โครงการขยายผลระบบบ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา (Incubation for Equitable Education) โดย School of Changemakers เพื่อบ่มเพาะนักเปลี่ยนแปลงให้มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมทางสังคม ในประเด็นปัญหาเด็กนอกระบบเพื่อนำไปสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา
ที่มาโครงการ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มุ่งการทํางานช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ในการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของกลุ่มเด็กที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาให้มากขึ้น ผ่านพันธกิจดังนี้ สร้างเสริมการจัดการเชิงระบบเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดย (1) การลงทุนที่ใช้ความรู้นําเพื่อช่วยเหลือและสร้างคุณค่าเพิ่มแก่กลุ่มเป้าหมาย (2) การระดมการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุกภาคส่วน และ (3) การเสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดการสนับสนุนในลักษณะ Incubator หรือการบ่มเพาะโปรเจกต์และกิจการเพื่อสังคมด้านการศึกษา ที่สนับสนุนให้พัฒนาแรงบันดาลใจ หรือไอเดียมาทดลองเป็นโครงการหรือกิจการต้นแบบ หรือโปรแกรมบ่มเพาะที่มีอยู่อาจยังไม่ได้พัฒนาการสนับสนุนนอกเหนือจากการให้ทุน หรืออาจขาดการวางระบบส่งต่อ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ประเทศไทยขาดนวัตกรรมสังคม และโครงการดีๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไม่มีโอกาสเติบโตและสร้างผลกระทบทางสังคมถึงการแก้ปัญหา หรือกระทบการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง
จากวัตถุประสงค์การทำงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงเห็นโอกาสในการบ่มเพาะนักเปลี่ยนแปลงในการสร้างนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาผ่านสนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 7 คือ การกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนร่วมสร้างสังคม แห่งโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาจึงพัฒนาโครงการขยายผลระบบบ่มเพาะนวัตกรรมทางสังคมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาขึ้น เพื่อบ่มเพาะนักเปลี่ยนแปลงให้มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมทางสังคมในประเด็นปัญหาเด็กนอกระบบอันจะนำไปสู่ความเสมอภาคทางการศึกษาต่อไป
แนวคิดโครงการ
ดำเนินการสร้าง Support System ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนให้พัฒนาแรงบันดาลใจ หรือไอเดียมาทดลองเป็นโครงการหรือกิจการต้นแบบ ผ่านโปรแกรม Penguin Incubation และพัฒนาการสนับสนุนที่นอกเหนือจากการให้ทุนให้โครงการดีๆ ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศมีโอกาสเติบโตและสร้างผลกระทบทางสังคมถึงการแก้ปัญหา หรือกระทบการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม Scaling Impact พร้อมสร้าง Online Platform ที่รวบรวมและจัดการความรู้ของระบบบ่มเพาะโครงการหรือนวัตกรรมสังคม พัฒนาเป็น Incubation Workshop เพื่อขยายผลให้กับหน่วยงานและองค์กรที่สนใจโปรแกรมบ่มเพาะในเฟสต่อไป
เป้าหมายของโครงการ
เพื่อบ่มเพาะโครงการหรือนวัตกรรมสังคมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 10 ทีม
เพื่อสร้างระบบเก็บและจัดการความรู้ของระบบบ่มเพาะโครงการหรือนวัตกรรมสังคมเพื่อพร้อมขยายผลในเฟสต่อไป
ปัญหา
โครงการขยายผลระบบบ่มเพาะนวัตกรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา (Incubation for Equitable Education) มองหากลุ่มเป้าหมายที่สนใจสร้างการเปลี่ยนแปลงในประเด็นปัญหาที่ทำให้เด็กไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา ซึ่งมีสถานการณ์ปัญหาแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ สถานการณ์ปัญหาเด็กไม่ได้เข้าเรียน สถานการณ์เด็กออกกลางคัน และสถานการณ์ปัญหาเด็กไม่เรียนต่อ
โดยปัญหาเหล่านี้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศ
ประชากรไทยอายุ 15-59 ปี (กลุ่มกำลังแรงงาน) มีปีการศึกษาเฉลี่ย เท่ากับ 9.57 ปี หรือเทียบเท่าชั้นม.1 เท่านั้น สะท้อนถึงคุณภาพแรงงานที่ไม่มีความรู้เชิงลึก ไม่มีทักษะเฉพาะ ประกอบอาชีพที่ให้รายได้ต่ำ ถูกแทนที่ได้ง่าย ยากที่จะเพิ่มทักษะเฉพาะหรือเติบโตในเส้นทางการทำงาน (Career Path)
ด้วยรายได้ที่น้อยกว่าจะอยู่ในฐานภาษี ประเทศไทยจึงมีสัดส่วนผู้เสียภาษีน้อย เมื่อเทียบกับผู้ได้รับผลประโยชน์จากเงินภาษี จึงไม่มีงบประมาณมากพอที่จะใช้พัฒนาประเทศให้ทัดเทียมและเท่าทันการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง
คนหนุ่มสาว (อายุ 25-30 ปี) ที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญาหรืออุดมศึกษาจะสามารถมีรายได้มากกว่าคนรุ่นเดียวกันที่มีการศึกษาระดับประถมถึง 2 เท่า และเมื่อถึงวัยก่อนเกษียณ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ก็จะถ่างกว้างออกไปเป็นกว่า 5 เท่า
กลุ่มประชากรรายได้ต่ำ 40% ล่างสุดไม่มีการขยับขึ้นทางสังคมมานานกว่า 4 รุ่นแล้ว ในระดับประเทศ คุณภาพแรงงานไทยต่ำกว่ามาเลเซียถึง 3 เท่า เหตุนี้ทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงิน 3 แสนกว่าล้านบาทต่อปี คิดเป็น 3% ของ GDP
จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาขนาดใหญ่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยภาคส่วนต่างๆ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลง
วิธีการแก้ไข
1. INCUBATION PROGRAM
โปรแกรม Penguin Incubation มุ่งบ่มเพาะผู้สนใจและมีแนวคิดในการริเริ่มสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมสังคมเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ
โปรแกรมมีระยะเวลา 6 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วง
Phase 1: Idea to prototype (เดือนสิงหาคม – กันยายน 2564) เป็นระยะเวลาในการพัฒนาจากไอเดียตั้งต้นให้ตอบโจทย์ความท้าทายที่กำหนดไว้ในปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างสมติฐานที่สามารถวัดผลทดสอบได้ เพื่อนำไป วางแผนงานทดสอบสมมติฐานระยะเวลา 4 เดือน พร้อมกำหนดตัวชี้วัดที่แสดงความก้าวหน้าของการทดสอบ และนำเสนอไอเดียเพื่อรับทุนตั้งต้น
Phase 2: Testing Prototype (เดือนตุลาคม 2564 – มกราคม 2565) เป็นระยะเวลาในทดสอบตัวต้นแบบการแก้ไขปัญหา ตามแผนดำเนินงาน โดยจะมีระบบสนับสนุน ด้านความรู้และเครื่องมือ เครือข่ายหรือเพื่อนร่วมทางที่จะได้พบและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทุกเดือน พร้อมโค้ชและที่ปรึกษาเฉพาะทางจนจบโปรแกรม
2. Scaling Impact Model
โปรแกรมมุ่งบ่มเพาะเป็นนักเปลี่ยนแปลงที่มีความสนใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในขอบข่ายประเด็นปัญหาเด็กนอกระบบ
โครงการมีระยะเวลา 11 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วง
Phase 1: Build Model (เดือนสิงหาคม 2564 – ตุลาคม 2564) เป็นระยะเวลาในการระบุปัญหา วางแผนการดำเนินงานและพัฒนาโมเดลการทำงานเพื่อใช้ในการทดลองโมเดลการแก้ไขปัญหาเพื่อประเมินผลลัพธ์ จุดแข็ง จุดอ่อนของโมเดลเพื่อนำกลับมาพัฒนาในเฟสต่อไป
Phase 2: Testing Prototype (เดือนพฤศจิกายน 2564 – มิถุนายน 2565) เป็นระยะเวลาในการพัฒนาโมเดลการทำงานต่อเนื่องและวัดประเมินผลกระทบทางสังคมโดยจะมีระบบที่ปรึกษาสนับสนุนจนจบโครงการ
3. INCUBATOR WORKSHOP
ตลอดโปรแกรมบ่มเพาะ ทั้ง Penguin Incubation และ Scaling Impact ในช่วงเตรียมงาน ทางโครงการจะได้สร้าง Online platform รวบรวมข้อมูลปัญหาเด็กนอกระบบ และชุดเครื่องมือ (Toolkits) ที่มี Worksheets พร้อมคำอธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆ
และตลอดโครงการ จะใช้ Online platform นี้ในการดำเนินงานโครงการและเก็บข้อมูลการใช้เครื่องมือต่างๆ เมื่อสิ้นสุดโปรแกรมจะได้ปรับแก้เครื่องมือและอธิบายตามผลตอบรับของผู้เข้าร่วมจากทั้งสองโปรแกรม รวมถึงเพิ่มตัวอย่างการใช้เครื่องมือ จากนั้นจะได้จัดอบรมเผยแพร่ Online platform นี้ให้หน่วยงาน มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ที่สนใจบ่มเพาะโครงการและกิจการเพื่อสังคมด้านการแก้ปัญหาเด็กนอกระบบในระยะต่อไป โดยสามารถใช้เครื่องมือและระบบ onine platform ที่ทางโครงการสร้างขึ้นหรือนำเครื่องมือและข้อมูลไปปรับใช้ได้ เพื่อขยายผลการดำเนินงานให้เกิดโปรแกรมบ่มเพาะทั่วประเทศ
ทั้งนี้ Online platform จะประกอบไปด้วยชุดเครื่องมือดังนี้