โครงการ Unihope เป็นโครงการลักษณะผสมผสานระหว่าง การทำธุรกิจเพื่อสังคมและบริการนวัตกรรมชุดเครื่องแบบนักเรียนรูปแบบใหม่ที่ริเริ่มเพื่อความยั่งยืน โดยใช้แนวคิด Circular Economy ในการออกแบบการดำเนินการในโครงการ ซึ่งจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก

  1. ”ธุรกิจเพื่อสังคม” ซึ่งเข้าไปทำงานร่วมกับโรงเรียนในการรับบริจาคชุดนักเรียนทุกๆสิ้นปีการศึกษา ณ ที่โรงเรียนต่างๆ เพื่อสร้างความสะดวกต่อผู้ที่ต้องการบริจาคเครื่องแบบมากที่สุด นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมการส่งต่อชุดนักเรียนให้กับเด็กไทย
  2. ”ธุรกิจบริการ” ซึ่งเป็นการให้บริการเช่าชุดนักเรียนแบบโมเดล Subscription โดยลดการใช้ทรัพยากรลงผ่านการ Refurbishing และ Reuse เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัว

ที่มาโครงการ

Unihope เป็นโครงการในลักษณะผสมผสานระหว่าง การทำธุรกิจเพื่อสังคมและบริการนวัตกรรมชุดเครื่องแบบนักเรียนรูปแบบใหม่ที่ริเริ่มเพื่อความยั่งยืน เกิดขึ้นจากภาพการใช้งานของเครื่องแบบนักเรียนไทยที่แม้ปัจจุบันอาจจะมีไม่กี่ประเทศที่ยังมีระเบียบดังกล่าวคงอยู่ แต่เมื่อมองลึกเข้าไปในภาพรวมสังคมไทยนั้น จะเห็นช่องว่างของความเหลื่อมล้ำในระบบบริการทางการศึกษาของประเทศ ในเรื่องปัจจัยพื้นฐานเครื่องแบบที่ไม่ทั่วถึง เราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลการเปลี่ยนแปลง เป็นส่วนส่งเสริมการใช้ทรัพยากรเครื่องแบบเสื้อผ้าในระบบที่ยังหลงเหลืออยู่เข้ามาสร้างวัฒนธรรมการบริโภคและส่งต่อชุดนักเรียนให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาชุดนักเรียนขาดแคลนในกลุ่มครอบครัวรายได้ต่ำ และสามารถต่อยอดนวัตกรรมการรีไซเคิลผ้าจากชุดนักเรียนที่ใช้ซ้ำให้เป็นนวัตกรรมที่สร้างผลกำไรและขยายประโยชน์สู่สังคมได้ โดย Unihope ได้ออกแบบแนวทางความร่วมมือจากทั้งทาง ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมที่มีเครื่องมือและองค์ความรู้ ซึ่งสามารถร่วมผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้

แนวคิดโครงการ

โครงการ Unihope ใช้แนวคิด Circular economy ในการออกแบบโครงการรับบริจาคชุดนักเรียนโดยส่งเสริมการมีส่วนรวมขององค์กรรัฐฯ ภาคเอกชน และภาคสังคม เข้าด้วยกันเพื่อสร้างเครือข่ายการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถขยายพื้นที่ รวมถึงออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่ในการให้บริการเช่าชุดนักเรียน เพื่อให้เกิดการ Reuse, Refurbish และ Recycle กับชุดนักเรียน นำไปสู่การลดใช้ทรัพยากรรวมถึงการลดต้นทุนในการจัดหาซื้อเครื่องแต่งกายนักเรียนของครอบครัวไปควบคู่กัน

เป้าหมายของโครงการ

สร้างกระบวนการและเครือข่ายเพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการส่งต่อของเด็กไทย และพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อช่วยลดต้นทุนในเครื่องแต่งกาย ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

ปัญหา

สถิติจากสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐานระบุไว้ว่า ในปี 64 ไทยมีนักเรียนที่ขาดแคลนเครื่องแบบนักเรียน 3.4 ล้านคนและในช่วงจบปีการศึกษาทุกๆ ปีจะมีเด็กที่ขึ้นระดับการศึกษาจากอนุบาลไปประถมจากประถมไปมัธยม และจากมัธยมไปมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยวิชาชีพ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงสุดในการให้บริจาคปีละ 3 ล้านชุด และจากการแถลงการณ์ของมูลนิธิกระจกเงาซึ่งเป็นมูลนิธิแนวหน้าในด้านการรับบริจาคชุดนักเรียน ได้เปิดเผยว่าได้ดำเนินการส่งต่อชุดนักเรียนไปแล้วหลายหมื่นชุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เมื่อนำมาเทียบกับสถิติของสำนักนโยบายฯ จะพบว่ายังมีเด็กที่จบการศึกษาเป็นจำนวนมากยังไม่ได้ทำการบริจาคหรือส่งต่อชุดนักเรียนเก่าของตนเอง

วิธีการแก้ไข

จัดทำกิจกรรมกับโรงเรียน สำหรับครอบครัวนักเรียนที่จะบริจาคหรือต้องการชุดนักเรียน เพื่อให้ขั้นตอนการบริจาคเป็นไปได้โดยง่ายและสะดวก มีสิ่งที่ต้องทำ ดังนี้
– ลงพื้นที่ไปหาเด็กที่ยังไม่ได้บริจาคชุดโดยตรงเพื่อรับบริจาค กับร.ร.เตรียมอุดมศึกษา
– ทำความสะอาดและเลาะชื่อบนชุดออก
– ส่งชุดไปให้นักเรียนขาดแคลนที่ร.ร.บ้านนาโพธิ์
– สร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่สนใจและสามารถร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกัน เช่น ร่วมมือกับมูลนิธิกระจกเงาเพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัคร, ร่วมมือกับบริษัท Otteri เพื่อทำความสะอาดชุด, และร่วมมือกับหน่วยงาน กทม. ในการส่งหนังสือร่วมมือแก่โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการประสานงาน

ผลกระทบทางสังคม

  1. สร้างวัฒนธรรมการส่งต่อให้กับนักเรียนไทย
  2. ลดรายจ่ายให้กับครอบครัว
  3. ลดทรัพยากรที่ในการผลิตชุดนักเรียน

แผนความยั่งยืน

ผลที่เกิดขึ้นปัจจุบัน : การใช้ชุดนักเรียนที่เกิดขึ้นมาแล้วให้ได้นานที่สุด ก่อนเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผ่านการส่งต่อชุด
ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต : บริการเช่าชุดนักเรียน ลดการผลิตชุดนักเรียนใหม่

Project Owner

พื้นที่โปรเจกต์ : กรุงเทพมหานคร

เว็บไซต์ : https://www.instagram.com/unihope_th/

Member

Chirapat Fuangfuphitak

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ