ที่มาโครงการ
กลุ่มละครชุมชน“กั๊บไฟ”
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2539 โดยคุณอัมรินทร์ เปล่งรัศมี (พี่อ๊อด)
“กั๊บไฟ”เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการสื่อสารเรียนรู้และพัฒนาทำงานร่วมกับชุมชนเด็กและเยาวชน เพื่อเสริมพลังการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมใช้เครื่องมือ
สื่อละครศิลปะวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน
แนวคิดโครงการ
เนื่องจาก เด็กในชุมชนที่เราไปทำงานด้วยเคยถูกกระทำความรุนแรงกว่า 79% ทั้งในโรงเรียนและในครอบครัว ด้วยความเป็นคนที่ถูกด้อยค่า ไม่ได้รับการยอมรับจาก ครอบครัวและโรงเรียน จึงส่งผลให้
-ทำให้เด็กออกจากการศึกษา ออกจากบ้าน กลายเป็นเด็กเร่ร่อน
-เกิดปัญหาท้องก่อนวัยอันควร ไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ และวนเป็นวัฎจักร
-ทัศนคติของคนในสังคม ที่ว่าผู้ใหญ่ต้องควบคุมเด็ก
เป้าหมายของโครงการ
-ความสุขของผู้ปกครองที่ไม่เหนื่อยไม่เครียดในการดูแลเด็ก เข้าใจพัฒนาการเด็ก
ตามช่วงวัย
-ความสุขของเด็กที่ได้เติบโตตามวัยอย่างเหมาะสม ได้รับความรัก ความอบอุ่น มี
เหตุผล เคารพผู้อื่น มีจิตใจที่ดี มีจิตสำนึกทางสังคม มีทักษะชีวิต ไม่นิยมใช้ความ
รุนแรง
-ชุมชนมีกลไกในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ซึ่งสอดคล้องกับ vision ขององค์กรที่ต้องการสร้างสันติสุขโดยใช้วินัยเชิงบวก
และ mission ที่จะสร้างความร่วมมือกับชุมชน
ปัญหา
1.ครูยังไม่มีความรู้เรื่องวินัยเชิงบวก ที่จะส่งเสริมให้เด็กมีความร่วมมือในการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องทำทั้งหมด ในทุกระดับชั้น ส่งต่อกันครูปฏิบัติเหมือนกัน
2.การทำงานกับสิทธืเด็กต้องทำงานกับผู้ใหญ่ก่อน ถ้าผู้ใหญ่เปลี่ยนเด็กจึงเปลี่ยน
3. ผู้ปกครองไม่อยากตีเด็ก แต่ไม่มีเทคนิค ความรู้ในเรื่องวินัยเชิงบวก ที่จะใช้เครื่องมือนี้แทนการลงโทษ
วิธีการแก้ไข
- อบรมวินัยเชิงบวกให้กับผู้ปกครองและครู รุ่นละ 30-40 คน
- อบรมวินัยเชิงบวกให้กับเด็ก เพื่อลดการรังแกและกลั่นแกล้งกัน
- ส่งเสริมให้เด็กเป็นแกนนำในการเป็นวิทยากรสอนกลุ่มเดียวกันต่อไป
- จัดกิจกรรมละครให้มีการรวมกลุ่มกันของเด็ก เพื่อสร้าง empower
- จัดทำคลิปวีดีโอเผยแพร่ เพื่อรณรงค์ผ่านช่องทางออนไลน์
- จัดทำเพลง มิวสิควิดีโอ ละคร ในเรื่องวินัยเชิงบวกจากการกั๊บไฟเอง
- ทำงารร่วมกับ อำเภอ หรือ อบต เวียงแหง
ผลกระทบทางสังคม
ครู
1.ความสุขของผู้ปกครองที่ไม่เหนื่อยไม่เครียดในการดูแลเด็ก เข้าใจพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย
2.ความสุขของเด็กที่ได้เติบโตตามวัยอย่างเหมาะสม ได้รับความรัก ความอบอุ่น มีเหตุผล เคารพผู้อื่น มีจิตใจที่ดี มีจิตสำนึกทางสังคม มีทักษะชีวิต ไม่นิยมใช้ความรุนแรง
3.ชุมชนมีกลไกในการปกป้องคุ้มครองเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ซึ่งสอดคล้องกับ vision ขององค์กรที่ต้องการสร้างสันติสุขโดยใช้วินัยเชิงบวก
และ mission ที่จะสร้างความร่วมมือกับชุมชน
แผนความยั่งยืน
1.การใช้กระบวนการ ละคร กิจกรรมสร้างสรรค์ในการผลักดันกฎหมายร่วมกับกลุ่มเด็ก เยาวชน ชุมชน และเครือข่าย ซึ่งผลักดัน MOU และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกำลังขับเคลื่อน พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการยุติความรุนแรงกับเด็ก มาตรา 1567 (2)
2. สามารถใช้กระบวนการละครในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชนให้เป็นผู้นำ มีความคิด ความมั่นใจ และกล้าแสดงออก เป็นผู้นำ สามารถตั้งกลุ่มของตนเอง หรือเครือข่ายได้
3.เด็กได้รับการปกป้อง คุ้มครองจากองค์กรในชุมชนในพื้นที่ที่กั๊บไฟไปทำงาน เช่น การถูกล่อลวงโดยการค้ามนุษย์, การถูกลงโทษด้วยความรุนแรง, การแสวงหาผลประโยชน์ทางด้านแรงงาน, เท่าทันสื่อ, ช่วยให้เด็กได้รับสถานะทางทะเบียน และช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
4.การสร้างพื้นที่ให้กลุ่มที่บอบบางได้มีโอกาสแสดงประสบการณ์ ความรู้สึก เรื่องราวของตนเองผ่านสื่อ ละคร และสื่ออื่นๆกับสังคมให้เกิดความตระหนักต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น