ที่มาโครงการ
พวกเราเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ ที่มีความสนใจในการทำงานเพื่อสังคม
พวกเราได้เริ่มรวมตัวกันผ่านการทำงานและเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมจิตอาสาของคณะ ซึ่งก็มีงานหลากหลายแตกต่างกันไป ทั้งค่ายสร้างและค่ายพัฒนาศักยภาพ(empowerment)
ซึ่งในส่วนของค่าย empowerment ที่เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2560 เป็นค่ายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค่ายได้เปิดมุมมองเกี่ยวกับการทำงานงานอาสาที่มีอยู่อย่างหลากหลายมากกว่าการทำค่ายสร้าง-ค่ายอาสาเพียงอย่างเดียว และนั่นเองก็ทำให้พวกเราได้เปิดมุมมองไปพร้อมกับลูกค่ายๆด้วย
เราได้รู้จักกับ Social enterprise และตัวอย่างงานเพื่อสังคมในรูปแบบที่เราไม่เคยรู้จักจากวิทยากรที่เราเชิญมาหลายๆท่าน ตลอดจนได้เห็นถึง passion แรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้น อุปสรรค และแนวทางการทำงานในเชิงอาสาที่เกิดขึ้นในสังคม
หลังจากจบค่ายเราจึงยังเก็บความสนใจและแรงบันดาลใจเหล่านั้นไว้ และเมื่อมีโอกาสเราก็คงจะลงมือทำมันอีกครั้งหนึ่ง
จึงเป็นโปรเจคท์ "Toothzle" ในตอนนี้
"Toothzle" มาจากคำว่า Tooth ที่แปลว่าฟัน ผสมกับคำว่า Puzzle ที่เป็นเกมปริศนา,การต่อจิกซอว์
เพื่อต้องการจะสื่อถึงการเชื่อมต่ออะไรซักอย่างในระบบสุขภาพช่องปาก(ทันตกรรม)
โปรเจคท์นี้เกิดขึ้นจากพวกเรามองเห็นปัญหาที่ใกล้ตัว คือ "การให้บริการในคลินิกนักศึกษา" ซึ่งจะให้บริการโดยนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีคลินิก ที่มีช่องว่างของเวลาที่ทำให้นักศึกษาทันตแพทย์ไม่ได้ให้บริการทางทันตกรรม(Supply ทำงานได้ไม่เต็มศักยภาพ) ประกอบกับปัญหาที่คนทั่วไปที่ต้องการทำฟัน ไม่ได้รับบริการทางทันตกรรมหรือได้รับบริการที่ล่าช้า (Demand ที่สูง) เราจึงคิดว่าควรจะช่องทาง(channel)อะไรซักอย่างที่ทำให้คนทั้งสองได้มาเจอกัน
แนวคิดโครงการ
Problem Topic
Target
เป้าหมายของโครงการ
นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปีการศึกษา 2561 เข้าถึงการบริการทางทันตกรรมเพิ่มขึ้นด้วยระบบนี้อย่างน้อย 1000 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2561 ถึง พฤษภาคม 2562
เว็บไซต์
ปัญหา
จากผลสำรวจสภาวะช่องปาก(2554) พบว่าคนไทยประมาณ 80% มีโรคในช่องปาก และมีน้อยกว่า 20% ที่เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (2557) ที่เข้ารับบริการทางทันตกรรมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติมีเพียง 11% ของนักศึกษาทั้งหมด
ซึ่งคาดว่าเกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. เวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้เข้ารับบริการและผู้ให้บริการ
2. ขาดการรับรู้ข้อมูลด้านสิทธิในการรักษา
3. ผู้เข้ารับบริการไม่สามารถประเมินอาการและความรุนแรง เบื้องต้นได้
ในขณะเดียวกันคลินิกทันตกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังมีศักยภาพในการให้บริการทางทันตกรรมได้เพิ่มขึ้นประมาณ 100 visits หรือประมาณ 25 คนต่อสัปดาห์ หากนักศึกษาทันตแพทย์ทุกคนสามารถให้บริการทางทันตกรรมได้เต็มเวลา
วิธีการแก้ไข
ผลกระทบทางสังคม
แผนความยั่งยืน