โครงการปลุกพลัง นักพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล จังหวัดนครราชสีมา
Youth Council Korat Inspire
แนวคิดโครงการ
โครงการออกแบบและทดลองสร้างต้นแบบการสนับสนุนพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลผ่านกระบวนการถอดโมเดลการทำงาน ของเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็งส่งต่อเครื่องมือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักดันในการขับเคลื่อนและพัฒนางานสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลไปสู่เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงที่อยากเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน โดยสนับสนุนให้นำเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของพื้นที่ตนเอง
เป้าหมายของโครงการ
สืบเนื่องจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล จัดตั้งและดำเนินการสภาเด็ก และเยาวชนระดับตำบลขึ้น โดยบ้านพักเด็กและครอบครัว แต่ละจังหวัดมอบอำนาจให้นายกองค์การบริหารตำบล มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลสภาเด็กและเยาวชน เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่วางแผน เตรียมความพร้อม จัดประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และขับเคลื่อนการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตำบล/เทศบาล จังหวัดนครราชสีมา มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล/เทศบาล จำนวน 333 แห่ง การดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชนนั้น พบว่า มีความท้าทาย เนื่องด้วยพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ปี 2560 ให้จัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล เทศบาล เกิดขึ้นกระทันหัน เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงมีเวลาการปรับตัวไม่มากนักอีกทั้งยังขาดประสบการณ์และแรงผลักดันการทำงานด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน ขาดระบบสนับสนุนให้กับพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่น ส่งผลให้มีตำบลและเทศบาลที่สามารถขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชนได้เข้มแข็งเพียง 2% ได้แก่พื้นที่ ตำบลดอน ตำบลหินดาด ตำบลพุดซา ตำบลสารพี และตำบลหนองบัวสะอาด เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงที่เข้มแข็ง เห็นความสำคัญ เสียสละเวลาและทุนทรัพย์ มีประสบการณ์และแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงานได้อย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 60 % มีสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลมีศักยภาพดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 200 แห่งนั้น พบว่าเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงยังขาดแรงบันดาลใจและแรงพลักดันในการทำงาน เนื่องจาก เจ้าหน้าที่อาจมองว่างานสภาเด็กและเยาวชนไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ยังมองไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงว่าเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นสาเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาและขับเคลื่อนงานสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไปได้ช้า
School of Changemakers ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นเพื่อทดลองสร้างต้นแบบระบบสนับสนุนพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล/เทศบาล ผ่านการพัฒนาเครื่องมือในการสร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักดัน จากการถอดโมเดลการทำงานของพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนที่เข้มแข็ง ผ่านการจัดกิจกรรม อาทิเช่น การจัดประชุมเครือข่ายพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล/เทศบาลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จัดคณะลงพื้นที่ดูงานด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนและอบรมเชิงปฎิบัติการ สนับสนุนให้พี่เลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้และเครื่องมือไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานสภาเด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อทดลองสร้างต้นแบบระบบสนับสนุนพี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล
- เพื่อสนับสนุนเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชน จำนวน 15 ตำบล นำเครื่องมือทดลองปรับใช้ในการทำงาน
- เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงที่อยากเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานจำนวน 15 ตำบล
กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลที่เข้มแข็ง มีประสบการณ์ทำงานและมีผลงานเป็นที่ยอมรับ จำนวน 5 ตำบล
- เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล ที่มีความสนใจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงาน จำนวน 15 ตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ลำดับ |
กิจกรรม |
ระยะเวลา |
1 |
ประสานงานกับต้นแบบเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเด็กระดับตำบล ร่วมหาประเด็นเนื้อหา เพื่อเตรียมข้อมูลในการถอดโมเดล |
สิงหาคม-กันยายน |
2 |
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงาน YCK Inspire “ปลุกพลัง นักพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล จังหวัดนครราชสีมา |
1- 30 กันยายน 2562 |
3 |
ประชุมกลุ่มเพื่อทำความรู้จักกันและเตรียมความพร้อม (เฉพาะวิทยากร) |
10 ตุลาคม 2562 |
4 |
กิจกรรม YCK Inspire “ปลุกพลัง นักพัฒนาสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล” |
11 ตุลาคม 2562 |
5 |
ประชุมเครือข่ายและแลกเปลี่ยนการใช้เครื่องมือ |
8 พฤศจิกายน 2562 |
6 |
กิจกรรมแลกปลี่ยนประสบการณ์และการประเมินผล |
6 ธันวาคม 2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา