มีประสิทธิภาพ
      • การศึกษารายประเทศ (Country-focused studies) เช่น การวัดผลการให้บริการ ประเด็นสำคัญ และปัญหาด้านการให้บิรการด้านสุขภาพที่กำลังเติบโตขึ้นและซับซ้อน ในแต่ละประเทศ เพื่อมองหาแนวทางในการทำระบบการให้บริการสุขภาพแห่งอนาคต
      • ประโยชน์ต่อการให้บริการของนวัตกรรม ไม่ว่าจะมาเป็นนวัตกรรมสังคม มาจากโครงการ หรือเป็นด้านเทคโนโลยี
    • หัวข้องานวิจัยเชิงสังเคราะห์ (implementation research)
      • การวัดผลกระทบของการเข้าถึงและคุณภาพนวัตกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (human resource innovations) โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดการ (deployment) และการยืดอายุผู้สูงอายุ (Retention) และความสมดลในการปรับเปลี่ยนการทำงาน “task shifting” ระหว่างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผู้เชี่ยวชาญทั่วไป และผู้ให้บริการด้านสุขภาพในเครือข่าย
      • การวัดผลกระทบของการวางกลยุทธ์การผนวกการดูแลสุขภาพให้เข้ากับคุณภาพชีวิตในทางปฎิบัติ
      • การวัดผลการป้องกันทางการเงิน และประสิทธิภาพในการลดการซื้อบริการเป็นครั้งๆ (out-of-pocket payment) สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ
      • การวัดผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ขยายการเข้าถึงระบบการให้บริการด้านสุขภาพ ส่งเสริมอำนาจและการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัวและชุมชน และการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพระบบการให้บริการด้านสุขภาพ

กำหนดการ
หมดเขตรับสมัคร 15 กันยายน 2560

ทุนสนับสนุน

  • ประเภทของทุน Category A: 
    • งานวิจัย 5 งานจะได้รับเงินทุนสนับสนุนระยะ 1 ปี สูงถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,920,000 บาท ต่องานวิจัย
    • นักวิจัยหลัก (Principal investigator) ต้องปักหลักอยู่ในประเทศอาเซียน และสามารถทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยอื่นได้ (co-investigators)
  • ประเภทของทุน Category B:
    • นักวิจัยหลัก (Principal investigator) ต้องปักหลักอยู่ในประเทศอาเซียนโดยมีนักวิจัยร่วม (Co-investigator) จากภาคคันไซ ประเทศญี่ปุ่น
    • งานวิจัย 5 งานจะได้รับเงินทุนสนับสนุนระยะ 1 ปี สูงถึง 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,660,000 บาท ต่องานวิจัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ Call for Letters-of-Intent (LOI) 


เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ