โครงการ
ปันขวดใสให้ชุด [email protected] เป็นโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ต่อยอดหลังจากจบโครงการมาจาก Go Green Sandbox ในการดูแลของ School of Changemakers โดยทีม MarWin
ที่มาโครงการ
ปัญหาขยะในปัจจุบันนับว่าทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบทั้งกับสัตว์ในธรรมชาติ ทัศนียภาพ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์ในอนาคต
โครงการนี้จึงมาจากแนวคิดที่ว่า “ถ้าสามารถแยกขยะที่สามารถนำกลับมาสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องได้ สักชิ้นหนึ่ง ก็ยังดี”
จากการเก็บข้อมูลของทางทีมงานพบว่าผู้คนในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ผลิตขวดน้ำพลาสติกมากเป็นอันดับหนึ่ง และประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายคนมีความคิดว่า “ประชาชนธรรมดาแบบฉัน สามารถทำอะไรได้บ้าง”
จึงเกิดเป็นโครงการ ปันขวดใสให้ชุด [email protected] ขึ้นมา
แนวคิดโครงการ
ทางทีมเห็นว่าพื้นฐานของคนไทยรวมถึงมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จึงนึกถึงตู้บริจาคเงิน ตามห้างร้านที่นำไปช่วยเหลือองค์กรต่างๆ
หากเราเปลี่ยนป้าย(label)ของขยะ จากที่ทุกคนมองว่าสิ่งที่นี้คือ ขยะ (สิ่งที่ไม่มีประโยชน์) เป็นวัสดุ (สิ่งที่สามารถนำไปสร้างประโยชน์ได้ต่อ ) ผ่านมุมมองของการบริจาคสิ่งของ (donation)
ดังนั้นนอกจากเราจึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนพื้นฐานความคิดโดยทั่วไป (norm) ของขยะให้เป็นวัสดุแล้ว เรายังพยายามเปลี่ยนโครงสร้าง (reconstruct) ของตู้บริจาคเงินให้เป็น ตู้บริจาควัสดุ โดยสามารถทำได้ที่บ้าน และใช้ชีวิตแบบปกติโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันให้ยากขึ้น แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางของขยะได้
เป้าหมายของโครงการ
50 เปอร์เซ็นของผู้อยู่อาศัยในชุมชนตัวอย่าง เข้าร่วมโครงการ
เปลี่ยนความเห็นใจ (empathy) ของผู้คนให้เป็นการกระทำ (action)
ขวดน้ำอย่างน้อย 10 กิโลกรัม ถูกแยกอย่างมีเป้าหมายใน 1 เดือน
ปัญหา
การทำงานอยู่ที่บ้าน (work/study from home) ที่ไม่ได้เข้าไปทำงานที่สำนักงานหรือไม่ได้เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัย ทำให้ไม่ได้ใช้ระบบการแยกขยะที่พร้อมของสำนักงาน/มหาลัย โดยที่พักอาศัยไม่ได้มีระบบแยกขยะที่เอื้อต่อการแยกขยะ
ประชาชนบางส่วนรู้ว่าควรแยกขยะ แต่ไม่เคยแยกจริงจัง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งปัจจัยหลักคือ แต่ละบ้านไม่มีถังขยะที่รองรับการแยกขยะ รวมไปถึงไม่รู้ว่าแยกแล้วจะเอาไปไว้ที่ไหน เนื่องจากระบบหลังบ้านไม่รองรับ
ประชาชนที่อยากส่งต่อสิ่งที่ตนเองไม่ได้ใช้แล้ว ไปให้กับผู้ที่สามารถใช้ประโยชน์กับสิ่งนั้นได้แต่ไม่ตัวกลางและไม่รู้ว่าต้องส่งต่อสิ่งเหล่านี้ไปไว้ที่ไหน
วิธีการแก้ไข
ในเริ่มต้นเราจะออกแบบตัวต้นแบบ (prototype) ออกมาให้เป็นถุงขยะสายบุญก่อน โดยเก็บขวดน้ำหรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นขยะ ในความคิดของใครหลายๆคน ส่งต่อให้กับผู้ที่ได้ใช้ประโยชน์ กับสิ่งนั้น และสร้างระบบที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่สนใจ (กลุ่มเป้าหมาย) โดยไม่สร้างความลำบาก หรือทัศนคติแง่ลบแก่พวกเขา
ซึ่งเราจะดำเนินการให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) และอยากให้โครงการนี้เป็นธุรกิจที่สามารถอยู่ด้วยตนเองได้โดยไม่อาศัยเพียงเงินบริจาค
จึงจะออกมาในรูปแบบของการขายถุงขยะ และเราจะนำเงินที่ได้ไปใช้ใน การจัดส่งขยะ ที่เก็บตามจุดพักขยะของชุมชนตัวอย่างไปยังปลายทาง โดยกลุ่มเป้าหมายจะทำการจ่ายเงินเพื่อแลกการบริการ (pay for services) โดยมีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) หรือ การทำบุญ(philanthropy) เป็นแรงผลักดัน (drive)
ผลกระทบทางสังคม
เปลี่ยนทัศนคติที่หลายคนจะคิดว่าการแยกขยะเป็นเรื่องยุ่งยาก
เกิดการแยกขยะในผู้คนโดยสามารถติดไปเป็นนิสัยไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่สาธารณะ
แผนความยั่งยืน
เพิ่มวัสดุมากขึ้นตามสถานการณ์หรือปลายทางขยะที่หาได้ จากมีเพียงขวดใสเพื่อทีมแพทย์ อาจมีการแยกวัสดุอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมาอีก เพื่อกลุ่มเป้าหมายอื่น เช่น แยกหลอดเพื่อผู้ป่วย หรือ กล่องนมเพื่อหลังคาน้อง เป็นต้น
จากถุงขยะอาจปรับให้เป็นถังหรือกล่องพัสดุที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์มากยิ่งขึ้น
ขยายขนาด (scale up) กลุ่มผู้ทดลอง จากระดับชุมชน เป็นระดับจังหวัด