ที่มาโครงการ
ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลชุดปัจจุบันได้ให้ความสําคัญกับการรองรับสังคมสูงวัยที่ประเทศไทยกําลังเผชิญ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวม โดยออกนโยบายและมาตรการรองรับที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 12 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะการผลักดันประเด็นสังคมสูงวัยให้เป็นระเบียบวาระแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ / โดยหนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่ดําเนินการขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม คือ ธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุ
แนวคิดโครงการ
- สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ โครงการธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดตั้งโครงการในพื้นที่
- พัฒนากลไกการหนุนเสริมในการจัดตั้งหรือดําเนินกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อดูแลผู้สูงอายุตามแนวคิดธนาคารเวลาภายในพื้นที่เป้าหมาย
- พัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งด้านความพร้อม กรอบแนวคิด และสร้างความเป็นเจ้าของโครงการธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งการสนับสนุนที่ต้องการ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม
- หนุนเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การดําเนินงานขับเคลื่อนธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สามารถจัดตั้งหรือขับเคลื่อนการดําเนินงานธนาคารเวลาอย่างเป็นรูปธรรม
- พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดตั้งธนาคารเวลารองรับสังคมสูงวัยภายใต้ข้อค้นพบที่ได้จากพื้นที่ดําเนินการ
เป้าหมายของโครงการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในภาพรวม
ปัญหา
นโยบายภาครัฐมักจะไปไม่ถึงประชากรกลุ่มผู้สูงวัยในมิติต่างๆ
วิธีการแก้ไข
- สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ โครงการธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการจัดตั้งโครงการในพื้นที่
- พัฒนากลไกการหนุนเสริมในการจัดตั้งหรือดําเนินกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อดูแลผู้สูงอายุตามแนวคิดธนาคารเวลาภายในพื้นที่เป้าหมาย
- พัฒนาศักยภาพคนในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งด้านความพร้อม กรอบแนวคิด และสร้างความเป็นเจ้าของโครงการธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุ รวมทั้งการสนับสนุนที่ต้องการ เพื่อให้เกิดการดําเนินงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม
- หนุนเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การดําเนินงานขับเคลื่อนธนาคารเวลาเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อให้สามารถจัดตั้งหรือขับเคลื่อนการดําเนินงานธนาคารเวลาอย่างเป็นรูปธรรม
- พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดตั้งธนาคารเวลารองรับสังคมสูงวัยภายใต้ข้อค้นพบที่ได้จากพื้นที่ดําเนินการ
ผลกระทบทางสังคม
- ธนาคารเวลาเพื่อนวัยสุข มีแกนนำในการจัดตั้งจำนวน 3 คน จากจำนวนสมาชิก 26 คน มีจำนวนเวลาสะสม 442.5 ชั่วโมง เวลาแลกเปลี่ยน 454 ชั่วโมง (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563) / เกิดจากกลุ่มผู้สูงวัยที่มาใช้บริการหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ พี่ๆ ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันมาก่อน จนเกิดความคุ้นเคยในระดับหนึ่ง เมื่อได้มาร่วมกันจัดตั้ง เป็นสมาชิกธนาคารเวลาเดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกันและติดต่อสื่อสารกันบ่อยขึ้น ก็ยิ่งคุ้นเคยกันมากขึ้น มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันมากขึ้น แต่ทั้ง 2 ประการนี้อาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้การดำเนินงานในระยะหลัง แม้จะเกิดการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือ แต่สมาชิกกลับละเลยการบันทึกเวลา และยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย อาทิ ความรู้สึกไม่สะดวกในขั้นตอนการแจ้งขอรับบริการ หลงลืมการแจ้งบันทึกเวลาด้วยข้อจำกัดของอายุ
- สมาชิกธนาคารเวลาปันสุข มีแกนนำในการจัดตั้ง 7 คน จากจำนวนสมาชิก 139 คน มีจำนวนเวลาสะสม 4,768 ชั่วโมง เวลาแลกเปลี่ยน 259 ชั่วโมง (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2563) / เป็นกลุ่มจิตอาสาที่สนใจแนวคิดธนาคารเวลา สมาชิกมาจากหลายพื้นที่ มีวัยต่างกันตั้งแต่ 30 – 65 ปีและไม่รู้จักกันมาก่อน หลังจากตั้งคณะกรรมการแล้วเสร็จ มีความพยายามใช้ระบบบริหารที่รัดกุม ทำงานเป็นขั้นตอน ออกข้อตกลงที่ชัดเจน สาเหตุหนึ่งมาจากคณะกรรมการบางท่าน ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง มีความกังวลเรื่องการรับผิดชอบความปลอดภัย ทั้งในระหว่างการให้บริการและการเก็บรักษาข้อมูลสมาชิก ทางด้านอุปสรรคการทำงาน คณะกรรมการส่วนใหญ่มีภาระดูแลครอบครัว และบางส่วนยังทำงานประจำ และจากการที่คณะกรรมการได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับธนาคารเวลาอื่นๆ ทำให้คณะกรรมการผลักดันที่จะดำเนินงานในรูปแบบออนไลน์เพื่อให้สอดรับกับบริบทสังคมเมือง ซึ่งได้รับการตอบรับจากสมาชิกเป็นอย่างดี ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ
- ธนาคารเวลาไทรงาม ๓๙ มีแกนนำในการจัดตั้ง 1 คน จากจำนวนคณะกรรมการดำเนินงาน 15 คน / เกิดจากแกนนำที่เข้ามาเรียนรู้เรื่องธนาคารเวลาจากกลุ่มปันสุข จนเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของธนาคารเวลา ทางโครงการฯ จึงได้ชักชวนให้แกนนำจัดตั้งธนาคารเวลาในพื้นที่ของตนเอง โดยทางโครงการฯ จะเป็นพี่เลี้ยงให้จนกว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน ซึ่งแกนนำได้นำเอาแนวคิดธนาคารเวลาไปนำเสนอชมรมผู้สูงอายุไทรงาม ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ๓๙ และได้รับความสนใจ จึงเกิดความร่วมมือจัดตั้งธนาคารเวลา โดยมีผู้สูงอายุในชมรม และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ร่วมเป็นคณะกรรมการธนาคารเวลา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนากลไกการดำเนินงาน
- ธนาคารเวลาท่าอิฐ มีแกนนำในการจัดตั้ง 1 คน จากจำนวนคณะกรรมการ 5 คน / เกิดจากแกนนำที่สนใจจะสมัครสมาชิกธนาคารเวลา ติดต่อขอข้อมูลจากโครงการฯ ซึ่งจากการพูดคุยและตอบข้อซักถาม โครงการฯ ได้เห็นถึงความมุ่งมั่น ความตระหนักในคุณค่า และความเข้าใจกรอบแนวคิดของธนาคารเวลา แต่เนื่องจากยังไม่มีการจัดตั้งธนาคารเวลาในพื้นที่ที่ดังกล่าว ทางโครงการฯ จึงได้ชักชวนให้แกนนำจัดตั้งธนาคารเวลาในพื้นที่ของตนเอง และจะเป็นพี่เลี้ยงให้จนกว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน โดยแกนนำได้ชักชวนเพื่อนอีก 4 คนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน จนสามารถจัดตั้งเป็นธนาคารเวลาท่าอิฐ กำหนดข้อตกลงการเป็นสมาชิก มุ่งเน้นช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกที่เป็นผู้สูงอายุเกือบทั้งหมด ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนากลไกการดำเนินงาน
- ธนาคารเวลาคนรักชินเขต มีแกนนำในการจัดตั้ง 2 คน จากจำนวนคณะทำงาน 10 คน / เกิดจากแกนนำซึ่งเป็นประธานชุมชน มีความสนใจโครงการธนาคารเวลา ทางโครงการฯ จึงขอเข้าไปทำความเข้าใจ และชี้แจงเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงาน ซึ่งจากการพูดคุย ประธานชุมชนมีแนวคิดที่จะใช้ธนาคารเวลาเป็นเครื่องมือให้เกิดความช่วยเหลือกันในชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาหรือความเดือดร้อน ให้คนในชุมชนได้อยู่อย่างปลอดภัยและมีความสุขมากขึ้น โครงการฯ เห็นว่าเป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกัน จึงร่วมกับประธานชุมชนนำเสนอแนวคิดธนาคารเวลาให้กับคณะกรรมการชุมชน จนได้รับความเห็นชอบ จึงเกิดการจัดตั้งธนาคารเวลาคนรักชินเขต โดยมีคณะกรรมการชุมชนเข้าร่วมเป็นคณะทำงานธนาคารเวลา ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนากลไกการดำเนินงาน
แผนความยั่งยืน
ระยะต้น
ภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบและสร้างกลไกแวดล้อมหนุนเสริมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการในด้านต่างๆ ดังนี้
- ธนาคารกลางที่ดำเนินงานโดยภาครัฐ ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย และควบคุมให้ธนาคารเวลาทุกแห่งมีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งในเรื่องการสะสมเครดิต, รับรองเครดิต, รับประกันเครดิตในกรณีที่ธนาคารเวลาปิดให้บริการ สมาชิกสามารถนำเครดิตคะแนนไปขอรับความช่วยเหลือจากระบบอื่นได้
- ให้ความคุ้มครองผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการประกันภัย และความช่วยเหลือด้านกฎหมายในกรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด
- จัดทำระบบการบันทึกเวลาที่ง่ายต่อการใช้งาน และเข้าถึงทุกกลุ่ม อาทิ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่อาจไม่สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนได้
- จัดให้มีศูนย์ให้ข้อมูล ความรู้ และสิ่งสนับสนุนสำหรับอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งธนาคารเวลา
- ขอความร่วมมือจากชุมชนให้ร่วมดำเนินงานธนาคารเวลา
ระยะกลาง
- จัดให้มีศูนย์บริการให้คำปรึกษาในระหว่างดำเนินการ
- เชื่อมโยงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานกับระบบพื้นฐานอื่นของรัฐที่มีอยู่แล้ว เช่น โรงเรียนผู้สูงอายุ
- ขอให้สถาบันการศึกษาร่วมส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนเข้ามาร่วมดำเนินงานธนาคารเวลาผ่านกิจกรรมจิตอาสา
ระยะยาว
- สร้างแรงจูงใจในทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน ดังนี้
1.1 ภาคประชาชน : อาจใช้การเพิ่มสิทธิหรือผลตอบแทนให้กับผู้ที่ใช้งานธนาคารเวลา
1.2 ภาคเอกชน ให้สิทธิพิเศษทางภาษี หรือเป็นข้อกำหนดเชิงนโยบาย อาทิ กรณีให้องค์กรมหาชนทำ CSR
- กำหนดนโยบายลงสู่พื้นที่ เพื่อให้เขตร่วมดำเนินงานธนาคารเวลา อาทิ กรณี 1 เขต 1 แหล่งท่องเที่ยว
- มีแผนรองรับการนำข้อมูลจากระบบการบันทึกเวลา ไปวิเคราะห์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการพัฒนาการเข้าถึงบริการสาธารณสุข หรือดูแลผู้สูงอายุในอนาคต
Project Owner
พื้นที่โปรเจกต์ : กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี
เว็บไซต์ : https://www.facebook.com/TimeBankThailand/
Project Owner
