Last Updated on 28 พฤศจิกายน 2022
Project Stage phototyping
Project Status active
Project Started on 28 พฤศจิกายน 2022

รวม 25 คำศัพท์ขั้นพื้นฐาน ที่คนทำ SEO ควรรู้!

สำหรับใครที่ยังเป็นมือใหม่ในการเริ่มต้นทำเว็บไซต์ อาจคงคุ้นเคยกับคำว่า SEO กันมาบ้าง ถือเป็นเครื่องมือที่สามารถพาเว็บไซต์ของคุณไปแสดงในอันดับต้น ๆ บนหน้าการค้นหาของ Google ได้ เพราะ SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์รวมถึงเนื้อหาภายในให้มีประสิทธิภาพเพื่อดึงคะแนนจาก Google Algorithum ตัวช่วยดันอันดับเว็บไซต์โดยที่คุณไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณา แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นทำ SEO คุณจะต้องทำความรู้จักกับคำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับ SEO กันซะก่อน 

วันนี้ Cotactic ผู้ให้บริการวางแผนการตลาดดิจิทัลออนไลน์มาอัปเดต 25 คำศัพท์ขั้นพื้นฐาน ที่คนทำ SEO ควรรู้ให้ทั้งมือใหม่และเก่าที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เอาไปใช้ในการทำงานและต่อยอดไปสู่กลยุทธ์การทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ตัวเอง

SEO

คำพื้นฐานที่คุณควรรู้แน่นอนนั่นก็คือ SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization เป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการเข้าชมเว็บไซต์บ่อยขึ้นและอยู่หน้าเว็บได้นานขึ้น โดยการทำให้เว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ความต้องการ Google และผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

Keyword 

หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือคำค้นหาที่เราระบุลงไปใช้ช่อง Search Engine ของ Google โดยสิ่งนี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างเว็บไซต์ของคุณกับผู้ใช้งานให้ได้มาเจอกัน ดังนั้นการเลือก Keywords จึงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นในการทำ SEO 

Ranking

การจัดอันดับและแสดงผลว่าเว็บไซต์ของคุณอยู่ในตำแหน่งใดบนหน้าการค้นหาของ Google โดยประเมินไปตาม Keyword ที่คุณเลือก ซึ่งบางครั้งแม้เว็บไซต์จะอยู่ในอันดับท้ายของคีย์เวิร์ดแรก แต่อาจอยู่ตำแหน่งที่ดีกว่าในคีย์เวิร์ดอีกหนึ่งคำ ขึ้นอยู่ในการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์และเนื้อหา 

Backlink

การวางลิงก์ไว้ที่เว็บไซต์อื่นเพื่อให้เกิดการคลิกลิงก์กลับมายังหน้าเว็บไซต์ของเรา จะสามารถช่วยเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือ ทำให้ Google ค่อย ๆ จัดอันดับให้เว็บของคุณไปอยู่ในตำแหน่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Backlink มีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • Natural Editorial Links เป็นการสร้าง Backlink แบบไม่เสียเงินซื้อพื้นที่เพราะเกิดจากมีคนยอมรับในเนื้อหาเว็บไซต์ของคุณจนนำไปเป็นแหล่งอ้างอิง 
  • Manual Link Building เป็นลิงก์ที่คุณสร้างขึ้นเองแล้วนำไปโพสต์ในเว็บอื่น มีทั้งพื้นที่โพสต์ฟรี การแลกเปลี่ยนคอนเทนต์ และการซื้อพื้นที่โปรโมต
  • Non-Editorial เป็นประเภทลิงก์ที่เชื่อมมาจากคอมเมนต์ตามเว็บบอร์ดต่าง ๆ แต่สำหรับกลุ่มนี้จะไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจเนื่องจากเสี่ยงเป็นลิงก์สแปมค่อนข้างสูง

Alt Text หรือ Alt Tag 

คำอธิบายรูปภาพใน HTML ของเว็บไซต์ ควรใส่ไว้เพื่อให้ Search Engine เข้าใจว่าภาพนี้เกี่ยวกับอะไร และนำไปแสดงผลต่อในหน้าค้นหาของ Google Image Search

 Algorithm

เป็นชุดคำสั่งสำหรับการทำงาน ซึ่งสำหรับการทำ SEO ถือเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเครื่องมือค้นหาอย่าง Google ที่จะมีชุดตรวจจับความเหมาะสมของเนื้อหาบนเว็บไซต์ว่าเหมาะสมมากน้อยเพียงใดในการขึ้นแสดงผลบนหน้าการค้นหา

Bounce Rate

คือปริมาณเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ไม่มีการกดคลิกผ่านไปยังหน้าอื่นของเว็บเลย โดยคิดมาจากผู้เข้าชมทั้งหมด ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์สูงยิ่งจะทำให้ Google ค่อย ๆ ลดอันดับเว็บไซต์ของคุณ

CTR

ย่อมาจาก Click-Through Rate เป็นตัวชี้วัดอัตราส่วนคนที่คลิกเข้าชมเว็บทั้งหมดต่อจำนวนคนที่พบเห็นเว็บไซต์บนหน้าการค้นหา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ Google ใช้วัดประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณ

PPC

ย่อมาจาก Pay Per Click หมายถึงการจ่ายต่อคลิกอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำ SEO โดยตรง เพราะเป็นอัตราการคลิกต่อเมื่อคุณทำการซื้อโฆษณากับ Google แต่ถือเป็นปัจจัยที่สนับสนุนกันเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้หน้าเว็บไซต์ของคุณมีจำนวนผู้เข้าชมมากขึ้น  

Dofollow Link

เป็นหนึ่งส่วนประกอบใน Backlink ด้วยการวางลิงก์หน้าเว็บอื่นโดยที่เชื่อมกลับไปยังหน้าเว็บไซต์ของคุณ ทำให้ช่วยเพิ่มคะแนนจาก Google ได้ดี 

Nofollow Link

เป็นอีกส่วนประกอบของ Backlink เช่นกัน แต่จะได้ประโยชน์ในการทำ SEO ไม่มากเท่ากับ Dofollow Link คือถึงแม้ว่าจะมีคนคลิกลิงก์กลับมาแต่ Google จะไม่นับคะแนนนี้ให้เว็บของคุณสามารถตรวจสอบได้โดยเปิดไปที่เบราว์เซอร์ Chrome เเล้วกด F12 เพื่อดูว่า Tag <a href> มี rel=”nofollow” 

Domain

การจดชื่อเว็บไซต์ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสื่อให้หลังบ้านของ Google เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร หากเป็นเชิงธุรกิจก็สามารถเอาไว้ใช้บอกถึงประเภทอุตสาหกรรมที่ทำอยู่

External Link หรือ Outbound Link

การเชื่อมโยงเว็บไซต์ของคุณเข้ากับเว็บคนอื่น โดยการนำลิงก์เนื้อหาของเว็บด้านนอกเข้ามาวางไว้ตามหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ แต่จะต้องมีเนื้อหาที่สอดคล้องกัน

Internal Link หรือ Inbound Link

การเชื่อมโยงหน้าเว็บไซต์ของคุณไว้ด้วยกันภายในเว็บ เพื่อให้เกิดการคลิกผ่านไปหลายหน้า อีกทั้งช่วยลดอัตรา Bounce ได้อีกด้วย

Impression

คือ ปริมาณการแสดงผลในหน้าการค้นหาทั่วไปโดยไม่รวมว่าคนจะคลิกเข้าไปเข้าชมเว็บหรือไม่ ซึ่งระบบจะนับแค่จำนวนครั้งที่เว็บแสดงหลังผู้ใช้งานระบุ Keywords ตรงกับเนื้อหาบนเว็บของคุณ

Heading Tags

หรือ HTML Tag ที่ใช้เป็นตัวกำหนดหัวข้อต่าง ๆ มีทั้งหัวข้อหลักและรองตั้งแต่ H1 ถึง H6 เพื่อเป็นตัวแสดงลำดับความสำคัญของเนื้อหาในหน้าเดียวกัน

Meta Title หรือ Title Tag

เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ Google จัดลำดับให้เว็บของคุณ โดยเป็นการกำหนดชื่อของหน้าเว็บที่จะแสดงเพื่อทำให้รู้ว่าหน้าเว็บมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร

Meta Description หรือ Description Tag

เป็นการบอกข้อมูลโดยย่อของหน้าเว็บจะแสดงผลถัดจาก Meta Title หรือ Title Tag ซึ่งควรเน้นการเขียนกระตุ้น เพื่อให้ผู้พบเห็นอยากคลิกเข้ามาชมภายในเว็บไซต์ของคุณ

Meta Keywords

เป็นข้อความอธิบายคีย์เวิร์ดของเว็บไซต์ โดยใส่เนื้อหาเป็น Main Keyword ที่คุณเลือกใช้ เพื่อเป็นประโยชน์กับ Search Engine บน Google 

Hyperlink

การแทรกลิงก์ลงไปในองค์ประกอบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เช่น  รูปภาพ, ปุ่ม หรือ ข้อความที่ต้องการให้คลิกลิงก์ไปสู่หน้าอื่น

Organic Traffic

จำนวนผู้กดเข้าชมหน้าเว็บไซต์ของคุณหลังจากระบุ Keyword ลงในช่อง Search Engine แล้ว โดยที่คุณไม่ได้เสียเงินค่าโฆษณาสักบาท

Optimization

เป็นกระบวนการเพื่อหาจุดที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาให้การทำ SEO ของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด

Search Intent

สิ่งที่แสดงถึงความตั้งใจในการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งาน หลัก ๆ ก็เพื่อทำให้เว็บไซต์รู้ว่าควรใช้ Keyword ใดเพื่อตอบโจทย์ให้ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

SEM

ย่อมาจาก Search Engine Marketing อาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในประเภทเดียวกับ SEO เพราะสิ่งนี้คุณจะต้องจ่ายเงินค่าโฆษณาเพื่อให้เว็บไซต์ได้ขึ้นแสดงในอันดับต้น ๆ แต่ก็ถือเป็นสองสิ่งที่ช่วยสนับสนุนกันและกัน

SERP

ย่อมาจาก Search Engine Results Page เป็นผลลัพธ์จากการค้นหา ที่จัดอันดับตามความเกี่ยวข้องจาก Keyword ที่ผู้ใช้งานระบุในช่อง Search Engine

 

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเริ่มทำ SEO ได้ทันที แต่อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการทำ SEO คือ องค์ประกอบที่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้นระหว่างที่ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์และเนื้อหา ผู้ดูแลเว็บไซต์ควรมีการตรวจเช็กความถูกต้องและประเมินว่าเว็บไซต์กำลังเติบโตไปในทิศทางที่วางเป้าหมายไว้หรือไม่ 

Project Owner

พื้นที่โปรเจกต์ : กรุงเทพมหานคร

ใส่ความเห็น

เข้าสู่ระบบด้วย

หรือ