The Parenting Garden เลี้ยงลูกแบบปลูกต้นไม้
โครงการ The Parenting Garden โดยกลุ่มกอด จัดกิจกรรมออนไลน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี…

การเลี้ยงเด็กก็เหมือนการปลูกต้นไม้จาก “เมล็ดพันธุ์น้อย”
บางที ดินแห้งไป เหนียวไป เค็ม เปรี้ยวเกินไป เมล็ดก็ไม่งอก
เมื่อรดน้ำมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี ความพอดีและเหมาะสมกับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดต่างหากที่จะช่วยให้
เมื่อเติบโตเป็น “ต้นไม้น้อย” ใส่ปุ๋ยมากไป สร้างที่กำบังให้ โดนแดดน้อย…ก็ไม่โต
หรือถ้าไม่มีที่กำบัง โดนฝน พายุพัด…ก็ตายก่อน
และแม้ว่า คุณจะทำอะไรต่างๆ ให้ “ต้นไม้น้อย” มากมาย
สุดท้าย “หน้าที่ “การเติบโต” เป็นของ “ต้นไม้น้อย” เอง
คุณทำได้แค่เฝ้าดู ชื่นชม การเติบโตของต้นไม้เท่านั้น
เราอยากชวนให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองมาร่วมเดินทางไปด้วยกัน
เริ่มต้นจากต้องเข้าใจ “สภาพดินของตนเอง” จะได้ปลูกต้นไม้อย่างมีความสุข ไม่เครียด ไม่กดดัน
จากนั้นมาศึกษาเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของต้นไม้น้อยพันธุ์นั้นๆ เพราะต้นกุหลาบก็ไม่สามารถปลูกแบบต้นทุเรียนได้
สุดท้าย มาปรุง “ดินของตนเอง” และฝึกดูแล “ต้นไม้น้อย” ให้พร้อมเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีรากแข็งแรงพร้อมเผชิญโลกกว้างต่อไปด้วยรอยยิ้ม
จุดเริ่มต้น คือ “เรา” ศึกษาประเด็นเรื่อง “วัยรุ่นกับภาวะซึมเศร้า” และมีโอกาสสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นและวัยทำงานจำนวนหนึ่ง
เราได้พบข้อมูลชุดหนึ่งที่ทั้งสร้างความประหลาดใจและความรู้สึกร่วม คือ ทุกคนๆ ที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะมีจุดเชื่อมโยง “ความสัมพันธ์ของครอบครัว” และ “วัยเด็ก”
เราคิดว่า “ทำไมต้องรอให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นวัยรุ่นที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าแล้วก็ต้องไปพบจิตแพทย์/นักจิตวิทยา”
เราจึงริเริ่มมองหา แนวทางเชิงป้องกันเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กคนหนึ่งได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจ ให้เขามีใครสักคนเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เขาได้พูดคุยตั้งแต่วัยเด็ก
พ่อแม่หรือผู้ปกครองคือ กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น
หากเด็กมีพ่อแม่เป็นพื้นที่ปลอดภัยและพ่อแม่มีทักษะการสนับสนุนให้เด็ฏฝึกแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองเรื่อยๆ ก็จะเป็นทั้งเกราะป้องกันและแผนสำรองในชีวิตของเขาเสมอ
เปรียบดัง
พ่อแม่หรือผู้ปกครองพัฒนาทักษะหรือปรุงดินของตนเองให้สนับสนุนการเติบโตของลูกหรือ “ต้นไม้น้อย” ให้ต้นไม้เติบโต หยั่งรากอย่างแข็งแรง แม้จะเจอพายุ เจอน้ำท่วมก็ยังยืนหยัดได้
จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นที่มีปัญหาซึมเศร้า พบว่า
หนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหาซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่น เริ่มต้นมาจากความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่ในวัยเด็ก
เมื่อสืบค้นไปยังกลุ่มคนใกล้ตัวเด็ก พบว่า
และเมื่อมองบริบทเมืองหรือ urbanization พบว่า
จากประเด็นปัญหาทั้งหมด เราจึงสนใจการทำงานเชิงป้องกันในกลุ่มเมืองใหญ่ต่างจังหวัดที่มีข้อจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ จ. นครราชสีมา
การสร้างความร่วมมือกับพ่อแม่เป็นกลไกสำคัญในการสร้างให้เด็กมีความพร้อมในรูปแบบต่างๆ เริ่มต้นจาก
1.การทำความเข้าใจ ให้ความรู้และฝึกฝนทักษะให้พ่อแม่
2.การสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นพลังกลุ่มให้พ่อแม่คนอื่นๆ เข้าร่วม
3.การมีส่วนร่วมการจัดกระบวนการเรียนรู้กับโรงเรียน
4.โรงเรียน/องค์กร/ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ริเริ่ม
เด็กได้อะไร
✔มีความสุขและมั่นใจตนเองที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างจากความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
✔เด็กมีพื้นที่ปลอดภัย ให้ระบายความกังวลความเครียด และพร้อมที่จะเข้าใจ
✔เด็กได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเต็มประสิทธิภาพตนเองโดยไม่ถูกกดดันจากครอบครัว
พ่อแม่ได้อะไร
✔เข้าใจตัวตนลูกและตนเอง ทำให้ผ่อนคลาย ไม่คาดหวัง ไม่กดดันลูก ตนเองและโรงเรียน
✔ตระหนักในบทบาทของพ่อแม่ผู้ยอมรับ ปรับเปลี่ยนตนเองและพร้อมที่จะเรียนรู้ร่วมไปกับลูก
✔มีความรู้พื้นฐานเรื่องพัฒนาการเด็ก ได้เทคนิควิธีการเลี้ยงดูลูกและนำไปปรับใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก เพื่อที่จะได้บ่มเพาะชีวิตลูกให้เติบโตอย่างมีความสุข
ครูได้อะไร
✔ภาระของครูลดลง เพราะมีพ่อแม่มาร่วมสร้างการเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน นักเรียนมีคุณภาพและพ่อแม่มีความสุขจากการร่วมมือกันของครูและผู้ปกครอง
✔ครูไม่ต้องรับมือกับทุกเรื่องของเด็ก
✔ครูชวนพ่อแม่คุยเรื่องปัญหาของลูกได้ง่ายขึ้น
✔ครูพัฒนาตนเองตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาของพ่อแม่
ธุรกิจโรงเรียนได้อะไร
✔ผู้นำต้นแบบในสถาบันการศึกษาที่ทำงานเป็นองค์รวมในกลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวกับของตัวเด็ก
✔ข้อได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ
✔สร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ
✔ผลสัมฤทธิ์ของโรงเรียนที่แตกต่างกับโรงเรียนอื่นๆ
✔ความเชื่อมั่นในโรงเรียนจากสายสัมพันธ์ที่มั่นคงกับผู้ปกครอง
สังคมได้อะไร
✔ได้บุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคต
✔ลดภาระของรัฐในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต รวมถึงการจัดการปัญหาความข้ดแย้ง/ ความรุนแรงในสังคม
สร้างต้นแบบโครงการนำร่องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาจากนั้นขยายผลโรงเรียนเอกชน
Or fill the form below