โครงการนวัตกรรมการเงินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเด็กนักเรียนเสี่ยงหลุดออกนอกระบบการศึกษา อันมีปัญหามาจากภาวะทางการเงิน และหนี้สินของครอบครัว ให้มีโอกาส ทางการศึกษาที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการ

ที่มาโครงการ

เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตโควิดทำให้เด็กหลุดออกนอกระบบหลังเปิดเทอมใหม่ ต้นทุนการศึกษาสูงเกินแบกรับ พบกลุ่มใหม่ครัวเรือนจนเฉียบพลัน ส่งผลให้เด็กหายไปจากระบบแล้ว 10% และยังหลุดต่อเนื่อง ขณะที่ชุมชนแออัด กทม. พบหนี้นอกระบบเพิ่ม หลายครอบครัวกู้เงินผ่อนมือถือเรียนออนไลน์ แนวโน้มไม่มีค่าเดินทางไปโรงเรียน

ด้าน กสศ.คาดการณ์ว่าสิ้นปีการศึกษา 2564 จะมีเด็กหลุดจากระบบ 65,000 คน มัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ที่ 19-20% มัธยมปลายอยู่ที่ 48% พบเด็กยากจนมีโอกาสเรียนต่อเพียง 5% ต่อรุ่น จากค่าเฉลี่ยเรียนต่อของประเทศประมาณ 35%  มีช่องว่างถึง 7 เท่า

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า ข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ iSEE พบว่ามีนักเรียนยากจนพิเศษ 1.17 ล้านคนหรือ 18% ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มยากจนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาสูงกว่ากลุ่มครอบครัวที่รวย 4 เท่า คือยิ่งจนยิ่งแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งในครอบครัวยากจนพิเศษมีรายได้เฉลี่ย 1,077 บาทต่อเดือนต่อคน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาสูงถึง 2,000 – 6,000 บาทต่อปี

ปัญหาเด็กนอกระบบไม่ใช่แค่ปัญหาการศึกษา แต่กระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย โดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดคำนวณว่า หากประเทศไทยไม่มีเด็กหลุดจากระบบจะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 3% ขณะที่อดีตนักเศรษฐศาสตร์จากยูเนสโกประเมินว่า การที่ประเทศไทยแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษาได้จะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากกว่า 228,000 ล้านบาทต่อปี รายงานธนาคารโลกล่าสุดในเดือนมิถุนายนระบุว่า การเข้าถึงวัคซีนเป็นตัวแปรสำคัญต่อสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศต่าง ๆ เศรษฐกิจโลกขยายตัว 5.6% เร็วกว่าที่คาดไว้ 1.5% เพราะการมาของวัคซีน ในขณะที่ประเทศยากจนกำลังพัฒนาเศรษฐกิจทรุดลง คนจนเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโตเพียง 2.9% ต่ำสุดในรอบ 20 ปี จะมีมากกว่า 100 ล้านคนที่กลายเป็นกลุ่มยากจนสูงสุด หรือ extream poverty

ดังนั้น ควรเร่งการฉีดวัคซีนในครู ในเด็กหากทำได้ และในภาพรวม ควรฉีดให้ได้ 90% เพื่อการฟื้นกลับคืนทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษาโดยเร็ว เพราะจะทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่การฟื้นฟู และยิ่งเปิดเรียนเร็วเท่าไหร่ยิ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเท่านั้น โดยผลกระทบจากการปิดเรียน 4 เดือน ส่งผลต่อจีดีพีไทย 9.12 แสนเหรียญสหรัฐ”

นอกจากนี้เด็กที่ใกล้เสี่ยงหลุดหรือหลุดแล้ว ทัศนคติ ความมุ่งมั่นทางการศึกษาน้อยมาก การดึงกลับมาเรียนหนังสือ ถ้าไม่ทำแบบประณีต สามารถเข้าถึงวิธีคิดหรือปัญหาจริง จะเห็นเด็กหลุดมากขึ้นและเป็นวิกฤตของประเทศอย่างแท้จริง

ที่มา : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (https://www.eef.or.th, 17 มิ.ย. 64, “กสศ.สำรวจสถานการณ์เด็กหลุดออกนอกระบบหลังเปิดเทอมใหม่”)

แนวคิดโครงการ

  • นักเรียนไม่หลุดออกจากระบบการศึกษาเพียงเพราะเรื่องปัญหาทางการ เงิน เด็กทุกคนควรได้รับความเท่าเทียมกันทางการศึกษา
  • โรงเรียนต้องเป็นได้มากกว่าสถานที่ให้ความรู้ แต่ต้องสามารถสร้างรายได้ ให้กับนักเรียนได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
  • ภาพลักษณ์การศึกษาที่เป็นการใช้ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงต้องถูกเปลี่ยนไปเป็นการ ศึกษาที่สร้างรายได้ และมอบคุณค่า

เป้าหมายของโครงการ

1. กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในกระบวนการ การสร้างรายได้ เงินออม และลงทุน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 

2. นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 

  • มีรายได้ 1,000 บาท /เดือน
  • มีเงินออม 1,000 บาท /เดือน
  • และมีเงินลงทุน 1,000  บาท/เดือน 
  • ภายในระยะเวลา 4 เดือน 

3. เครื่องมือการจัดการการเงิน 

  • ที่สามารถสร้างรายได้ 
  • ทำให้ น.ร. ม.3 มีเงินเรียนต่อ
  • ในระดับม.ปลายได้

ปัญหา

นักเรียน ชั้น ม.3 และ ม.6 ที่มีความเสี่ยงต่อการออกนอกระบบการศึกษา เพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน

วิธีการแก้ไข

การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับอบรมให้ความรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้

  • กิจกรรมที่ 1 การสร้างรายได้ คือ การรวมกลุ่มของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อ ร่วมกันทำธุรกิจตามทักษะที่สมาชิกในกลุ่มมี
  • กิจกรรมที่ 2 การออม คือ การออมในรูปแบบของสหกรณ์
  • กิจกรรมที่ 3 การลงทุน คือ การลงทุนซื้อหุ้นกับสหกรณ์

ทุกกิจกรรมมีวิทยากร และโค้ชสำหรับอบรมให้ความรู้ในการสร้างรายได้ การวางแผนเงิน การออม และการลงทุนให้กับนักเรียนกลุ่มนี้

 

ผลกระทบทางสังคม

อัตราการหลุดออกนอกระบบการศึกษาของเด็กนักเรียนอันเนื่องจากปัญหาทาง การเงินและหนี้สินมีอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ที่จะส่งผลเกิดการเพิ่มของ สมองในการขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนา

แผนความยั่งยืน

เด็กไทยมีเครื่องมือจัดการทางการเงินที่ทำให้ศึกษาต่อได้จนจบปริญญาตรี

Project Owner

พื้นที่โปรเจกต์ : ตำบลหนองรี อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ