ที่มาโครงการ

– เด็กเบื่อหน่ายไม่อยากเรียนเพราะวิชาที่เรียนไม่ได้ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง ไม่ตอบโจทย์การเอาชีวิตในสังคม

– เด็กมีอาชีพหลังจบการศึกษารองรับอยู่แล้ว เป็นแรงงานที่บ้าน ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้

– เด็กส่วนใหญ่ 53% ของโรงเรียนเป็นเด็กยากจน โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อคน 1,906 บาท/เดือน

– มีสถาบันฯ เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ทางด้านอาชีพ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ที่ชัดเจน มีความพร้อมทั้งหลักสูตร วิทยากร และแหล่งเรียนรู้

– มีเครือข่ายผู้อำนวยการโรงเรียน และครูรุ่นใหม่ที่สนใจที่จะพัฒนาการเรียนรู้ในโรงเรียน

แนวคิดโครงการ

– ต้องการให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการศึกษาจนจบและอยู่รอดได้ในสังคมด้วยอาชีพที่มีอยู่ในชุมชน

– ต้องการเกิดโมเดลความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีความหมายกับผู้เรียน ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการศึกษาทั้งการจบการศึกษาและการอยู่รอดได้ในสังคม

เป้าหมายของโครงการ

– ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตนเองในด้านการประกอบอาชีพ และการเอาตัวรอดในสังคม โดยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในชุมชน

– ผู้เรียนเห็นความสำคัญของอาชีพในชุมชน

– ผู้เรียนมีความสามารถในการประกอบอาชีพในชุมชน

– ผู้เรียนได้ทดลองประกอบอาชีพในชุมชน

– ผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการนำองค์ความรู้ของชุมชน รูปธรรมความสำเร็จของชุมชน และแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมายกับผู้เรียน

– โรงเรียน มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านรายวิชา กิจกรรม แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ สื่อการสอน ผู้สอน และเทคนิควิธีการสอน (ถ่างลู่การไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาให้กว้างมากยิ่งขึ้น)

ปัญหา

– เด็กมีฐานะยากจน จึงไม่สามารถศึกษาต่อให้จบได้ และเด็กไม่รู้ตัวว่าครอบครัวยากจนเพราะพ่อแม่ไม่เคยบอกว่าตนเองลำบากอย่างไร

– เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนในระบบ เพราะการศึกษาในระบบไม่ตอบโจทย์ความต้องการ เป้าหมายการประกอบอาชีพ

– เมื่อเด็กจบการศึกษาแล้วไม่สามารถเอาตัวรอดในตลาดแรงงานได้ เมื่อกลับมาทำงานที่บ้านก็ไม่มีทักษะเพียงพอเหมือนพ่อแม่

– ผู้ปกครองมีความเชื่อว่าทำงานอย่างอื่นจะได้รับผลตอบแทนและความมั่นคงมากกว่างานที่บ้าน

– โรงเรียนไม่มีเครือข่ายทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้การเรียนการสอนอยู่แต่ในห้องเรียน (ลู่ทางไปสู่เป้าหมายทางการศึกษาแคบ)

– ครูยังไม่เข้าใจและไม่คุ้นชินการประยุกต์ใช้การเรียนรู้จากชุมชนเข้าไปสู่การเรียนรู้ในห้องเรียน

วิธีการแก้ไข

  1. สร้าง Prototype

– สำรวจจำนวนและสาเหตุเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาชั้น ม.ต้น และวางแผนการทำงานร่วมกับครู โรงเรียน และชุมชน

– จัดเวทีสำรวจความต้องการของผู้เรียนในการประกอบอาชีพ เช่น อาชีพเดิมของครอบครัว อาชีพหลักในชุมชน ทักษะชีวิต และสิ่งที่มีคุณค่าในชุมชน

– กำหนดหลักสูตรและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการสร้างประสบการณ์วิชาชีพในโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน

– วางแผนการจัดการเรียนรู้และการประเมินผลร่วมกับครูผู้สอนและวิทยากรชุมชน

– ฝึกอบรมครูผู้สอนและวิทยากรชุมชนในเรื่องการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับอาชีพและทักษะชีวิต

  1. ทดสอบ Prototype

– ครูผู้สอนและวิทยากรชุมชนร่วมกันทดลองสอนกับผู้เรียน

  1. ประเมินผล Prototype

– ประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยจัดกิจกรรมเปิดเวทีแสดงผลงานนักเรียนและลงมือปฏิบัติจริง ในรูปแบบของตลาดโรงเรียน

– ประเมินผลการจัดกิจกรรมโดยติดตามผลผู้เรียนที่จบการศึกษา

– จัดเวทีสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำผลสะท้อนกลับไปปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้

– สรุปผลกิจกรรมการเรียนรู้และปรับปรุงหลักสูตรเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาคการศึกษาต่อไป

Project Owner

พื้นที่โปรเจกต์ : โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

Documents

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ