โปรเจค ”Happy dorm Happy Learning Happy society” เกิดขึ้นจากการรวมตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาหอพัก วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ชวนกันเรียน Insight tanks แล้วส่วนใหญ่พบเห็นตรงกันว่า นักศึกษามีปัญหาสุขภาพจิต โดยเกิดจากกการถูกกลั่นแกล้ง (Bully) จึงมีแนวความคิดที่ต้องการลดปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษา ลดการกลั่นแกล้งในสถานศึกษา

จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการ ”Penguin Incubation 2020” เพื่อต้องการพัฒนาไอเดียและลดปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้นักศึกษามีความสุขกับการอยู่อาศัยร่วมกัน มีความสุขกับการเรียนรู้ และเป็นแหล่งอาศัย (หอพัก) ที่มีความสุข อย่างยั่งยืน และสามารถนำไปขยายผลไปยังโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่มีลักษณะรูปแบบโรงเรียนประจำได้

ที่มาโครงการ

– ในปีการศึกษา 2561 และ 2562 ที่ผ่านมา วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ได้พบว่า นศ. มีปัญหาสุขภาพจิต ทั้งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เข้ารับการรักษา จำนวน 8 ราย เข้ารับบริการให้คำปรึกษา จำนวน 26 ราย บางรายพบว่ามีภาวะอยากฆ่าตัวตาย จำนวน 3 ราย

– ส่วนใหญ่ของนักศึกษาร้อยละ 80 พบว่าปัญหาสุขภาพจิตเกิดจาก การถูก bully โดยสามารถแบ่งการถูก bully ออกเป็นด้านต่างๆ ได้ดังนี้ 1) ด้านการกระทำทางร่างกาย 2) ด้านการใช้คำพูด วาจา 3) ด้านการเข้าสังคม 4) ด้านการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์

– เมื่อ นศ. อาศัยรวมกันในหอพัก ซึ่งมีข้อกำหนดให้อยู่รวมกัน 2-4 คน/ห้อง นศ. แต่ละคนมีภาวะทางจิตใจไม่เหมือนกันอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกัน โดยเป็นการใช้คำพูดหรือการโพสต์ทางสื่อออนไลน์ (Cyber bully) หลังจากนั้นเมื่อใช้ชีวิตร่วมกันไปสักพักทั้งในส่วนของห้องพักหรือห้องเรียน จะมีการชักชวนกันเป็นกลุ่มกีดกัน ข่มขู่ ไม่ให้ทำงานกลุ่มด้วย ซึ่งผู้ถูกกระทำอาจจะทนได้ในช่วงแรกๆ และไม่แจ้งครู/อาจารย์ที่ปรึกษา จนกระทั่งถึงที่สุดอาจตอบโต้ด้วยการใช้กำลังและทำร้ายร่างกายกันในที่สุด

แนวคิดโครงการ

สถานศึกษาที่มีความเข้าอกเข้าใจกัน เป็นสังคมไร้การ bully ในทุกรูปแบบ มีสุขภาพจิตที่ดี มีบรรยากาศที่เหมาะสมกับการเรียนรู้

เป้าหมายของโครงการ

ในระยะเวลา 1 ภาคเรียน (ช่วงเดือน มิ.ย. – ส.ค.)

  1. นร./นศ. มากกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ bully, กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง, ผลกระทบฯ
  2. นร./นศ. กล้าที่จะขอรับบริการการให้คำปรึกษามากขึ้น
  3. นร./นศ. มีความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้/ได้รับบริการ โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนหรือการรับบริการการให้คำปรึกษา
  4. นร./นศ. มีความพึงพอใจในกิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา Bully และสุขภาพจิตของ นร./นศ.
  5. จำนวน นร./นศ. มากกว่าร้อยละ 90 ที่เข้าร่วมกิจกรรมในทุกๆกิจกรรมฯ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา Bully และสุขภาพจิตของ นร./นศ.
  6. มีสถานที่สำหรับการให้บริการการให้คำปรึกษาที่มีมาตรฐาน อย่างน้อย 1 ห้อง
  7. สามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างอาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้บริหารสถานศึกษา สถานพยาบาล เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีประสิทธิภาพ
  8. สามารถขยายผลไปสู่สถานศึกษาอื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน อย่างน้อย 5 แห่ง จาก 36 แห่ง

ปัญหา

ปัญหาสุขภาพจิตของ นศ. ที่อาศัยในหอพักนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา จากการสัมภาษณ์และข้อมูลที่ได้จากการบริการให้คำปรึกษา พบว่า ปัญหาสุขภาพจิตส่วนหนึ่งเกิดจากการถูก bully โดยมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง คือ

  1. ผู้ถูกกระทำ โดยทั่วไปเมื่อถูก bully มักจะเก็บตัว และไม่ค่อยกล้าเปิดเผยข้อมูล
  2. ผู้กะทำ มักมีทัศนคติที่ว่า การ bully เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดอะไร
  3. ครู/อาจารย์ โดยการใช้คำพูดหรือวิธีการจัดการในชั้นเรียนที่ไม่เหมาะสม โดยไม่ทันระวัง
  4. บรรยากาศ/กิจกรรม ที่มีพื้นที่ให้ นศ. ได้แสดงออกน้อยหรือทำให้ นศ. รู้สึกโดดเดี่ยว

วิธีการแก้ไข

ถ้านักศึกษาได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว นักศึกษาจะมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักรู้เกี่ยวกับการ bully มากขึ้น

หอพักจะน่าอยู่ หมู่เฮาบ่าบูลลี่กั๋น

กิจกรรม ”หอพักจะน่าอยู่ หมู่เฮาบ่าบูลลี่กั๋น” เป็นกิจกรรมที่มีชื่อออกเสียงตามแบบฉบับพื้นถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย  ถ้า…

14 สิงหาคม 2020

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ