Kids Hub โมเดลแก้ปัญหาของเด็ก เยาวชนวัย 7-16 ปีในชุมชนแออัดขาดพื้นที่การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อให้เด็กค้นหาศักยภาพตัวเองได้และพัฒนาทักษะชีวิต ที่มาโครงการ
ปัญหา :เด็ก เยาวชนวัย 7-16 ปีในชุมชนแออัดขาดพื้นที่การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อให้เด็กค้นหาศักยภาพตัวเองได้และพัฒนาทักษะชีวิต
สถานการณ์ปัญหา : เครือข่ายสลัมสี่ภาคมีชุมชนสมาชิก 78 ชุมชน มีเด็กเยาวชนอายุ7-16 ปี ประมาณ 2,340 คนเด็กช่วงระหว่าง 7 – 16 ปี เป็นช่วงวัยเด็กคาบเกี่ยวถึงวัยรุ่น ที่ถือเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ต้องพบกับการเปลี่ยนช่วงชั้นการศึกษา และเป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยง
จากข้อมูลของ กสศ. ระบุว่า ปัญหาของกลุ่มเด็กที่ไม่เรียนต่อนั้น มักจะมีแนวโน้มที่เสี่ยงออกจากโรงเรียนกลางคันมาโดยตลอด แต่ยังสามารถประคับประคองสถานการณ์ปัญหาไว้ได้ หรือได้รับความช่วยเหลือ การสนับสนุนจนจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) แต่เมื่อครบตามเกณฑ์ ซึ่งสามารถหยุดเรียนได้โดยไม่มีความผิดทางกฎหมายแล้ว เด็กเหล่านี้มักจะไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งระดับมัธยมปลาย และ อุดมศึกษา อีกทั้งการศึกษาระดับสูงยังไม่ตอบโจทย์เด็กที่มีความหลากหลาย การเรียนการสอนส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับรองเด็ก “ทั่วไป” ไม่ครอบคลุมและตอบโจทย์ความเฉพาะตัวของเด็กที่มีความหลากหลาย เช่น เด็กยากจน เด็กพิการหรือมีความต้องการพิเศษ แม่วัยรุ่น เด็กเกเร มีประวัติต้องคดี ฯลฯ เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกกลางคันตั้งแต่ก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ เนื่องจากพวกเขามักจะได้รับความเจ็บปวดหรือมีอุปสรรคจากการเรียนมาโดยตลอด มีความรู้สึกว่าการเรียนไม่สอดคล้องกับชีวิต รู้สึกว่าตนเองไม่เป็นส่วนหนึ่งกับสังคมจึงออกจากระบบไปไม่มีเป้าหมายหรือแผน ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง และไม่รู้จะเรียนไปทำไม เพราะเรียนไปก็คงทำงานที่ได้รายได้ไม่มากอยู่ดี ไม่เห็นทางที่จะทำได้ดีหรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เด็กจึงไม่ได้คิดไปไกลกว่าที่เห็นและเป็นอยู่ ทำให้ไม่มีเหตุผลหรือแรงจูงใจอะไรที่จะเรียนต่อ และบวกกับการเห็นตัวอย่างการเอาตัวรอดรายวันได้ทำให้อาจเข้าใจไปว่าไม่ต้องเรียนสูงก็เอาตัวรอดได้ จึงเลือกไปเป็นแรงงานรายวัน ไม่เรียนต่อ
การสำรวจความต้องการเด็ก 135 คน ในชุมชนแออัดพบว่าความสนใจของเด็กมีความหลากหลายแต่เด็กไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้นั้นได้ และความสนใจของเด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ เช่น เด็กจะสนใจอีสปอร์ต การเป็นยูทูปเบอร์ การเต้น ศิลปะ เกิดช่องว่างในการสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง
เป้าหมายของโครงการ
โมเดลการเปิดพื้นที่เรียนรู้
1.เด็ก เยาวชน และคนในชุมชน 40 คนเกิดการมีส่วนร่วมในพื้นที่การเรียนรู้
- เด็กเกิดความสุขสนุกกับการเรียนรู้ 100%
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ผู้ใหญ่ในชุมชน 100%
2. แกนนำเยาวชนที่ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติการKids Hub อย่างน้อย 50% และมี
- Self awareness
- Self Esteem
- Connect & Connext
- Empathize
- Leadership
- Self reflection
- Communication
- MIDL
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง 50% เกิดความเข้าใจ ภาคภูมิใจ และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนศักยภาพของเด็ก
4. ทั้ง 4 พื้นที่นวัตกรรมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมือง (ห้องเรียนชุมชน ห้องสมุด เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ปลอดภัย ตลาดส่งต่อความรู้เครือข่าย จุดเรียนรู้)
การสร้างความยั่งยืนให้พื้นที่การเรียนรู้ในชุมชน
5. ฐานข้อมูลชุมชม
6. ชุดนวัตกรรมการเรียนรู้ชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมและระบบการประเมินวัดผลกระทบ
7. กองทุนห้องเรียนชุมชน 200,000 บาท
ภาพความสำเร็จ
เด็ก เยาวชนชุมชนแพรกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่/ สร้างประสบการณ์ใหม่ภายใต้พื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย มีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง (Kid’s Hub) ที่นำไปสู่การค้นพบตัวเองเกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพจากการได้ลงมือทำ และปฎิบัติการจริง เกิดความสุขสนุกในการเรียนรู้ มีความภาคภูมิใจในตัวเองและชุมชนที่จะเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญในการเติบโต และพัฒนาตนเอง