การเข้าถึงการศึกษา
The Guidelight’s Insight Journey
เส้นทางการทำงานของ The Guidelight ที่มีจุดตั้งต้นจากความตั้งใจจะช่วยนักศึกษาที่บกพร่องทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัยให้เรียน…
Total Solution for Educational Achievement for the Blind เราเป็นตัวช่วยเพื่อให้นักศึกษาตาบอดเรียนจบในระดับอุดมศึกษา
โดยยื่นมือเข้าไปช่วยใน 4 เรื่องด้วยกัน
the guidelight เชื่อว่าถ้ามีตัวช่วยที่เหมาะสม นักศึกษาตาบอดจะสามารถเรียนจบในระดับชั้นอุดมศึกษาและมีโอกาสทำงานที่มีเกียรติได้รับการยอมรับจากสังคม
การมีเพื่อนเป็นคนตาบอดหลายคนทำให้เราพบเห็นอุปสรรคต่างๆที่ทำให้การเรียนสำหรับคนตาบอด ยุ่งยากกว่าเราหลายเท่า ในฐานะเพื่อนเราก็ช่วยเท่าที่เราจะช่วยได้ช่วยอ่านหนังสือบ้าง จับกลุ่มติวบ้าง จนเพื่อนตาบอดรอบตัวเราเรียนจบครบทุกคน สิ่งที่เราทำมันเป็นเรื่องเล็กๆไม่ได้ลำบากแต่มันมีส่วน ช่วยเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ พี่คนหนึ่งในกลุ่มเรียนจบห้าปีเพราะปีแรกไม่มีคนอ่านหนังสือให้ พอมี คนอ่านหนังสือให้ตอนนี้คนนี้พี่เรียนจบและกำลังเรียนต่อปริญญาโทพร้อมกับได้ทำงานที่ได้รับการยอมรับ เราจึงอยากทำโครงการที่ช่วยคนตาบอดคนอื่นๆ
ในปี 2558 มีนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็นจำนวน 1324 คนทั่วประเทศ (ข้อมูลจากคณะ กรรมการสภาอุดมศึกษา) แต่มีนักศึกษาตาบอดที่เรียนจบระดับอุดมศึกษาไม่ถึง 10%
การเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาตาบอดมีความท้าทายและใช้เวลามาก ตั้งแต่การเข้าเรียน นักศึกษาตาบอดต้องใช้เวลาในการเดินไปยังห้องเรียนประมาณ 2 สัปดาห์ทำให้ต้องขาดเรียนในช่วงแรกๆ อีกทั้ง อาจารย์มักจะไม่ทราบว่ามีนักศึกษาตาบอดอยู่ในห้องเรียน โดยเฉพาะในห้องเรียนใหญ่ๆ ทำให้นักศึกษาตาบอดไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เป็นสื่อวีดีโอ เพราะพวกเขาจะได้ยินแต่เสียงและคิดภาพในหัวตามไม่ได้ หรือบางวิชาอาจารย์สั่งให้สอบย่อยในห้องแต่พวกเขาเขียนไม่ได้ ในด้านการสอบ เด็กตาบอดต้องใช้เวลานานในการหาทางอ่านหนังสือเตรียมสอบ จนหลายต่อหลายครั้งได้เอกสารก่อนสอบแค่อาทิตย์เดียวทำให้อ่านไม่ทันและสอบตก
ประเด็นที่น่าสนใจ
สร้าง plaform studying buddy เพื่อช่วยนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น ในด้านการเรียนซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายของโครงการเป็นนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็นมหาลัย ธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมสงเคราะห์ตั้งแต่ชั้นปี 1-4 จำนวน 30 คน โดยจะแบ่ง การสนับสนุนเป็น 2 ด้านได้แก่
ด้านกายภาพ : ด้านหนังสือ จัดทำหนังสือเสียงและหนังสือไฟล์เวิร์ดเพื่อให้นักศึกษาบกพร่อง ทางการมองเห็นสามารถอ่านได้ ซึ่งหนังสือที่มีความจำเป็นได้แก่ ตัวอย่างข้อสอบเก่า ชีทสรุปของเพื่อน หนังสือเรียนประจำวิชา ชีทของอาจารย์ผู้สอน และไฟล์เสียงบันทึก การสอน
ด้านห้องเรียน พูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อออกแบบวิธีการการสอน สื่อการ สอนและบรรยากาศในห้องเรียนให้เป็นมิตรต่อนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น ช่วยเหลือ
ด้านจิตใจ : เพื่อน จับคู่บัดดี้นักศึกษาปกติกับนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น โดยจับคู่คณะ เดียวกันและชั้นปีเดียวกัน
สร้างแรงบันดาลใจ เชิญรุ่นพี่บกพร่องทางการมองเห็นมาพูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสริมสร้างกำลังใจ
อำนวยความสะดวกด้านการเรียนในระดับอุดมศึกษาส่งผลให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็น ผ่านบททดสอบและสำเร็จการศึกษามากขึ้น โดยนักศึกษากลุ่มนี้จะเป็นต้นแบบให้นักเรียน-นักศึกษา บกพร่องทางการมองเห็นรุ่นต่อไปได้เดินตาม การที่มีต้นแบบที่ดีจะช่วยทำให้นักศึกษาบกพร่อง ทางการมองเห็นรุ่นเชื่อมั่นในศักยภาพของต้นเองและมีแรงบันดาลใจในการเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ จะเป็นแรงผลักดันด้านบวกให้นักเรียนบกพร่องทางการมองเห็นชั้นมัธยมปลายก้าวเข้าสู่ระบบ อุดมศึกษามากขึ้นและเมื่อสังคมไทยมีตัวอย่างผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่จบปริญญาตรี ทำงานที่มีเกียรติและ ได้รับการยอมรับ สามารถดูแลตัวเองได้ ผู้บกพร่องทางการมองเห็นจะได้รับการยอมรับในสังคมมาก ขึ้น
หากโครงการต้นแบบที่ร่วมกับศูนย์นักศึกษาพิการมหาลัยธรรมศาสตร์ประสบความ สำเร็จจะขยายผลไปยังศูนย์นักศึกษาพิการอื่น เช่น ศูนย์นักศึกษาพิการรามคำแหง ศูนย์นักศึกษา พิการสวนดุสิต
ระยะเวลา 6 เดือน (1 เทอมการศึกษา)นักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 30 คน มีอัตราการสอบผ่านมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาในปีก่อน
ระยะเวลา 4 ปี จำนวนนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็นสำเร็จการศึกษามากขึ้น
Or fill the form below