Last Updated on 31 ตุลาคม 2021
Project Stage idea
Project Status active
Project Started on 1 ตุลาคม 2564

พื้นที่3จังหวัดชายเเดนภาคใต้ในปัจจุบัน ส่วน ใหญ่เเล้วจะมีคนที่นับถือศาสนาอิสลามโดยจะใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร บางคนสามารถพูดภาษาไทยได้เเค่บางคำ บางคนฟังเเล้วเข้าใจเเต่ไม่สามารถโต้กลับได้ เเละบางคนก็ฟังไม่เข้าใจรวมถึงไม่สามารถโต้กลับได้ ส่งผลให้ลำบากในการสื่อสารกับหน่วยงานราชการ ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิด จึงทำโครงการขึ้นมาเพื่อเเก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการสร้างเว็บเเอปเเปลภาษาที่มีชื่อว่า Torch’e

ที่มาโครงการ

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่สังคมบ้านเรา 3 จังหวัดกำลังประสบอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวพวกเรามาก แล้วการที่ผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ทําให้ผู้สูงอายุเสียโอกาสหรือผลประโยชน์ต่างๆมากมายเลย ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ทีมเราสนใจในปัญหานี้

แนวคิดโครงการ

ทีมเรามีไอเดียที่จะสร้าง web application ที่ช่วยตอบโจทย์การสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ให้สื่อสารรู้เรื่องเข้าใจตรงกัน ซึ่ง web application ของทีมเรามีชื่อว่า Torch’e ที่ติดตั้งในหน่วยงานมีฟังก์ชั่นที่แปลภาษาไทยให้เป็นภาษามลายู

เป้าหมายของโครงการ

ผู้สูงอายุสามารถไปติดต่อธุระราชการด้วยตัวเอง โดยการสร้างตัวช่วยที่เรียกว่า web สำเร็จรูป ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับแปลภาษาจากภาษาไทยเป็นภาษามลายู โดยมีการแปลเป็นสองฟังก์ชัน คือฟังก์ชันเเปลภาษาเป็นเสียงกับตัวอักษร ซึ่งเว็บสําเร็จรูปเป็นเว็บสำหรับทดลองเพื่อพัฒนาไปเป็น web app ในอนาคต

ปัญหา

ซึ่งปัญหาผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ทีมเราได้คิดทางแก้ปัญหาหานี้ โดยที่จะสร้าง web app ” Torch’e ” เป็นเว็บแอพที่เราจะไปตั้งที่องค์กรต่างๆเพื่อให้ผู้สูงอายุติดต่อองค์กรโดยใช้เว็บแอพนี้นั้นเอง

วิธีการแก้ไข

เราจะมีวิธีการแก้ปัญหาของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้โดยการใช้เว็ปแอพTorch’eเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับผู้สูงอายุ ซึ่งเว็ปแอพTorch’eเป็นเว็ปแอพที่มีความสามารถในการแปลภาษาจากภาษาไทยเป็นภาษามลายู เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ไม่เข้าใจภาษาไทยสามารถเข้าใจภาษาไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น

ผลกระทบทางสังคม

จากที่ทีมเราได้สัมภาษณ์ทั้งองค์กรและผู้สูงอายุถึงปัญหาผู้สูงอายุไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้พบว่าผู้สูงอายุต้องการทำธุระด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาหรือรบกวนเวลาของลูกหลานให้ช่วยสื่อสาร ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างๆของผู้สูงอายุจะต้องใช้เวลานาน ทำให้การสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับผู้สูงอายุไม่เข้าใจตรงกันหรือไม่มีประสิทธิภาพ และผู้สูงอายุอาจจะต้องเสียสิทธิ โอกาส อะไรต่างๆที่ควรจะได้รับ และมักจะต้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ไม่รู้จักหรือคนที่มาทำธุระเหมือนกันช่วยแปลภาษาในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งมันทำให้ข้อมูลส่วนตัวไม่ปลอดภัย

แผนความยั่งยืน

ทีมเรามีการใช้แนวทางการดำเนินงานตาม PDCA (plan, do, check, act) ดังนี้

1.Plan คือการวางแผนก่อนการดำเนินงานซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ก็จะมีพวกเราทีม Genderstand และต้องรู้วิธีการปฏิบัติงาน

2.Do คือการลงมือปฏิบัติตามแผนซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ก็จะมีพวกเราทีม Genderstand โค้ชมีเงินทุนเว็บแอปและต้องรู้วิธีการปฏิบัติงาน

3. check คือการตรวจสอบผลการดำเนินงานซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ก็จะมีพวกเราทีม Genderstand มีโค้ชมีเว็บแอปและต้องรู้วิธีการปฏิบัติงาน

4. Act คือการปรับปรุงการดำเนินการเพื่อยกระดับคุณภาพซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีทรัพยากรมนุษย์ก็จะมีพวกเราทีม Genderstand มีโค้ช มีผู้สูงอายุสําหรับการทดลอง มีเว็บแอปและต้องรู้วิธีการปฏิบัติงาน

Project Owner

พื้นที่โปรเจกต์ : ปัตตานี

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ